✓ | 1 | จัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในภาพรวมของสถาบันโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนและการจัดกิจกรรม | มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในภาพรวมของสถาบันโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนและการจัดกิจกรรม ดังนี้
1. นักศึกษาและบุคลากรมีส่วนร่ามในการให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 (1.5-1(1)) โดยจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการทบทวนและจัดทำแผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 ณ ประชุมราชมรรคา อาคารเฉลิมพระเกียรติในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (1.5-1(2)) โดยสภานักศึกษาเป็นผู้จัดโครงการ ซึ่งมีนักศึกษาเข้าร่วมจำนวน 60 คน ประกอบด้วย สภานักศึกษา องค์การบริหารนักศึกษา สโมสรนักศึกษา ชมรมนักศึกษา และบุคลากรที่รับผิดชอบด้านงานกิจกรรมนักศึกษาทุกคณะ เพื่อรับฟังความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์แนวทางการทำงานด้านกิจกรรมนักศึกษา วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคของการปฏิบัติงานในการศึกษา 2564 ร่วมเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแผนพัฒนานักศึกษาประจำปีการศึกษา 2565
2. สภานักศึกษามีการจัดประชุมสภาสามัญ ครั้งที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2565 วันที่ 12 มิถุนายน 2565 ณ ประชุมราชมรรคา อาคารเฉลิมพระเกียรติในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ตามข้อบังคับ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ว่าด้วยองค์การนักศึกษา ปี พ.ศ. 2557 (1.5-1(3)) ซึ่งมีนักศึกษาเข้าร่วมจำนวน 50 คน ประกอบด้วย สภานักศึกษา องค์การบริหารนักศึกษา สโมสรนักศึกษา และที่ปรึกษาแต่ละองค์กร บุคลากรที่รับผิดชอบด้านงานกิจกรรมนักศึกษาทุกคณะ เพื่อรับฟังความคิดเห็นพร้อมแถลงนโยบายในการพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา
3. นักศึกษาและบุคลากรมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะผ่านช่องทาง (Fanpage Facebook : sskruthailand) ช่องทางแบบสอบถามออนไลน์ในแต่ละกิจกรรมผ่านระบบ Google forms และให้ข้อเสนอแนะจากการสรุปโครงการแต่ละกิจกรรม โดยงานพัฒนานักศึกษาได้รวบรวมและจัดทำสรุปความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์มาประกอบการพิจารณาจัดทำแผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 (1.5-1(4))
4.นักศึกษามีส่วนร่วมเป็นผู้รับชอบโครงการตามแผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 25 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 78 จากโครงการตามแผนทั้งหมด ประกอบด้วย 1) สภานักศึกษา จำนวน 2 โครงการ 2) องค์การบริหารนักศึกษา จำนวน 8 โครงการ 3) สโมสรนักศึกษา จำนวน 8 โครงการ และ 4) ชมรมนักศึกษา จำนวน 7 โครงการ และรับผิดชอบโดยกองพัฒนานักศึกษา จำนวน 7 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 21 จากโครงการตามแผนทั้งหมด (1.5-1(5))
5. มีการจัดประชุมคณะกรรมจัดทำแผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 ครั้งที่ 2/2565 (1.5-6(6 )) เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 ณ ห้องประชุมช่อลำดวน ชั้น 2 อาคารทองคูณ หงส์พันธ์ุ เพื่อพิจารณา (ร่าง) แผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 (1.5-6(7)) โดยมีอาจารย์ เจ้าหน้าที่ ตัวแทนนักศึกษา ประกอบด้วย ประธานสภานักศึกษา องค์การบริหารนักศึกษา และสโมสรนักศึกษา เข้าร่วมการประชุมพิจารณา โครงการ กิจกรรม ระยะเวลาการดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบ ในแผน โดยมีการนำข้อเสนอแนะจากการดำเนินงานปีที่ผ่านมาเป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ในการปรับปรุงแผนเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ
| |
✓ | 2 | ในแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาให้ดำเนินกิจกรรมในประเภทต่อไปนี้ให้ครบถ้วน - กิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่กำหนดโดยสถาบัน - กิจกรรมกีฬา หรือการส่งเสริมสุขภาพ - กิจกรรมจิตอาสา หรือรักษาสิ่งแวดล้อม - กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม - กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม | ในแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษามีการกำหนดกิจกรรมและดำเนินกิจกรรมในประเภทต่อไปนี้ให้ครบถ้วน ดังนี้
1. กิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์และอัตลักษณ์ที่กำหนดโดยสถาบัน
มหาวิยาลัยมีการกำหนดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ไว้ 5 ด้าน คือ " ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านทักษะในการประกอบสัมมาชีพ ด้านความรู้ ด้านความรับผิดชอบ และด้านความสามัคคี " (1.5-2(1)) และได้กำหนดอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย คือ " บัณฑิตจิตสาธารณะ " หลังจากนั้น ได้นำมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดกิจกรรมตามแผนพัฒนานักศึกษาแต่ละปีเพื่อส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาให้มีความครอบคลุมทั้ง 6 ด้าน ตามรายละเอียดดังนี้
1.1 ด้านคุณธรรมจริยธรรม [ S : Social Ethics ] มีกิจกรรม โครงการ จำนวน 8 โครงการดังนี้
