ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : กวินวัฒน์ หิรัญบูรณะ , ชนาภัค มุลกะกุล , ภิญญาภัทฎ์ ใสกระจ่าง , อนุชิต ผู้มีสัตย์ , ตรัยเทพ ศรีสุข , วันวิสา นัยเนตร
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

การบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยผู้บริหารของหน่วยงานแสดงความมุ่งมั่นต่อการประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล ให้นโยบาย สร้างบรรยากาศ กําหนดแนวทางกํากับติดตาม แสดงตนเป็นตัวอย่างที่ดี ทําให้มั่นใจว่าพันธกิจและวิสัยทัศน์สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับหลักจริยธรรม พฤติกรรมที่มีจริยธรรมควรมีการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด สามารถตรวจสอบได้ บุคลากรประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล และผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับรู้และเชื่อมั่นด้านธรรมาภิบาล ของหน่วยงาน สามารถอธิบายการดําเนินงานได้อย่างชัดเจนครบถ้วนทั้ง 10 ประการ ได้แก่ 1) หลักประสิทธิผล 2) หลักประสิทธิภาพ 3) หลักการตอบสนอง 4) หลักภาระรับผิดชอบ 5) หลักความโปร่งใส 6) หลักการมีส่วนร่วม 7) หลักการกระจายอํานาจ 8) หลักนิติธรรม 9) หลักความเสมอภาค และ 10) หลักมุ่งเน้นฉันทามติ

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 - 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 - 8 ข้อ มีการดำเนินการ 9 - 10 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 หลักประสิทธิผล (Effectiveness) คือ ผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของ แผนการปฏิบัติราชการตามที่ได้รับงบประมาณมาดําเนินการ รวมถึงสามารถเทียบเคียงกับส่วนราชการหรือ หน่วยงานที่มีภารกิจคล้ายคลึงกันและมีผลการปฏิบัติงานในระดับชั้นนําของประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อ ประชาชน โดยการปฏิบัติราชการจะต้องมีทิศทางยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน มีกระบวนการปฏิบัติงาน และระบบงานที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนา ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
2 หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) คือ การบริหารราชการตามแนวทางการกํากับดูแลที่ดีที่มีการออกแบบ กระบวนการปฏิบัติงานโดยใช้เทคนิคและเครื่องมือการบริหารจัดการที่เหมาะสมให้องค์การสามารถใช้ทรัพยากร ทั้งด้านต้นทุน แรงงานและระยะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการ ตามภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
3 หลักการตอบสนอง (Responsiveness) คือ การให้บริการที่สามารถดําเนินการได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด และสร้าง ความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองความคาดหวังหรือความต้องการของประชาชน ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่าง
4 หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) คือ การแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่และผลงานต่อเป้าหมายที่กําหนดไว้ โดยความรับผิดชอบนั้นควรอยู่ในระดับที่สนองต่อความคาดหวังของสาธารณะ รวมทั้งการแสดงถึงความสํานึกในการรับผิดชอบต่อปัญหาสาธารณะ
5 หลักความโปร่งใส (Transparency) คือ กระบวนการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา ชี้แจงได้ เมื่อมีข้อสงสัย และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอันไม่ต้องห้ามตามกฎหมายได้อย่างเสรี โดยประชาชนสามารถรู้ทุกขั้นตอนในการดําเนินกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ และสามารถตรวจสอบได้
6 หลักการมีส่วนร่วม (Participation) คือ กระบวนการที่ข้าราชการ ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกกลุ่มมีโอกาสได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทําความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะร่วมเสนอปัญหาหรือประเด็นที่สําคัญ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิด แนวทาง ร่วมการแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และร่วมกระบวนการพัฒนาในฐานะ หุ้นส่วนการพัฒนา
7 หลักการกระจายอํานาจ (Decentralization) คือ การถ่ายโอนอํานาจการตัดสินใจ ทรัพยากรและภารกิจ จากส่วนราชการส่วนกลางให้แก่หน่วยการปกครองอื่นๆ (ราชการบริหาร ส่วนท้องถิ่น) และภาคประชาชนดําเนินการ แทนโดยมีอิสระตามสมควร รวมถึงการมอบอํานาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจ และการดําเนินการให้แก่ บุคลากร โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจในการให้บริการต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียการปรับปรุง กระบวนการ และเพิ่มผลิตภาพ เพื่อผลการดําเนินงานที่ดีของส่วนราชการ
8 หลักนิติธรรม (Rule of Law) คือ การใช้อํานาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารราชการ ด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
9 หลักความเสมอภาค (Equity) คือ การได้รับการปฏิบัติและได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มี การแบ่งแยกด้านชายหรือหญิง ถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา การฝึกอบรม และอื่นๆ
10 หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) คือ การหาข้อตกลงทั่วไปภายในกลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่เกิดจากการใช้กระบวนการเพื่อหาข้อคิดเห็นจากกลุ่มบุคคลที่ได้รับประโยชน์และ เสียประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงซึ่งต้องไม่มีข้อคัดค้านที่ยุติไม่ได้ในประเด็นที่สําคัญ โดย ฉันทามติไม่จําเป็นต้องหมายความว่าเป็นความเห็นพ้อง โดยเอกฉันท์
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1หลักประสิทธิผล (Effectiveness) คือ ผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของ แผนการปฏิบัติราชการตามที่ได้รับงบประมาณมาดําเนินการ รวมถึงสามารถเทียบเคียงกับส่วนราชการหรือ หน่วยงานที่มีภารกิจคล้ายคลึงกันและมีผลการปฏิบัติงานในระดับชั้นนําของประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อ ประชาชน โดยการปฏิบัติราชการจะต้องมีทิศทางยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน มีกระบวนการปฏิบัติงาน และระบบงานที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนา ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

        สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มีหลักประสิทธิผล เห็นได้จากมีการจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (1.5 - 1(1)) โดยมีกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายของแต่ละ

โครงการพร้อมทั้งผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน มีกระบวนการปฏิบัติงานที่เป็นระบบด้วยการมอบหมายผู้รับผิดชอบการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี (1.5 - 1(2))

ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การพัฒนาองค์กรมีกระบวนการปฏิบัติงาน และขั้นตอนการทำงาน มีการติดตามและประเมินผลผลงานของสถาบันฯอย่างสม่ำเสมอ อาทิ การติดตามผลการดำเนินงานต่างๆ ในการประชุมสถาบันฯ การจัดทำเอกสารสรุปผลโครงการและกิจกรรมในรอบปีของสถาบันฯ

2หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) คือ การบริหารราชการตามแนวทางการกํากับดูแลที่ดีที่มีการออกแบบ กระบวนการปฏิบัติงานโดยใช้เทคนิคและเครื่องมือการบริหารจัดการที่เหมาะสมให้องค์การสามารถใช้ทรัพยากร ทั้งด้านต้นทุน แรงงานและระยะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการ ตามภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มีหลักประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานที่มีการออกแบบกระบวนการปฏิบัติงาน โดยการใช้เทคนิคและเครื่องมือการบริหารจัดการที่เหมาะสม เห็นได้จากการวางระบบงานให้มีประสิทธิภาพ โดยผ่านหน่วยงานส่วนกลาง ซึ่งใช้หลักระเบียบเบิกจ่าย ของกระทรวงการคลัง ได้แก่

ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ - กรมบัญชีกลาง (E-GP) (1.5-2(1)) การประชุมรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (1.5-2(2)) รวมไปถึงการใช้ป้ายประชาสัมพันธ์ เพื่อการประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่างๆให้บุคลากรทาง fanpage และ facebook เพื่อลดปริมาณการใช้กระดาษและเพื่อความรวดเร็ว(1.5-2(3))

3หลักการตอบสนอง (Responsiveness) คือ การให้บริการที่สามารถดําเนินการได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด และสร้าง ความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองความคาดหวังหรือความต้องการของประชาชน ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่าง

