✓ | 1 | หลักประสิทธิผล (Effectiveness) คือ ผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของ แผนการปฏิบัติราชการตามที่ได้รับงบประมาณมาดําเนินการ รวมถึงสามารถเทียบเคียงกับส่วนราชการหรือ หน่วยงานที่มีภารกิจคล้ายคลึงกันและมีผลการปฏิบัติงานในระดับชั้นนําของประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อ ประชาชน โดยการปฏิบัติราชการจะต้องมีทิศทางยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน มีกระบวนการปฏิบัติงาน และระบบงานที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนา ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ | 1.สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการมีการบริหารงานตามหลักประสิทธิผล (Effectiveness) ดังนี้
1.1 มีผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2566 (1.5-2(1)) โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณทั้งสิ้น 1,103,000 บาท สามารถเบิกจ่ายตามแผน 673,076 บาท คิดเป็นร้อยละ 61.02
1.2 มีการจัดทำแผนกลยุทธศาสตร์ สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ พ.ศ.2566-2570 (1.5-(2)) และจัดทำรายงานประจำปี (1.5-(3)) เพื่อรายงานต่อผู้บริหาร เผยแพร่ต่อสาธารณชน
1.3 มีผลรายงานการประเมินตนเอง สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ประจำปีการศึกษา 2565 (SAR)
| |
✓ | 2 | หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) คือ การบริหารราชการตามแนวทางการกํากับดูแลที่ดีที่มีการออกแบบ กระบวนการปฏิบัติงานโดยใช้เทคนิคและเครื่องมือการบริหารจัดการที่เหมาะสมให้องค์การสามารถใช้ทรัพยากร ทั้งด้านต้นทุน แรงงานและระยะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการ ตามภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม | 2. สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการมีการบริหารงานตามหลักประสิทธิภาพ (Efficiency) ดังนี้
ผู้บริหารให้ความสำคัญในการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดและมีประสิทธิภาพ โดยใช้กระบวนการ ประชุมคณะกรรมการบอร์ดต่างๆ เพื่อกำกับติดตาม และใช้มติที่ประชุมในการหาข้อสรุปร่วมกัน โดยมีหัวหน้างานเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการ เช่น คณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ (1.5-2(1)) คณะกรรมการประจำสำนักส่งเสริมและบริการวิชการ(1.5-2(2)
มีการใช้นวัตกรรมในการบริหารจัดการองค์กร โดยมีการมอบนโยบายให้หน่วยงานลดขั้นตอนการปฏิบัติงานให้มีระยะเวลา ต้นทุนที่น้อยลง แต่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เช่น การให้บริการรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ (1.5-2(3)และการให้บริการเอกสารทางการศึกษา เป็นต้น
| |
✓ | 3 | หลักการตอบสนอง (Responsiveness) คือ การให้บริการที่สามารถดําเนินการได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด และสร้าง ความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองความคาดหวังหรือความต้องการของประชาชน ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่าง | สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มีการบริหารงานตามหลักการตอบสนอง (Responsiveness) ดังนี้
มีการให้บริการที่สามารถดำเนินการได้ตามระยะเวลาที่กำหนด สามารถตอบสนองความคาดหวังของผู้รับบริการ โดยมีผลการประเมินความพึงพอใจ การให้บริการด้านต่างๆ ดังนี้
- การให้บริการด้านเอกสารทางการศึกษา
- การให้บริการจองรายวิชา มีผลการประเมินความพึงพอใจการให้บริการจองรายวิชา
- การให้บริการตารางเรียน ตารางสอน ตารางสอบ และตารางการใช้ห้อง
4.สำนักส่งเสริมและบริการวิชากรรได้มีช่องทางการติดต่อกับนักศึกษาและบุคคลทั่วไป ผ่านเพจสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ โดยมีการตอบข้อมูลด้านการรับสมัครนักศึกษา
| |
✓ | 4 | หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) คือ การแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่และผลงานต่อเป้าหมายที่กําหนดไว้ โดยความรับผิดชอบนั้นควรอยู่ในระดับที่สนองต่อความคาดหวังของสาธารณะ รวมทั้งการแสดงถึงความสํานึกในการรับผิดชอบต่อปัญหาสาธารณะ |
สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อหน้าที่โดยคำถึงการดำเนินงานตามพันธ์กิจเพื่อให้การบริหารงานบรรลุเป้าหมายและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้ครอบคลุมพันธกิจของมหาวิทยาลัย ผู้บริหารได้รับการคำสั่งมอบหมายงาน แต่งตั้งเป็นคณะกรรมการวิชาการ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย
|
| |
✓ | 5 | หลักความโปร่งใส (Transparency) คือ กระบวนการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา ชี้แจงได้ เมื่อมีข้อสงสัย และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอันไม่ต้องห้ามตามกฎหมายได้อย่างเสรี โดยประชาชนสามารถรู้ทุกขั้นตอนในการดําเนินกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ และสามารถตรวจสอบได้ | สำนักส่งเสริและบริการวิชาการ มีการบริหารงานตามหลักความโปร่งใส (Transparency) ดังนี้
มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร มีการดำเนินกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้
1 สายตรงผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแจ้งปัญหา หรือข้อสงสัย เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงาน
2 เปิดเผยข้อมูลข่าวสารหน่วยงานและกิจกรรมผ่าน เว็ปไซต์ สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ http://www.oass.sskru.ac.th/OASS.html)
| |
✓ | 6 | หลักการมีส่วนร่วม (Participation) คือ กระบวนการที่ข้าราชการ ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกกลุ่มมีโอกาสได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทําความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะร่วมเสนอปัญหาหรือประเด็นที่สําคัญ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิด แนวทาง ร่วมการแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และร่วมกระบวนการพัฒนาในฐานะ หุ้นส่วนการพัฒนา | สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกระดับในหน่วยงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ มีการบริหารงานและกำกับการดำเนินงานในรูปแบบของคณะกรรมการ มีการแบ่งงานตามโครงสร้างการบริหารของหน่วยงาน และมีการแต่งตั้งบุคลากรเป็นคณะกรรมการต่าง ๆ เช่น คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (1.8-6(1)) คณะกรรมการติดตามจัดเก็บตัวชี้วัดประกันคุณภาพสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ (1.8-6(2)) และคณะกรรมการการจัดการความรู้ (1.8-6(3))
| |
✓ | 7 | หลักการกระจายอํานาจ (Decentralization) คือ การถ่ายโอนอํานาจการตัดสินใจ ทรัพยากรและภารกิจ จากส่วนราชการส่วนกลางให้แก่หน่วยการปกครองอื่นๆ (ราชการบริหาร ส่วนท้องถิ่น) และภาคประชาชนดําเนินการ แทนโดยมีอิสระตามสมควร รวมถึงการมอบอํานาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจ และการดําเนินการให้แก่ บุคลากร โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจในการให้บริการต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียการปรับปรุง กระบวนการ และเพิ่มผลิตภาพ เพื่อผลการดําเนินงานที่ดีของส่วนราชการ |
สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มีการบริหารงานตามหลักการกระจายอํานาจ (Decentralization) ดังนี้
1. มีการมอบหมายผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ เพื่อประโยชน์และความเหมาะสมในการปฏิบัติราชการ และเพื่อให้งานในสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีความต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ
2.มีการจัดทำคำสั่งมอบหมาย หัวหน้างาน โดยมีบทบาทหน้าที่ เพื่อให้การกำกับดูแลและการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และเกิดผลดีแก่ทางราชการ
3.มีการจัดทำคำสั่งมอบหมายภาระงานให้บุคลากรสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ให้เหมาะสมตรงตามตำแหน่งและฝ่ายงาน เพื่อให้ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
| |
✓ | 9 | หลักความเสมอภาค (Equity) คือ การได้รับการปฏิบัติและได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มี การแบ่งแยกด้านชายหรือหญิง ถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา การฝึกอบรม และอื่นๆ | สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มีการบริหารงานตามหลักความเสมอภาค (Equity) ดังนี้
ผู้บริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการมีนโยบายที่ชัดเจนในการให้ความเสมอภาคต่อการบริหารงานภายในสำนักงานต่อบุคลากรทุกระดับ และรวมทั้งผู้ใช้บริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พันธกิจสำคัญการให้การบริการต่อนักศึกษา บุคลากรภายในและภายนอก ซึ่งผู้รับบริการจะได้รับการบริการอย่างเท่าเทียม โดยมีระบบการให้บริการผ่านเพจสำนักส่งเสริมและบริการวิชนการ ผ่านเว็บไซต์สำนัก หน้าเค้าเตอร์ให้บริการ
| |
✓ | 10 | หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) คือ การหาข้อตกลงทั่วไปภายในกลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่เกิดจากการใช้กระบวนการเพื่อหาข้อคิดเห็นจากกลุ่มบุคคลที่ได้รับประโยชน์และ เสียประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงซึ่งต้องไม่มีข้อคัดค้านที่ยุติไม่ได้ในประเด็นที่สําคัญ โดย ฉันทามติไม่จําเป็นต้องหมายความว่าเป็นความเห็นพ้อง โดยเอกฉันท์ | สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มีการบริหารงานตามหลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) ดังนี้
ในการประชุมคณะกรรมการบริการสำนัก และคณะกรรมการประจำสำนัก ผู้บริหารยึดกฎระเบียบข้อบังคับในการดำเนินงาน เคารพมติของเสียงส่วนใหญ่ และความคิดเห็นที่แตกต่างเพื่อให้เกิดฉันทามติ และการดำเนินงานของสำนักเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม รวมทั้ง ในการประชุมของหน่วยงานทุกระดับการประชุมของสำนัก
| |