- โครงการพิธีทำบุญตักบาตรและพิธีเชิญพระราชลัญจกรเชิดชูเกียรติสถาบัน ประดับเข็มนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2565 (1.5-2(2))
- โครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2565 (1.5-2(3))
- โครงการพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2565 (1.5-2(4))
- โครงการ “เชิดชูเกียรติ ยกย่องคนดี มีจิตอาสา ศรัทธาวิชาชีพครู” คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (1.5-2(5))
- โครงการ “ฅนสร้างฝัน เริ่มต้นวันใหม่ ร่วมใจทำบุญ” (1.5-2(6))
- โครงการ “ตุ้มโฮมฮักแพง เบิ่งแยง น้องใหม่ สานสัมพันธ์ใจ สู่สายใยครุศาสตร์” ปีการศึกษา 2565 (1.5-2(7))
- โครงการทศวรรษมาเยือน เพื่อนครูอาสา ร่วมกันพัฒนา สืบสานวัฒนธรรม (1.5-2(8))
- โครงการส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา (1.5-2(9))
1.2 ด้านทักษะในการประกอบสัมมาชีพ [ S : Self – Sufficiency ] มีกิจกรรม โครงการ จำนวน 4 โครงการดังนี้
- โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 (1.5-2(10))
- โครงการการมีส่วนร่วมในการจัดการความรู้วิศวกรสังคม ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ภายใต้โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนและขยายผลกระบวนการวิศวกรสังคม เพื่อพัฒนา Soft Skills นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (1.5-2(11))
- โครงการ ภาษาไทยวิชาการ สานฝันน้อง สู่รั้วมหาวิทยาลัย (1.5-2(12))
-โครงการบริการวิชาการ ประชาธิปไตยยุคใหม่ เคียงคู่เยาวชน (1.5-2(13))
1.3 มีความรู้ [ K : Khowledge ] มีกิจกรรม โครงการ จำนวน 5 โครงการดังนี้
- โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่และประชุมผู้ปกครอง ประจำปีการศึกษา 2566 (1.5-2(14))
- โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนและขยายผลกระบวนการวิศวกรสังคม เพื่อพัฒนา Soft Skills นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (1.5-2(15))
- โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการประกันคุณภาพการศึกษากับการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา (1.5-2(16))
- โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการวิศวกรสังคมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (พัฒนาหลักสูตร “วิศวกรสังคม” คนพันธุ์ใหม่) (1.5-2(17))
- โครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการการทบทวนและจัดทำแผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 (1.5-2(18))
- โครงการประชุมสภาสามัญ ครั้งที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2565 (1.5-2(19))
- โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนและขยายผลกระบวนการวิศวกรสังคม เพื่อพัฒนา Soft Skills นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กิจกรรมประชุมเสวนาถอดบทเรียนวิศวกรสังคมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (1.5-2(20))
- โครงการ “แฟนพันธุ์แท้ภาษาไทย” (1.5-2(21))
1.4 มีความรับผิดชอบ [ R : Responsibility ] มีกิจกรรม โครงการ จำนวน 5 โครงการดังนี้
- โครงการการพัฒนาเครือข่ายจัดกระบวนการเรียนรู้พื้นที่สุขภาวะเพื่อการพัฒนาเด็กเยาวชนเครือข่ายศรีสะเกษตุ้มโฮม “ตอน.... อันซีนถิ่น 3 ดี (1.5-2(22))
- โครงการ “แต้มสี เติมฝัน แบ่งปันความรู้ สู่การพัฒนาโรงเรียน” (1.5-2(23))
- โครงการ 1 ชุมชน 1 มหาวิทยาลัย วิศวกรสังคมขับเคลื่อนชุมชนนวัตกรรม (1.5-2(24))
- โครงการครุศาสตร์อาสาพัฒนาท้องถิ่น ครั้งที่ 19 (1.5-2(25))
- โครงการปลัดคืนถิ่น ตอน ร่วมด้วยช่วยแบ่งปันเพื่อเปลี่ยนแปลง (1.5-2(26))
- โครงการจิตอาสาทาสีตีเส้นจราจร สร้างความปลอดภัยบนท้องถนน (1.5-2(27))
- โครงการฅนสร้างฝันร่วมกันทำดี อิ่มนี้ พี่ให้น้อง ครั้งที่ 7 (1.5-2(28))
- โครงการ “เยาวชนฅนสร้างฝันร่วมกันอาสา พัฒนาท้องถิ่น” ครั้งที่ 8 (1.5-2(29))
1.5 ด้านความสามัคคี [ U : Unity ] มีกิจกรรม โครงการ จำนวน 3 โครงการดังนี้
- โครงการ กีฬาสานสัมพันธ์ “ขาว – ทอง” เกมส์ ครั้งที่ 19 ประจำปีการศึกษา 2565 (1.5-2(30))
- โครงการสรรหาตัวแทนนักศึกษาต้นแบบความเป็นเลิศบัณฑิต ขาว - ทอง ประจำปีการศึกษา 2565 (The Master of SSKRU 2022) ประจำปีการศึกษา 2565 (1.5-2(31))
- โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการแนวทางการขับเคลื่อนเมืองกีฬาเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดศรีสะเกษ (1.5-2(32))
- โครงการส่งเสริมนักศึกษาสู่ความเป็นเลิศด้านกีฬา (1.5-2(33))
1.6 ด้านการส่งเสริมอัตลักษณ์มหาวิทยาลัย คือ “บัณฑิตจิตสาธารณะ”