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ได้มีการปฏิบัติงานที่ได้รับความเชื่อมั่นความไว้วางใจ เพื่อนำไปสู่การให้บริการที่สามารถตอบสนองต่อการให้บริการอย่างมีคุณภาพที่สามารถดำเนินการได้ภายระยะเวลาที่กำหนด และสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองความคาดหวังผู้รับบริการ โดยจัดทำสรุปผลการดำเนินงานในทุกปีงบประมาณและเผยแพร่ไปยังหน่วยงานต่างๆ1.5 - 3(1)

        เห็นได้จาก มีการประชาสัมพันธ์การให้บริการต่าง ๆ ให้กับผู้รับบริการ

ทางออนไลน์ ได้แก่ Facebook / Fan page ของสถาบันฯ เว็บไซต์สถาบันฯ และการทำป้ายประชาสัมพันธ์ 1.5 - 3(2) เพื่อการประชาสัมพันธ์ต่างๆ  1.5 - 3(3) จึงก่อนให้เกิดความเชื่อมั่น ไว้วางใจรวมถึงตอบสนองต่อความคาดหวังของชุมชน

4หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) คือ การแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่และผลงานต่อเป้าหมายที่กําหนดไว้ โดยความรับผิดชอบนั้นควรอยู่ในระดับที่สนองต่อความคาดหวังของสาธารณะ รวมทั้งการแสดงถึงความสํานึกในการรับผิดชอบต่อปัญหาสาธารณะ

             สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มีการแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่และผลงานต่อเป้าหมายที่กำหนดไว้ ผู้บริหาร และบุคลากรสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมมีความรับผิดชอบ ตั้งใจ มุงมั่น อุทิศเวลาเพื่อให้งานสำเร็จตามแผนปฏิบัติการสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ 2565 1.5 - 4(1)

             คณะผู้บริหารสถาบันได้มีส่วนร่วมในการวางแผนงานโดยเปิดโอกาสให้บุคลากรได้แสดงความคิดเห็นและกำหนดภาระความรับผิดชอบในการดำเนินโครงการตามความเหมาะสมรวมถึงการกำกับติดตามการปฏิบัติตามหน้าที่เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและตอลสนองต่อความคาดหวังสาธารณะ

5หลักความโปร่งใส (Transparency) คือ กระบวนการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา ชี้แจงได้ เมื่อมีข้อสงสัย และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอันไม่ต้องห้ามตามกฎหมายได้อย่างเสรี โดยประชาชนสามารถรู้ทุกขั้นตอนในการดําเนินกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ และสามารถตรวจสอบได้

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานด้วยการจัดทำเว็บไซต์ และ Facebook / Fan page เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร และกิจกรรมต่างๆ ของสถาบันฯ (1.5-5(1)) โดยได้ดำเนินการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เปิดเผยภายใต้ระบบตรวจสอบจากหน่วยตรวจสอบภายใน

6หลักการมีส่วนร่วม (Participation) คือ กระบวนการที่ข้าราชการ ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกกลุ่มมีโอกาสได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทําความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะร่วมเสนอปัญหาหรือประเด็นที่สําคัญ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิด แนวทาง ร่วมการแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และร่วมกระบวนการพัฒนาในฐานะ หุ้นส่วนการพัฒนา

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกระดับ มีส่วนรวมในการดำเนินงานโครงการทุกโครงการ เห็นได้จากการประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ 1/2565 วันที่ 13 มกราคม 2565 มีมติที่ประชุม ได้มอบหมายงาน เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในงานดังนี้

1. โครงการค่ายศิลป์รักษ์ป่า

2. โครงการอบรมและทดสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR

3. โครงการสงกรานต์วิถีใหม่ สืบสานวัฒนธรรมไทย ประจำปี 2565

มอบ ผศ.ดรเชิดศักดิ์ ฉายถวิล, อาจารย์กวินวัฒน์ หิรัญบูรณะ, อาจารย์ธันยพงศ์ สารรัตน์ เป็นผู้รับผิดชอบหลักทั้ง 3 โครงการและมอบเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนรับผิดชอบตามที่ได้รับมอบหมายในแต่ละโครงการ (1.6-5(1))

