ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ลำพึง บัวจันอัฐ , วรรณิดา ดวงมณี , ศรันญาวีย์ จันทร์หอม
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

การบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยผู้บริหารของหน่วยงานแสดงความมุ่งมั่นต่อการประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล ให้นโยบาย สร้างบรรยากาศ กําหนดแนวทางกํากับติดตาม แสดงตนเป็นตัวอย่างที่ดี ทําให้มั่นใจว่าพันธกิจและวิสัยทัศน์สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับหลักจริยธรรม พฤติกรรมที่มีจริยธรรมควรมีการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด สามารถตรวจสอบได้ บุคลากรประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล และผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับรู้และเชื่อมั่นด้านธรรมาภิบาล ของหน่วยงาน สามารถอธิบายการดําเนินงานได้อย่างชัดเจนครบถ้วนทั้ง 10 ประการ ได้แก่ 1) หลักประสิทธิผล 2) หลักประสิทธิภาพ 3) หลักการตอบสนอง 4) หลักภาระรับผิดชอบ 5) หลักความโปร่งใส 6) หลักการมีส่วนร่วม 7) หลักการกระจายอํานาจ 8) หลักนิติธรรม 9) หลักความเสมอภาค และ 10) หลักมุ่งเน้นฉันทามติ

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 - 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 - 8 ข้อ มีการดำเนินการ 9 - 10 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 หลักประสิทธิผล (Effectiveness) คือ ผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของ แผนการปฏิบัติราชการตามที่ได้รับงบประมาณมาดําเนินการ รวมถึงสามารถเทียบเคียงกับส่วนราชการหรือ หน่วยงานที่มีภารกิจคล้ายคลึงกันและมีผลการปฏิบัติงานในระดับชั้นนําของประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อ ประชาชน โดยการปฏิบัติราชการจะต้องมีทิศทางยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน มีกระบวนการปฏิบัติงาน และระบบงานที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนา ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
2 หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) คือ การบริหารราชการตามแนวทางการกํากับดูแลที่ดีที่มีการออกแบบ กระบวนการปฏิบัติงานโดยใช้เทคนิคและเครื่องมือการบริหารจัดการที่เหมาะสมให้องค์การสามารถใช้ทรัพยากร ทั้งด้านต้นทุน แรงงานและระยะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการ ตามภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
3 หลักการตอบสนอง (Responsiveness) คือ การให้บริการที่สามารถดําเนินการได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด และสร้าง ความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองความคาดหวังหรือความต้องการของประชาชน ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่าง
4 หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) คือ การแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่และผลงานต่อเป้าหมายที่กําหนดไว้ โดยความรับผิดชอบนั้นควรอยู่ในระดับที่สนองต่อความคาดหวังของสาธารณะ รวมทั้งการแสดงถึงความสํานึกในการรับผิดชอบต่อปัญหาสาธารณะ
5 หลักความโปร่งใส (Transparency) คือ กระบวนการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา ชี้แจงได้ เมื่อมีข้อสงสัย และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอันไม่ต้องห้ามตามกฎหมายได้อย่างเสรี โดยประชาชนสามารถรู้ทุกขั้นตอนในการดําเนินกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ และสามารถตรวจสอบได้
6 หลักการมีส่วนร่วม (Participation) คือ กระบวนการที่ข้าราชการ ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกกลุ่มมีโอกาสได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทําความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะร่วมเสนอปัญหาหรือประเด็นที่สําคัญ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิด แนวทาง ร่วมการแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และร่วมกระบวนการพัฒนาในฐานะ หุ้นส่วนการพัฒนา
7 หลักการกระจายอํานาจ (Decentralization) คือ การถ่ายโอนอํานาจการตัดสินใจ ทรัพยากรและภารกิจ จากส่วนราชการส่วนกลางให้แก่หน่วยการปกครองอื่นๆ (ราชการบริหาร ส่วนท้องถิ่น) และภาคประชาชนดําเนินการ แทนโดยมีอิสระตามสมควร รวมถึงการมอบอํานาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจ และการดําเนินการให้แก่ บุคลากร โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจในการให้บริการต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียการปรับปรุง กระบวนการ และเพิ่มผลิตภาพ เพื่อผลการดําเนินงานที่ดีของส่วนราชการ
8 หลักนิติธรรม (Rule of Law) คือ การใช้อํานาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารราชการ ด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
9 หลักความเสมอภาค (Equity) คือ การได้รับการปฏิบัติและได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มี การแบ่งแยกด้านชายหรือหญิง ถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา การฝึกอบรม และอื่นๆ
10 หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) คือ การหาข้อตกลงทั่วไปภายในกลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่เกิดจากการใช้กระบวนการเพื่อหาข้อคิดเห็นจากกลุ่มบุคคลที่ได้รับประโยชน์และ เสียประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงซึ่งต้องไม่มีข้อคัดค้านที่ยุติไม่ได้ในประเด็นที่สําคัญ โดย ฉันทามติไม่จําเป็นต้องหมายความว่าเป็นความเห็นพ้อง โดยเอกฉันท์
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1หลักประสิทธิผล (Effectiveness) คือ ผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของ แผนการปฏิบัติราชการตามที่ได้รับงบประมาณมาดําเนินการ รวมถึงสามารถเทียบเคียงกับส่วนราชการหรือ หน่วยงานที่มีภารกิจคล้ายคลึงกันและมีผลการปฏิบัติงานในระดับชั้นนําของประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อ ประชาชน โดยการปฏิบัติราชการจะต้องมีทิศทางยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน มีกระบวนการปฏิบัติงาน และระบบงานที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนา ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการบริหารงานด้วยหลักประสิทธิผล (Effectiveness)  ดังนี้