โดยมหาวิทยาลัยมีนโยบายขับเคลื่อนขยายผลกระบวนการวิศวกรสังคมมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาวิศวกรสังคมของมหาวิทยาลัยทุกคณะมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีทักษะทั้ง 4 ประการ ประกอบด้วย 1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ เห็นความเชื่อมโยงระหว่างเหตุและผลเห็นปัญหาเป็นเรื่องท้าทาย 2) การนำความรู้ที่เรียนไปใช้ประโยชน์ให้กับชุมชน และสามารถสื่อสารองค์ความรู้ที่เรียนไปเพื่อนำไปแก้ปัญหาให้กับชุมชนได้ 3) การทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยปราศจากข้อขัดแย้ง สามารถที่จะระดมกำลังไม่ว่าจะภายในท้องถิ่นหรือนอกท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นได้ 4) มีทักษะในการสร้างนวัตกรรม เพื่อแก้ปัญหาให้กับชุมชนท้องถิ่นได้มหาวิทยาลัยโดยงานพัฒนานักศึกษา ได้ดำเนินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนและขยายผลกระบวนการวิศวกรสังคม เพื่อพัฒนา Soft Skills นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (1.5-2(15)) มีการดำเนินงานแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) ระดับมหาวิทยาลัย โดยงานพัฒนานักศึกษารับผิดชอบกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษาแกนนำจากที่องค์กร เช่น องค์การบริหารักศึกษา สภานักศึกษา สโมสรนักศึกษา ชมรมนักศึกษา จำนวน 600 คน และอาจารย์ที่ปรึกษาจากทุกคณะ 100 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย
2) ระดับคณะ 5 คณะ 1 วิทยาลัยมีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษาเข้าร่วม จำนวน 500 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย โดยกิจกรรมเป็นการฝึกอบรมมีการใช้เครื่องมือในการพัฒนาสมรรถนะ 5 ชิ้น ประกอบด้วย 1) ฟ้าประทาน สามารถแยกแยะข้อเท็จจริง (Fact) ออกจากอารมณ์และความรู้สึก (Feeling) และยอมรับความเห็นต่างและสามารถหาจุดร่วมเพื่อการพัฒนา 2) นาฬิกาชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วย 5W 1H เข้าใจและเคารพวิถีชีวิตของเพื่อนร่วมงานและคนในชุมชนเลือกเวลาและประเด็นการมีส่วนร่วมได้อย่างเหมาะสม (Put the right man to the right job) 3) Timeline พัฒนาการ รู้จักคุณค่าอดีต เข้าใจปัจจุบัน เพื่อวางแผนอนาคต 4) Timeline กระบวนการ รู้จักทุกขั้นตอนการดำเนินงานอย่างถ่องแท้เพื่อเลือกพัฒนาตามศักยภาพอย่างตรงเป้าหมาย (“เกาให้ถูกที่คัน”) และ 5) M.I.C. Model เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จากกระบวนการมีการนำเครื่องมือสู่การปฏิบัติในพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นโดยแกนนำวิศวกรสังคม จำนวน 7 พื้นที่ ดังนี้
1. องค์การบริหารนักศึกษา จัดกิจกรรมการมีส่วนร่วนในการพัฒนาพื้นที่ชนด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม บ้านโนนแดงโนนม่วง ตำบลทุ่งไชย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
2. สโมสรนักศึกษาคณะครุศาสตร์ กิจกรรมวิศวกรสังคมขับเคลื่อนชุมชนนวัตกรรม ชุมชนบ้านปราสาท ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
3. สโมสรนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การขับเคลื่อนและขยายผลกระบวนการวิศวกรสังคม เพื่อพัฒนา Soft skill บ้านโนนสว่าง ตำบลพรหมสวัสดิ์ อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ
4. สโมสรนักศึกษาคณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะวิศวกรสังคมและส่งเสริมการพัฒนาท้องถิ่น บ้านลิ้นฟ้า ตำบลลิ้นฟ้า อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ
5. สโมสรนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จัดกิจกรรมถอดอัตลักษณ์ชุมชนท่องเที่ยวบ้านหว้าน ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม บ้านหว้าน ตำบลน้ำคำ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
6. สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ จัดกิจกรรมจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะวิศวกรสังคมและส่งเสริมการดูและสุขภาพผู้สูงอายุ บ้านดวนใหญ่ ตำบลดวนใหญ่ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ
7. สโมสรนักศึกษาวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้ชุมชนท้องถิ่นด้วยกระบวนการวิศวกรสังคมวัดบ้านกอก ตำบลหัวช้าง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
มหาวิทยาลัยมีนโยบายในการจัดตั้งองค์การนักศึกษา ตามข้อบังคับ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ว่าด้วย องค์การนักศึกษาปี พ.ศ. 2557 ได้กำหนดให้การการดำเนินงานกิจกรรมขององค์กรนักศึกษาออกเป็น 4 ส่วนหลัก คือ 1) สภานักศึกษา 2) องค์การบริหารนักศึกษา 3) สโมสรนักศึกษา 4) ชมรมนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 งานพัฒนานักศึกษาได้มีการส่งเสริมให้จัดตั้งชมรมนักศึกษา จำนวน 23 ชมรม จำนวน 23 โครงการ และนักศึกษามีส่วนร่วม 7,700 คน คิดเป็นร้อย 96.25 โดยการเป็นสมาชิกชมรม เพื่อเป็นการดำเนินกิจกรรมที่เกิดขึ้นตามความสนใจของกลุ่มนักศึกษาและร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อชุมชน ท้องถิ่น ทั้งด้านจิตอาสา ด้านบริการวิชาการ ด้านศิลปะวัฒนธรรม และคุณธรรม โดยมีการดำเนินการตั้งแต่การจัดทำแผนปฏิบัติการชมรม การวิเคราะห์พื้นที่และออกแบบกิจกรรมโดยสมาชิกมีส่วนร่วมทั้งระดับรับผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ประสานงานโครงการ และผู้รับผิดชอบรายกิจกรรมในการดำเนินการ ร่วมจัดหางบประมาณดำเนินการ
ความสำคัญในการดำเนินการผ่านกระบวนการจิตอาสาโดยชมรมนักศึกษาเป็นกลไกนำการขับเคลื่อนกิจสู่พื้นที่ซึ่งนักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วม ทำให้เห็นกระบวนการทำงานที่เกิดขึ้นผ่านการเรียนรู้โดยชุมชนเป็นฐานบูรณาการทักษะด้านต่างๆเข้าด้วยกันเช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ทักษะวิชาการวิชาชีพ และชุดความรูปประสบการณ์ที่ผ่านการพัฒนาจากการลงมือปฏิบัติจริง บนพื้นฐาน คุณธรรม จริยธรรม นำความรู้ สู่การปฏิบัติ จึงเป็นการสร้างความเป็นอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยคือ บัณฑิตจิตสาธารณะ มีกิจกรรมโครงการด้านจิตอาสา เช่น