7หลักการกระจายอํานาจ (Decentralization) คือ การถ่ายโอนอํานาจการตัดสินใจ ทรัพยากรและภารกิจ จากส่วนราชการส่วนกลางให้แก่หน่วยการปกครองอื่นๆ (ราชการบริหาร ส่วนท้องถิ่น) และภาคประชาชนดําเนินการ แทนโดยมีอิสระตามสมควร รวมถึงการมอบอํานาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจ และการดําเนินการให้แก่ บุคลากร โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจในการให้บริการต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียการปรับปรุง กระบวนการ และเพิ่มผลิตภาพ เพื่อผลการดําเนินงานที่ดีของส่วนราชการ

คณะผู้บริหารสถาบัน มีการบริหารงานตามกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยโดยสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มีการมอบอำนาจหน้าที่ให้รองผู้อำนวยการ มีหน้าที่ กำกับ ดูแลแต่ละกลุ่มงาน โดยแต่งตั้งผู้ช่วย ผู้อำนวยการ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของสถาบันภาษาฯ และมีบุคลากรฝ่ายสนับสนุนซึ่งปฏิบัติหน้าที่จามที่ได้รับมอบหมายและตามความเหมาะสมของภาระงานในแต่ละฝ่าย (1.5 - 7(1)) (1.5 - 7(2)) (1.5 - 7(3)) (1.5 - 7(4))

 

8หลักนิติธรรม (Rule of Law) คือ การใช้อํานาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารราชการ ด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมมีการบริหาร โดยถือปฏิบัติตามกฎหมายกฎระเบียบ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัย ได้แก่ การจัดซื้อจัดจ้าง การเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อให้เป็นการไม่เลือกปฏิบัติ (1.5 - 8(1)) เป็นต้น

9หลักความเสมอภาค (Equity) คือ การได้รับการปฏิบัติและได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มี การแบ่งแยกด้านชายหรือหญิง ถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา การฝึกอบรม และอื่นๆ

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ได้ยึดหลักความเป็นธรรม ความเสมอภาคในการปฏิบัติงาน ในช่วงสถานการณ์โควิดได้มีการทำงานแบบ Work from Home โดยรับนโยบาย ตามประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อวไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 10  (1.5 - 9(1))

จึงได้จัดตารางผู้รับผิดชอบ โดยบุคลากรทุกคนได้รับผิดชอบอย่างเท่าเทียมและเสมอภาค ได้ยึดหลักคุณธรรมและจริยธรรมในการบริหารจัดการโดยบุคลากรทุกฝ่ายต้องปฏิบัติงานภายใต้ระเบียบและข้อบังคับเดียวกันรวมถึงการจัดสรร วัสดุครุภัณฑ์ให้บุคลากรทุกคนได้ให้ประโยชน์ร่วมกัน

10หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) คือ การหาข้อตกลงทั่วไปภายในกลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่เกิดจากการใช้กระบวนการเพื่อหาข้อคิดเห็นจากกลุ่มบุคคลที่ได้รับประโยชน์และ เสียประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงซึ่งต้องไม่มีข้อคัดค้านที่ยุติไม่ได้ในประเด็นที่สําคัญ โดย ฉันทามติไม่จําเป็นต้องหมายความว่าเป็นความเห็นพ้อง โดยเอกฉันท์

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมประชุม นำข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของบุคลากรในหน่วยมาใช้ ในการตัดสินใจเชิงบริหาร เห็นได้จากการประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม จะมีวาระเพื่อพิจารณา โดยจะมีการให้บุคลากร และผู้บริหารแสดงความคิดเห็น เช่น การวางแผนการทำงานในช่วงสถานการณ์โควิด ก็ได้พูดคุยเพื่อตกลงว่าจะทำงานแบบ Work from Home แต่ต้องมีเวรประจำสำนักงาน เพื่อประสานงาน จึงได้จัดทำตารางผู้รับผิดชอบ สำนักงานในช่วง Work from Home (1.5 - 10(1))

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
10 5 คะแนน