    1. มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สำนักวิทยบริการฯ (1.5 – 1 (1)) เพื่อกำหนดเป้าหมายในการบริหารงาน มี

การถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์สู่บุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีการกำกับติดตามโดยผู้บริหารอย่างต่อเนื่องจนส่งผลให้มีผลการดําเนินงานตามตัวชี้วัดเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ดังนี้

ยุทธศาสตร์

 

กลยุทธ์

 

ตัวชี้วัด

 

ค่าเป้าหมาย

 

ผลการดำเนินงาน

การบรรลุเป้า
หมาย

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการค้นคว้า เพื่อเรียนรู้

1. พัฒนาและปรับปรุงระบบการใช้บริการสารสนเทศด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า และการวิจัย

ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสารสนเทศ

ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสารสนเทศ ไม่น้อยกว่า 3.51

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้มีการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสารสนเทศภายในห้องสมุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.62 ซึ่งผู้ใช้บริการมีระดับความพึงพอใจอยู่ใน ระดับดี

 

ความพึงพอใจ รายด้าน

ระดับความพึงพอใจ

 

แปลความ

1.ด้านบริการ

3.81

มาก

2 .ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่าย

3.69

มาก

3. ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก

3.68

มาก

4. ด้านผู้ให้บริการ

3.66

มาก

5. ด้านสถานที่

3.63

มาก

6. ด้านการเข้าใช้งานเว็บไซต์สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ 

3.59

มาก

7. ด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย

3.59

มาก

8. ด้านห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

3.59

มาก

9.ด้านทรัพยากรและการเข้าถึงทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนรู้

3.57

มาก

10.ด้านการให้บริการอินเทอร์เน็ต

3.55

มาก

11.ด้านการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์

3.51

มาก

รวม

3.62

มาก

 

บรรลุ

 

2. รักษามาตรฐานของระบบการจัดการสารสนเทศและเทคโนโลยี

ระดับมาตรฐานของระบบการจัดการสารสนเทศและเทคโนโลยี

ระดับมาตรฐานของระบบการจัดการสารสนเทศและเทคโนโลยี ไม่น้อยกว่า 3.51

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้จัดระบบการให้บริการแก่นักศึกษาและบุคคลทั่วไปได้แก่

1. ระบบยืม คืน และสืบค้นหนังสือแบบ

ออนไลน์ บริการฐานข้อมูลวิจัยออนไลน์ และ
E-BOOK ออนไลน์ผ่าน https://lib.sskru.ac.th/libsskru/

2. ระบบสมัครการใช้อินเตอร์เน็ต

อีเมลล์ และการใช้ซอฟต์แวร์ผ่านเว็บไซต์ http://202.29.57.13/emailapplicant/

3. ระบบการล็อคอินเข้าใช้งานอัตโนมัติ

มีการประเมินความพึงพอใจด้าน มาตรฐานของระบบการจัดการใน 6 ด้านได้ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อมาตรฐานระบบเท่ากับ 4.12 ใน ระดับมาก

มาตรฐานของระบบด้าน

ความพึงพอใจ

แปลความ

ความเชื่อมั่นในความปลอดภัยและสิทธิ์เข้าใช้งานระบบ

4.24

มาก

ความสะดวก รวดเร็ว ในการเข้าถึงข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย

4.44

มาก

ระบบ ICT ช่วยอำนวยความสะดวกในการปฎิงาน

4.02

มาก

ระบบอินเตอร์เน็ตมีความรวดเร็ว

3.68

ปานกลาง

ระบบไร้สายใช้งานสะดวกและรวดเร็ว

4.24

มาก

ระบบไร้สายครอบคลุมทั่วพื้นที่

4.35

มาก

รวม

4.12

มาก

 

บรรลุ

 

3. พัฒนาทักษะดิจิทัล สำหรับนักศึกษา

1.จำนวนโครงการ/กิจกรรมพัฒนาทักษะดิจิทัลสำหรับนักศึกษา

 

จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่พัฒนาทักษะดิจิทัลสำหรับนักศึกษา ไม่น้อยกว่า 2 กิจกรรม

 

มีการจัดโครงการและกิจกรรมตามระบบและกลไกการพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล โดยมีรายละเอียดโครงการตามแผน จำนวน 3 โครงการ สามารถดำเนินการแล้วเสร็จ 3 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีรายงานผลการดำเนินโครงการ ดังนี้
 

1. โครงการพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล สำหรับอาจารย์ (กิจกรรมอบรมการใช้

งานกลุ่มโปรแกรม Microsoft (สำหรับอาจารย์))

2.โครงการพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล สำหรับนักศึกษา (กิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะ และทักษะด้านดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ (การเรียนออนไลน์)

3. โครงการทดสอบสมรรถนะและทักษะ
ด้านดิจิทัล สำหรับนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564

บรรลุ

 

 

2.ร้อยละนักศึกษาที่ผ่านการทดสอบทักษะดิจิทัล

2.ร้อยละนักศึกษาที่ผ่านการทดสอบทักษะดิจิทัล

ไม่น้อยกว่า 60

ร้อยละของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้าย
ที่เข้าสอบและสอบผ่านเกณฑ์วัดระดับทักษะด้าน
ดิจิทัล ในปีการศึกษา 2564 มีจำนวนผู้เข้าสอบ จำนวน 1,446 คน และมีจำนวนผู้สอบผ่านเกณฑ์ วัดผล (IC3 หรือเทียบเท่า) จำนวน 1,381 คน คิดเป็นร้อยละ 95.51

บรรลุ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 บริการวิชาการสู่สังคม ชุมชนและท้องถิ่น

1. สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่ายด้านการจัดหาสารสนเทศเพื่อพัฒนาระบบการจัดการศึกษา

จำนวนเครือข่ายความร่วมมือด้านการจัดหาสารสนเทศเพื่อพัฒนาระบบการจัดการศึกษา

จำนวนเครือข่ายความร่วมมือด้านการจัดหาสารสนเทศเพื่อพัฒนาระบบการจัดการศึกษา ไม่น้อยกว่า 1 แหล่ง

มีเครือข่ายความร่วมมือด้านการจัดหาสารสนเทศเพื่อพัฒนาระบบการจัดการศึกษา ดังนี้

  1. บริษัทgale
  2. ศูนย์หนังสือจุฬา
  3. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

บรรลุ

2. พัฒนาการบริการวิชาการสู่สังคม ชุมชนและท้องถิ่น

 

ระดับความสำเร็จของการบริการวิชาการสู่สังคม ชุมชนและท้องถิ่น

ระดับความสำเร็จของการบริการวิชาการสู่สังคม ชุมชนและท้องถิ่น ไม่น้อยกว่า

ร้อยละ 3.51

สรุปผลการดำเนินโครงการ : บริการวิชาการโรงเรียนหนองสาดโนนเจริญ เมื่อวันที่ 13-14 มิถุนายน 2565 ณ โรงเรียนบ้านหนองสาดโนนเจริญ ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น จำนวน 42 คน มีนักเรียนเข้าร่วมจำนวน 34 คน และมีคณะครูจำนวน 8 มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 40 คน
แยกสถานผู้ตอบแบบสอบถาม นักเรียน จำนวน 34 คน ผลสรุปการวิเคราะห์แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.54 เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่า ระดับความพึง พอใจสูงที่สุด คือ ด้านความพร้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 รองลงมาคือ ด้านความรู้ความ เข้าใจ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 ด้านกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 และ ด้านดำเนินกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 ตามลำดับ จากการตอบแบบสอบถามและการสังเกตขณะร่วมกิจกรรมผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจก่อนเข้า ร่วมกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.15 หลังการร่วมกิจกรรมผู้เข้าร่วมมีความรู้เพิ่มขึ้น มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.80 ซึ่งอยู่ใน ระดับมากที่สุด จะเห็นได้ว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความสามารถเพิ่มขึ้น โดยวัดจากผลรับที่ได้จากการปฏิบัติจริง และสามารถตอบคำถามได้