- โครงการครุศาสตร์อาสาพัฒนาท้องถิ่น ครั้งที่ 19 (1.5-2(25))
- โครงการ “เยาวชนฅนสร้างฝันร่วมกันอาสา พัฒนาท้องถิ่น” ครั้งที่ 8 (1.5-2(29))
- กิจกรรมการมีส่วนร่วนในการพัฒนาพื้นที่ชนด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม บ้านโนนแดงโนนม่วง ตำบลทุ่งไชย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ (1.5-2(11)) เป็นต้น
2. ด้านกีฬาหรือการส่งเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยมีการจัดกิจกรรมโครงการที่ส่งเสริมและพัฒนาด้านกีฬาและสุขภาพแก่นักศึกษาที่มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพและร่างกายให้พร้อมสมบูรณ์แข็งแรงช่วยสร้างความสามัคคีแก่นักศึกษา ตลอดจนเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่มีความสามารถด้านกีฬาได้แสดงออกและแข่งขันในระบบชาติจนมีผลงานเป็นที่ยอมรับ มีกิจกรรมโครงการด้านส่งเสริมสุขภาพ เช่น โครงการ กีฬาสานสัมพันธ์ “ขาว – ทอง” เกมส์ ครั้งที่ 19 ประจำปีการศึกษา 2565 (1.5-2(30)) โครงการสรรหาตัวแทนนักศึกษาต้นแบบความเป็นเลิศบัณฑิต ขาว - ทอง ประจำปีการศึกษา 2565 (The Master of SSKRU 2022) ประจำปีการศึกษา 2565 (1.5-2(31)) โครงการส่งเสริมนักศึกษาสู่ความเป็นเลิศด้านกีฬา (1.5-2(33)) เป็นต้น
3. กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือรักษาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมีการจัดโครงการที่ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมจิตอาสาและบำเพ็ญประโยชน์แก่นักศึกษาให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมใช้พื้นที่ชุมชนท้องถิ่นเป็นฐานการเรียนรู้ ผ่านการดำเนินโครงการและความร่วมมือองค์กรเครือข่ายสู่ความ สร้างความตระหนักรับผิดชอบต่อสังคม บนพื้นฐานคุณธรรม จริยธรรม นำสู่การปฏิบัติ มีกิจกรรมโครงการด้านบำเพ็ญประโยชน์หรือรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการการพัฒนาเครือข่ายจัดกระบวนการเรียนรู้พื้นที่สุขภาวะเพื่อการพัฒนาเด็กเยาวชนเครือข่ายศรีสะเกษตุ้มโฮม “ตอน อันซีนถิ่น 3 ดี (1.5-2(22)) โครงการ “แต้มสี เติมฝัน แบ่งปันความรู้ สู่การพัฒนาโรงเรียน” (1.5-2(23)) โครงการ 1 ชุมชน 1 มหาวิทยาลัย วิศวกรสังคมขับเคลื่อนชุมชนนวัตกรรม (1.5-2(24)) โครงการปลัดคืนถิ่น ตอน ร่วมด้วยช่วยแบ่งปันเพื่อเปลี่ยนแปลง (1.5-2(26)) โครงการจิตอาสาทาสีตีเส้นจราจร สร้างความปลอดภัยบนท้องถนน (1.5-2(27)) โครงการฅนสร้างฝันร่วมกันทำดี อิ่มนี้ พี่ให้น้อง ครั้งที่ 7 (1.5-2(28))
เป็นต้น
4. กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม มหาวิทยาลัยมีการจัดโครงการที่ส่งเสริมนักศึกษาเป็นผู้ที่มีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้นักศึกษาเป็นคนดีมีวินัยรักการช่วยเหลือจิตอาสาและการอยู่ร่วมกับสังคมเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มีกิจกรรมโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม เช่น โครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2565 (1.5-2(3)) โครงการ “ฅนสร้างฝัน เริ่มต้นวันใหม่ ร่วมใจทำบุญ” (1.5-2(6)) โครงการ “ตุ้มโฮมฮักแพง เบิ่งแยง น้องใหม่ สานสัมพันธ์ใจ สู่สายใยครุศาสตร์” ปีการศึกษา 2565 (1.5-2(7)) เป็นต้น
5. กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมีการจัดโครงการที่ส่งเสริมนักศึกษา และสร้างการเรียนรู้บนฐานวัฒนธรรมของชาติที่ดีงาม ให้เกิดความเข้าใจ ตระหนัก และปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนสมัยใหม่ และสืบทอดให้เกิดคุณค่าอย่างเข้าใจและบูรณาการกับการเรียนรู้ตนเองได้ เช่น โครงการพิธีทำบุญตักบาตรและพิธีเชิญพระราชลัญจกรเชิดชูเกียรติสถาบัน ประดับเข็มนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2565 (1.5-2(2)) โครงการพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2565 (1.5-2(4)) โครงการทศวรรษมาเยือน เพื่อนครูอาสา ร่วมกันพัฒนา สืบสานวัฒนธรรม (1.5-2(8)) โครงการส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา (1.5-2(9)) เป็นต้น
| |
✓ | 3 | จัดกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา | มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา โดยจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการประกันคุณภาพการศึกษากับการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา วันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ 2566 ห้องประชุมราชมรรคา อาคารเฉลิมพระเกียรติในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อให้ความรู้กับผู้นำนักศึกษาในการดำเนินกิจกรรมที่สอดที่สอดคล้องกับประกันคุณภาพการศึกษาและกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา เครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย แลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็นกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จ และการเขียนหนังสือราชกรเพื่อใช้ในการทำงานกิจกรรมโครงการ สร้างความตระหนักและให้ความสำคัญในการเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมคุณภาพของสถาบัน โดยกำหนดเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 95 คน และมีผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 84 คน คิดเป็นร้อยละ 88.42 ประกอบด้วย บุคลากรด้านการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา องค์การบริหารนักศึกษา สภานักศึกษา สโมสรนักศึกษา 5 คณะ 1 วิทยาลัย และชมรม จำนวน 23 ชมรม โดยผลการเข้าร่วมกิจกรรมดังนี้ (1.5 - 3(1))
