ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 การส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : สมฤทัย ปิยะพิสุทธิ์ , วรางคณา ปุ๋ยสูงเนิน
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายเร่งปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาศักยภาพผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและใช้ในการแสวงหาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ นโยบายหนึ่งที่สำคัญ คือ การส่งเสริมการยกระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษด้วยโครงการพิเศษด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ สถาบันอุดมศึกษาจึงต้องพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตให้เป็นไปตามนโยบาย ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
หมายเหตุ

ข้อ 5 ให้สถาบันอุดมศึกษาพิจารณาจัดให้นิสิตนักศึกษาทุกคน ทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษตามแบบทดสอบมาตรฐานระดับอุดมศึกษาที่สถาบันสร้างขึ้น หรือที่เห็นสมควรจะนำมาใช้วัดประสิทธิภาพทางภาษาอังกฤษ (English Proficiency) โดยสามารถเทียบเคียงผลกับ Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) หรือมาตรฐานอื่น เพื่อให้ทราบระดับความสามารถของนิสิตนักศึกษาแต่ละคน โดยการเทียบเคียงคะแนนจะต้องมีหลักฐานรับรองการเทียบเคียงจากเจ้าของแบบทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ และเสนอสภามหาวิทยาลัยพิจารณาเห็นชอบ โดยนักศึกษาที่เข้าสอบต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายทั้งหมด ในปีที่ประเมิน

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ
2 มีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ จากการมีส่วนร่วมของหลักสูตร โดยผ่าน ความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ
3 มีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ
4 มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป
5 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์การวัดผล CEFR (B1) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่เข้าสอบ
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ โดยได้เอาประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง นโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย(1.6-1(1)) มากำหนดแนวทางการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง (1.6-1(2)) โดยมีกระบวนการดำเนินงานดังนี้


1. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านภาษาอังกฤษ ประจำปีการศึกษา 2565 (1.6-1(3)) ร่วมกันฝ่ายพัฒนานักศึกษา เพื่อกำหนดแผนการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ รวมทั้งการจัดสรรงบประมาณและสิ่งสนับสนุนการส่งเสริมสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษ 


2. ที่ประชุมได้มีการเสนอแผนการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษร่วมกับหลักสูตรทั้ง 3 หลักสูตร   เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง  ได้มีการวางแผนและกำหนดให้นักศึกษาเข้ารับการอบรมเตรียมความพร้อมและทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพและประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายเข้ารับการทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR ในแต่ละรอบเดือน ดังประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง ปฏิทินทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีการศึกษา 2565(1.6-1(4))

2มีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ จากการมีส่วนร่วมของหลักสูตร โดยผ่าน ความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ (1.6-2(1))  โดยการมีส่วนร่วมของหลักสูตรทั้ง 3 หลักสูตร ประกอบด้วย หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต  จากนั้นได้มีการนำเสนอแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ครั้งที่ 1/2566 วาระที่ 4.7 (1.6-2(2)) และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ในการประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาลัยฯ ครั้ง 1/2566 วาระที่ 4.4 (1.6-2(3)) 

แผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ ประจำปีการศึกษา 2565 ได้มีการกำหนดตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์ของแผน ดังนี้
1. นักศึกษาชั้นสุดท้ายมีระดับทักษะด้านภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นหลังจากเข้ารับอบรมเพื่อพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ หลังจากเข้ารับการอบรม/โครงการ/กิจกรรม
2. จัดหาสื่อนวัตกรรม แหล่งเรียนรู้ และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ด้านทักษะภาษาอังกฤษ ไปพัฒนาทักษะนักศึกษาในหลักสูตรของตนเอง
3. นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมทักษะด้านภาษาอังกฤษ มีผลสอบผ่านตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR (ระดับ B1 ขึ้นไป)
 

3มีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการจัดสรรงบประมาณในแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2565 (1.6-3(1)) จำนวน 14,400 บาท เพื่อดำเนินโครงการและได้ดำเนินการจัดโครงการตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีการศึกษา 2565 (1.6-3(2)) จำนวน 3 ครั้ง โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. โครงการพัฒนาความรู้ทักษะด้านภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 (งบประมาณยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยร่วมกับศูนย์ภาษา) ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2565
2. โครงการอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR จัดขึ้นในวันที่ 7 และ 14 กันยายน 2565  โดยใช้งบประมาณ บกศ. จำนวน 14,400 บาท (งบประมาณวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง)
3. โครงการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาด้านการใช้ภาษาอังกฤษก่อนสำเร็จการศึกษา จัดขึ้นในช่วงเดือนภุมภาพันธ์ 2566 (งบประมาณรายได้ร่วมกับศูนย์ภาษา)


นอกจากนี้ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เหมาะสมกับบริบทปัจจุบัน โดยอาศัยความร่วมมือกับทางสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อดำเนินงานตามแผนพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ ได้แก่ เอกสารประกอบการอบรม, E-Books, English Online Learning Courses และ English Board Game เป็นต้น

4มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง โดยฝ่ายพัฒนานักศึกษาร่วมกับหลักสูตรทั้ง 3 หลักสูตร ได้มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ (1.6-4(1)) ดังนี้

ตัวชี้วัดวัตถุประสงค์ของแผน          ผลลัพธ์  บรรลุ  ไม่บรรลุ

1. นักศึกษาชั้นสุดท้ายมีระดับทักษะด้านภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นหลังจากเข้ารับอบรมเพื่อพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ หลังจากเข้ารับการอบรม/โครงการ/กิจกรรมร้อยละ 35

ร้อยละ 61.3

P

 

2.จัดหาสื่อนวัตกรรม แหล่งเรียนรู้และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ด้านทักษะภาษาอังกฤษ ไปพัฒนาทักษะนักศึกษาในหลักสูตรของตนเองร้อยละ 5

ร้อยละ 5

P

 

3.นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายมีผลสอบผ่านเกณฑ์มาตรฐาน CEFR (ระดับ B1ขึ้นไป) โดยมีนักศึกษาเข้าทดสอบไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายร้อยละ 50

ร้อยละ 13.52

 

P

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้รายงานการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2566 วาระที่ 4.5 (1.6-4(3)) เพื่อนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ในปีการศึกษา 2566 ต่อไป

5มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์การวัดผล CEFR (B1) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่เข้าสอบ

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ร่วมกับศูนย์ภาษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ในการดำเนินการให้นักศึกษาเข้าร่วมทดสอบเพื่อวัดระดับความรู้ด้านภาษาอังกฤษตามการเกณฑ์มาตรฐาน CEFR ซึ่งการนำนักศึกษาเข้ารับการทดสอบครั้งนี้มีนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายจากทั้ง 3 สาขาวิชาเข้าร่วมทดสอบจำนวน 37 คน จากจำนวนทั้งหมด 184 คน คิดเป็นร้อยละ 20 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย โดยมีรายละเอียดของผลการทดสอบดังนี้

ระดับคะแนน

จำนวน (คน)

ร้อยละ

A2

32

86.48

B1

4

10.81

B2

1

2.71

ซึ่งผลจากการทดสอบตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่เข้ารับการสอบทั้ง 3 สาขา จำนวน 37 คน พบว่ามีนักศึกษาที่ผ่านเกณฑ์การวัดผลตามาตรฐาน CEFR (ระดับ B1 ขึ้นไป) จำนวน 5 คนคิดเป็นร้อยละ 13.52

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
4 4