1. ลักษณะกิจกรรม
- อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมที่สอดคล้องกับกฎกระทรวง มาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF:HEd)
- ประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนพัฒนากิจกรรมนักศึกษาที่สอดคล้องกับกฎกระทรวง มาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF:HEd)
- อบรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจนักศึกษาและพัฒนาทักษะผู้นำที่ทำงานในบทบาทองค์กรนักศึกษาด้านการประกันคุณภาพการศึกษาและการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ตามวงจรคุณภาพ PDCA
- มีการแบ่งกลุ่มการ Workshop ในการกำหนดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิยาลัยที่สอดคล้องกับกฎกระทรวง มาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF:HEd)
- การเขียนวิเคราะห์ประเมินความสำเร็จตามทวัตถุประสงค์และตัวชีวัดของโครงการ การเขียนรายงานโครงการที่เป็นไปตามมาตราฐานด้านประกันคุณภาพการศึกษา
- มีการการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยเพื่อสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยให้เข้มแข็งในการหนุนเสริมการทำงานขององค์กรนักศึกษา
2. ผลการเข้าร่วมกิจกรรม
ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
|
เป้าหมาย
(ใส่หน่วยนับ)
|
ผลการดำเนินงาน
|
การบรรลุเป้าหมาย
(บรรลุ/ไม่บรรลุ)
|
เชิงปริมาณ
1) มีผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด
|
ร้อยละ 80
|
มหาวิทยาลัยได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ จำนวน 95 คน และมีผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 84 คน คิดเป็นร้อยละ 88.42
|
บรรลุ
|
2) ผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความคิดเห็นเฉลี่ยภาพรวมของโครงการไม่น้อยกว่า 3.51
|
ไม่น้อยกว่า 3.51
|
จากการแจกแบบสอบถามผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 90 คน และมีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 84 คน พบว่า มีระดับความพึงพอใจเฉลี่ยโดยภาพรวมของโครงการ ค่าคะแนน 3.91
(ระดับมาก)
|
บรรลุ
|
เชิงคุณภาพ
1) นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในระบบประกันคุณภาพการศึกษา
|
จำนวน 50 คน
|
จากการอบรมพบว่าจำนวนนักศึกษาส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมกิจกรรมทำใบงานประเมินแบบฝึกทดสอบในระหว่างการอบรมและอธิบายนิยาม ระบบประกันคุณภาพการศึกษาและการทำกิจกรรมตามวงจรคุณภาพ PDCA ได้จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 85.13
|
บรรลุ
|
2) นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนากิจกรรมนักศึกษาที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
|
ร้อยละ 60
|
จากการฝึกอบรมพบว่าร้อยละนักศึกษาสามารถทำกิจกรรมกลุ่มในการฝึกแลกเปลี่ยนหัวข้อของวิทยากรให้ข้อเสนอแนะรวมทั้งการอภิปรายผลได้ใช้เครื่องมือฝึกอบรมได้ตามที่วิทยากรให้คำแนะนำ ได้คิดเป็นร้อย 80
|
บรรลุ
|
จากผลการดำเนินงานมีข้อเสนอแนะในการดำเนินงานครั้งต่อไปเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาการให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษาไว้ดังนี้
1. การนำประกาศของกฎกระทรวง เกี่ยวกับมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มาวิเคราะห์ให้เกิดกระบวนการพัฒนานักศึกษายังต้องทำความเข้าใจเพิ่มเติม กับผู้นำนักศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นและตระหนักถึงแนวทางการจัดกิจกรรมต่างที่สอดคล้องกับการพัฒนานักศึกษา รวมทั้งบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านงานพัฒนานักศึกษาให้เกิดความเข้าใจและนำไปพัฒนางานส่งเสริมกิจการนักศึกษาทุกระดับ
2. ควรมีการปรับปรุงกรอบมาตรฐานบัณฑิตที่พึ่งประสงค์ของมหาวิทยาลัยให้เป็นปัจจุบันและสอดคล้องกับการพัฒนานักศึกษาในปัจจุบันและมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
| |
✓ | 4 | ทุกกิจกรรมที่ดำเนินการ มีการประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงานครั้งต่อไป | มีการประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงานครั้งต่อไป มีกระบวนการดำเนินงาน ดังนี้
1. มีการกำหนดให้ผู้รับผิดชอบแต่ละโครงการจัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการเป็นรูปเล่มพร้อมไฟล์เอกสาร หลังเสร็จสิ้นโครงการภายใน 30 วัน และในรายงานผลการดำเนินโครงการดังกล่าวมีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมทุกโครงการ เช่น 1) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการประกันคุณภาพการศึกษากับการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา (1.5-4(1)) 2) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนและขยายผลกระบวนการวิศวกรสังคม เพื่อพัฒนา Soft Skills นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (1.5-4(2)) 3) โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่และประชุมผู้ปกครอง ประจำปีการศึกษา 2566 (1.5-2(3)) เป็นต้น
2. มหาวิทยาลัยวิทยาลัยมีการจัดทำรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ (1.5-4(4)) พบว่าในปีการศึกษา 2565 ได้กำหนดโครงการตามแผนพัฒนานักศึกษา จำนวน 32 โครงการ ดำเนินแล้วเสร็จ จำนวน 32 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 100 แล้วเสนอที่ประชุมสภาสามัญ ครั้งที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2565 วันที่ 1พฤษภคม 2566 ณ ประชุมราชมรรคา อาคารเฉลิมพระเกียรติในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ตามข้อบังคับ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ว่าด้วยองค์การนักศึกษา ปี พ.ศ. 2557 (1.5-1(5)) และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2566 (1.5-4(6)) เพื่อพิจารณาและกำหนดแนวทางในการปรับปรุงต่อไป
3. มีการนำข้อเสนอแนะตามมติที่ประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 ครั้งที่ 1/2566 (1.5 - 4(7)) เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2566 เพื่อกำหนดแนวทางการปรับปรุงโครงการดังนี้
โครงการ/กิจกรรม
|
ประเด็นข้อเสนอแนะการปรับปรุงตามมติที่ประชุม
|
การดำเนินงานปรับปรุงประจำปี 2566
|
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนและขยายผลกระบวนการวิศวกรสังคม เพื่อพัฒนา Soft Skills นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
|
1. ควรมีเพิ่มเติมเครื่องวัดระดับทักษะทั้ง 4 ด้าน ของวิศวกรสังคมก่อนและหลังการอบรมเพื่อให้เห็นพัฒนาการที่ชัดเจนของการขายผลเครื่องมือกระบวนการวิศวกรสังคมจากการการอบรมพัฒนาศักยภาพด้วยเครื่องมือทั้ง 5 เพื่อให้น้ำหนักการวิเคราะห์ทักษะแกนนำวิศวกรสังคมชัดเจนมาขึ้น
2. ควรที่จะส่งเสริมกิจกรรมต่อเนื่องให้นักศึกษาใหม่ได้รับการพัฒนาทักษะวิศวกรสังคมโดยกำหนดเป็นโครงการกิจกรรมในแผนการพัฒนานักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยและคณะเพื่อพัฒนาทักษะแก่นักศึกษา
3. ควรมีการนำเครื่องมือวิศวกรสังคมสู่การทำงานร่วมกับชุมชนให้เกิดความต่อเนื่อง 3 ปี ในลักษณะเครือข่ายความร่วมในการทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนที่เป็นฐานการเรียนรู้ของแกนนำวิศวกรสังคม
|
1. ได้มีกำหนดแบบวัดความรู้ทักษะวิศวกรสังคมในการอบรมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนขยายผลกระบวนการด้วยเครื่องมือวิศวกรสังคมทั้ง 5 เครื่องมือร่วมกันในระดับมหาวิทยาลัยและมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนวิศวกรสังคม
2. งานพัฒนานักศึกษาได้กำหนดโครงการขับเคลื่อนและขยายผลวิศวกรสังคมในแผนพัฒนานักศึกษา รวมทั้งจัดกิจกรรมที่มีองค์กรนักศึกษามีส่วนร่วมทุกหน่วยงาน
3. งานพัฒนานักศึกษาสร้างเครือข่ายความร่วมในการขับเคลื่อนกระบวนการวิศวกรสังคมที่มีชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ จำนวน 3 พื้นที่ต่อเนื่องในปี และกำหนดกิจจัด โครงการร่วมกัน 5 โครงการ ในปีการศึกษา 2566
|
โครงการส่งเสริมนักศึกษาสู่ความเป็นเลิศด้านกีฬา
|
1. ควรมีแนวทางในการกำหนดเกณฑ์การพัฒนาด้านส่งเสริมนักศึกษาสู่ความเป็นเลิศด้านกีฬาที่ชัดเจนในการส่งเสริมนักกีฬาสู่การแข่งขันในรายการต่างๆ และสอดคล้องกับงบประมาณของมหาวิทยาลัย
2. ควรมีการสร้างขวัญกำลังใจให้นักกีฬาที่มีผลงานระดับชาติจากการเป็นตัวแทนนักกีฬามหาวิทยาลัยเข้าร่วมการแข่งขันรายการต่างๆ เช่น เงินค่าเรียนรางวัลที่เหมาะสม การยกเว้นเล่าเรียน ทั้งนี้ให้สอดคล้องกับงบประมาณและผลงานที่เกิดขึ้น
|
1. มอบหมายให้งานพัฒนาได้มีทบทวนระเบียน ข้อบังคับ และประกาศที่เกี่ยวข้องด้านการส่งเสริมนักศึกษาด้านกีฬาให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับแนวทางนโยบายและสัมพันธ์กับงบประมาณมหาวิทยาลัย
2. งานพัฒนานักศึกษามีจัดสรรงบประมาณตามแผนให้เหมาะสมและเป็นไปตามแนวทางนโยบายการส่งเสริมด้านกีฬาสู่ความเป็นเลิศ
|
โครงการสรรหาตัวแทนนักศึกษาต้นแบบความเป็นเลิศบัณฑิต ขาว - ทอง ประจำปีการศึกษา 2565 (The Master of SSKRU 2022) ประจำปีการศึกษา 2565
|
ในการจัดกิจกรรมสรรหาตัวแทนนักศึกษาต้นแบบความเป็นเลิศบัณฑิต ขาว - ทอง ประจำปีการศึกษา 2565 ควรให้มีการสำรวจความคิดเห็นในการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์โดยรวมหรือไม่จากนักศึกษารวมทั้งให้สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคมยุคปัจจุบัน
|
1. กำหนดให้งานพัฒนานักศึกษาได้มีการสำรวจและประชุมคณะกรรมการกิจกรรมนักศึกษาในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานและสำรวจจากความเห็นของนักศึกษา
2. ให้องค์กรนักศึกษากำหนดแนวทางในการพัฒนาศักยภาพต้นแบบให้เกิดประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยในทุกมิติ
|
โครงการครุศาสตร์อาสาพัฒนาท้องถิ่น ครั้งที่ 19
|
1. ควรมีการถอดบทเรียนจากการดำเนินงานต่อเนื่องของกิจกรรมถึง 19 ครั้งและแนวทางที่ดีของโครงการดังกล่าว เพื่อให้เห็นกระบวนการภายในโครงการหรือความโดดเด่นด้านกิจกรรม
2. ควรที่จะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมและมอบรางวัลจากการประเมินโครงการในลักษณะดังกล่าวภาพรวมของมหาวิทยาลัย หรือเปิดเวทีวิชาการด้านการส่งเสริมโครงการที่ให้บริการท้องถิ่น
|
งานพัฒนาได้กำหนดจัดให้มีโครงการเปิดโลกกิจกรรมของนักศึกษาแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่น ประจำปีการศึกษา 2566 โดยมีกิจกรรมประชุมเสวนาถอดบทเรียนจากโครงการของนักศึกษา กิจกรรมการมอบรางวัลเชิดชุดโครงการที่โดดเด่นมีผลงานเชิงประจักษ์ ทั้งระดับองค์กร บุคคลที่สร้างสรรค์มีชุมชนเป็นเครือข่าย
|
| |
✓ | 5 | ประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา | มหาวิทยาลัยได้มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา มีกระบวนการดังนี้
มีการจัดทำรายงานการประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 (1.5-5(1)) และจำทำรายงานความเชื่อมโยงโครงการที่สอดคล้องกันการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ (1.5-5(2)) โดยเสนอที่ประชุมสภาสามัญ ครั้งที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2565 วันที่ 1 พฤษภคม 2566 ณ ประชุมราชมรรคา อาคารเฉลิมพระเกียรติในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ตามข้อบังคับ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ว่าด้วยองค์การนักศึกษา ปี พ.ศ. 2557 (1.5-1(3)) และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2566 (1.5-4(4)) เพื่อพิจารณาโดยมีผลประเมินความสำเร็จของวัตถุประสงค์ของแผนรายละเอียดดังนี้
วัตถุประสงค์ของแผน
|
ตัวชี้วัด
|
เป้าหมาย
|
ผลการดำเนินงาน
|
ความสำเร็จของตัวชี้วัด
|
บรรลุ
|
ไม่บรรลุ
|
1. เพื่อพัฒนานักศึกษาให้เป็นไปตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัย |
1. ร้อยละของกิจกรรมหรือโครงการที่พัฒนานักศึกษาเป็นไปตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยที่ดำเนินการแล้วเสร็จตามแผน |
ร้อยละ 80 |
มีการกำหนดจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษาให้เป็นไปตามคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ โดยในปีการศึกษา 2565 ได้กำหนดโครงการ จำนวน 32 โครงการ ผลการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย จำนวน 32 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 100 |
บรรลุ
|
|
2. ร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นไปตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ |
ร้อยละ 80 |
จากการดำเนินโครงการกิจกรรมตามแผนที่กำหนดให้สอดคล้องกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่ดำเนินการครอบคลุมนักศึกษาทุกคณะ ทุกชั้นปี และทุกองค์กรนักศึกษา ได้มีการประเมินความสำเร็จตัวชี้วัดรายโครงการทุกโครงการพบว่านักศึกษามีส่วนร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ทุกโครงการ และมีระดับคะแนนความพึงพอใจไม่น้อยกว่า 3.51 ทุกโครงการ |
บรรลุ |
|
3.จำนวนนักศึกษาที่ได้รับรางวัลและมีผลงานดีเด่นสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย |
จำนวน 5 คน |
งานพัฒนานักศึกษามีการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาร่วมกับคณะทั้งศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่า จนประสบผลสำเร็จได้รับการยอมรับสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย ทั้งด้านกีฬา ด้านวิชาการ และการประกอบอาชีพที่สร้างผลงานให้องค์กรต่างๆ ในฐานศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่า ประปีการ พ.ศ.2565-2566 จำนวน 21 ราย (รายละเอียดแนบท้าย) |
บรรลุ |
|
2. เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้รับการพัฒนาตามอัตลักษณ์มหาวิทยาลัย คือ “บัณฑิตจิตสาธารณะ” |
ร้อยละของนักศึกษที่ได้รับการพัฒนาด้านตามอัตลักษณ์มหาวิทยาลัย คือ “บัณฑิตจิตสาธารณะ” |
ร้อยละ 80 |
โดยมหาวิทยาลัยมีนโยบายขับเคลื่อนขยายผลกระบวนการวิศวกรสังคมมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาวิศวกรสังคมของมหาวิทยาลัยทุกคณะมีส่วนร่วม มีการดำเนินงานแบ่งเป็น 2 ส่วนดังนี้
1. ระดับมหาวิทยาลัย โดยงานพัฒนานักศึกษารับผิดชอบกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษาแกนนำจากที่องค์กร เช่น องค์การบริหารักศึกษา สภานักศึกษา สโมสรนักศึกษา ชมรมนักศึกษา จำนวน 600 คน และอาจารย์ที่ปรึกษาจากทุกคณะ 100 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย
2. ระดับคณะ 5 คณะ 1 วิทยาลัยมีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษาเข้าร่วม จำนวน 500 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย
จากการดำเนินการในปีที่ผ่านมาโดยกระบวนการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา งานพัฒนานักศึกษาได้มีการส่งเสริมให้จัดตั้งชมรมนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 23 ชมรม จำนวน 23 โครงการ และนักศึกษาส่วนร่วม 7,700 คน คิดเป็นร้อย 96.25 โดยการเป็นสมาชิกชมรม
|
บรรลุ |
|
3. เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรม |
ร้อยละของโครงการตามแผนพัฒนานักศึกษาที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินการ |
ร้อยละ 80 |
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้กำหนดให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินโครงการเพื่อจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างเหมาะสม ซึ่งในปีการศึกษา 2565 นี้มีโครงการที่รับผิดชอบโดยนักศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 25 โครงการ จากโครงการตามแผนทั้งหมด 32 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 78.125 ซึ่งกิจกรรมโครงการที่ดำเนนิงานทั้งหมดสอดคล้องกับการส่งเสริมกิจกรรมตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์กำหนดครบทั้ง 5 ด้าน |
|
ไม่บรรลุ |
| |
✓ | 6 | นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา | มหาวิทยาลัยมีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566
1. มหาวิทยาลัยวิทยาลัย มีการจัดทำรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการทุกโครงการ (1.5-6(1)) และมีการจัดทำรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 (1.5-6(2)) โดยเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2566 ณ ประชุมช่อลำดวน ชั้น 2 อาคารกองพัฒนานักศึกษาทองคูณ หงส์พันธ์ (1.5-6(3)) เพื่อพิจารณา ผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการและผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน แล้วกำหนดแนวทางการปรับปรุง โดยมีมติที่ประชุมเห็นชอบในการปรับปรุงดังนี้
แนวทางการปรับปรุงระดับแผน
ประเด็นข้อเสนอแนะมติที่ประชุม
|
แนวทางดำเนินงาน
|
ผลการดำเนินการ
|
ระยะเวลา/
ผู้รับผิดชอบ
|
1.ให้มีทบทวนแผนพัฒนานักศึกษาเพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 5 ปี พ.ศ.2566-2570
|
1. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานจัดทำแผนพัฒนานักศึกษา
2. งานพัฒนานักศึกษาจัดประชุมทบทวนแผนเพื่อปรับปรุงแผนพัฒนานักศึกษาให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 5 ปีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงแนวทางการพัฒนานักศึกษาและตอบตัวชี้วัดตามที่กำหนดตามแผนระดับมหาวิทยาลัย
3. งานพัฒนานักศึกษาควรนำแผนกลยุทธ์สำนักงานอธิการบดีมาพิจารณาร่วมเนื่องจากเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดเพื่อส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนตรงตามตัวชี้วัดของแผน
|
1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษา
2. มีการประชุมเพื่อทบทวนแผนงานและเก็บสำรวจความต้องการของนักศึกษาในด้านต่างๆ
3. แผนพัฒนานักศึกษาตามติที่ประชุมอยู่ระหว่างการดำเนินงานปรับปรุงให้สอดคล้องตามข้อเสนอและเพื่อเสนอที่ประชุม
|
พฤศภาคม 2566
งานกิจกรรมนักศึกษา
กีฬาและนันทนาการ
|
2.ให้มีการทบทวนและปรับปรุงการกำหนดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนและการพัฒนานักศึกษากรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
|
1.แต่งตั้งคณะกรรมการยกร่างเพื่อกำหนดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัย
2.ควรพิจารณาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยสอดคล้องกับกฎกระทรวง มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF:HEd)
|
1.มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อยกร่างคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัย
|
ดำเนินการภายในภาคเรียนที่ 1/2566
|
3.ให้มีการทบทวนระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนานักศึกษาให้เกิดความทันสมัยและช่วยสนับสนุนให้เกิดความคล้องตัวใบการบริการงานในยุคปัจจุบัน
|
1.ให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานทบทวน ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนานักศึกษาแต่ละด้านเพื่อสอดคล้องกับการดำเนินงานตามแผนพัฒนานักศึกษา เช่น ระเบียนเกี่ยวกับด้านนักกีฬา ประกาศด้านการใช่จ่ายเงินค่ากิจกรรม
|
1.มีการมอบหมายส่วนที่เกี่ยวข้องแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานทบทวน ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
2. มีการดำเนินการเสนอประกาศการให้ทุนสนับสนุนด้านกีฬาและแต่งตั้งคณะกรรมการตามประกาศกำหนด
|
ดำเนินการภายในภาคเรียนที่ 1/2566
|
4.การขับเคลื่อนกระบวนการวิศวกรสังคมเพื่อพัฒนา Soft Skills นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
|
1.แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานขับเคลื่อนกระบวนการวิศวกรสังคมระดับมหาวิทยาลัยโดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานองค์กร
2.กำหนดให้มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานเครื่องมือวิศวกรสังคมที่ชัดเจนและเห็นผล
3.ควรให้มีการสร้างเครือข่ายความร่วมกับชุมชนในการพัฒนาและเรียนรู้ของวิศวกรสังคมต่อเนื่อง
|
1. มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานขับเคลื่อนกระบวนการวิศวกรสังคม
2.ได้มีการพัฒนาเครื่องมือแบบสอบถามและการประเมินวัดผลจากการพัฒนาวิศวกรสังคมของมหาวิทยาลัย
3.ได้มีการประสานงานเครือข่ายชุมชนเพื่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่อเนื่อง
|
ดำเนินการภายในภาคเรียนที่ 1/2566
|
2. จากประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 และคณะกรรมการชุดต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายและขับเคลื่อน โดยได้นำแนวทางปรับปรุงการจัดกิจกรรมและการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษามากำหนด กิจกรรมโครงการ โดยให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินการและรับผิดชอบโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนสู่การพัฒนานักศึกษาให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 (1.5-6(4))
| |