บรรลุ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหาร การบริการ ที่มีประสิทธิภาพด้วยหลักธรรมาภิบาล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1. พัฒนาการประชาสัมพันธ์องค์กรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

 

จำนวนเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการประชาสัมพันธ์

 

จำนวนเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการประชา
สัมพันธ์

ระดับความสำเร็จด้านการประชา
สัมพันธ์องค์กร

ไม่น้อยกว่า 1 แหล่ง

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีจำนวนเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการประชาสัมพันธ์ข่าวสารภายในองค์กร จำนวน 1 แหล่ง

https://www.facebook.com/ARITSSKRU

บรรลุ

2. พัฒนาระบบความมั่นคงและความปลอดภัยทางเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มขึ้น

 

จำนวนระบบสำหรับรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยทางเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มขึ้น

ระดับความสำเร็จด้านการ
ประชาสัมพันธ์องค์กร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3.51

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดระบบความมั่นคงและความปลอดภัยทางเทคโนโลยีดิจิทัลในจำนวน 2 ระบบได้แก่ (1) ระบบล็อกอินการใช้งานอินเทอร์เน็ต และ (2) ระบบบันทึกใช้งานของผู้ใช้ที่เรียกว่า Log file ซึ่งบันทึกข้อมูลแบบฮาร์ดแวร์ เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ แสดงถึงแหล่งกำเนิด, ต้นทาง, ปลายทาง, เส้นทาง, เวลา, วันที่, ปริมาณ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การดำเนินการนี้สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA

     ในด้านการประชาสัมพันธ์องค์กรได้ทำการประเมินการรับรู้แหล่งให้บริการต่างๆของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จากผู้มาใช้บริการห้องสมุดได้ค่าเฉลี่ยของระดับความสำเร็จ 4.16 ในระดับมาก

การประชาสัมพันธ์องค์กร

ระดับความสำเร็จ

แปลความ

การรับรู้จากสื่อ YOUTUBE

4.12

มาก

การรับรู้จากเว็บไซต์

4.02

มาก

การรับรู้จากแหล่งโซเชียล

4.35

มาก

รวม

4.16

มาก

 

บรรลุ

3. บริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กร

 

จำนวนความสำเร็จการบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กร

จำนวนความสำเร็จการบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กร

อย่างน้อย 1 กิจกรรม

ประเด็นความเสี่ยงตามแผน จํานวน 3 ประเด็น  

มีระดับความเสี่ยงลดลง จํานวน 1 เรื่อง คือ 

          1. ประเด็นความเสี่ยงสถานการณ์ COVID-19 มีผลต่อการจัดสอบสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล   

      ความเสี่ยงเท่าเดิม จํานวน  2  เรื่อง คือ  

          1. ประเด็นความเสี่ยง ขาดกระบวนการดำเนินการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ   

          2. ประเด็นความเสี่ยง แนวทางปฏิบัติการเข้าสู่ตำแหน่งไม่ชัดเจนและบุคลากรขาดทักษะในการเขียนขอเข้าสู่ตำแหน่ง   

บรรลุ

4. พัฒนาระบบการจัดการความรู้

ระดับความสำเร็จการจัดการความรู้

มีระดับความสำเร็จในการจัดการความรู้ อยู่ที่ระดับ 3.51

มีจำนวนความสำเร็จในการจัดการความรู้เพิ่มขึ้น 2 แหล่ง คือ 

 1. ระบบคุมการเบิกจ่ายงบประมาณ ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี  

 2. ระบบการคุมทะเบียนเลขหนังสือ เอกสาร ทางราชการ 

บรรลุ

5. พัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา

ระดับความสำเร็จการพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา

มีการพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างน้อย 1 แหล่ง

มีการพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา ดังนี้

 1. มีการจัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนักฯ เพื่อเป็นระบบและกลไกในการดําเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มีการกำหนดเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจนสอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน จำนวน 2 องค์ประกอบ  13 ตัวบ่งชี้

 2. มีการจัดทำปฏิทินการดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนักฯ เพื่อกำหนดกิจกรรม และกระบวนการดําเนินงานให้ชัดเจนในวงรอบปีประกันอย่างชัดเจน

 3. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนักฯ 4. แต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินงานตามพันธกิจสำนักฯ ประจำปีการศึกษา 2564 

5. แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับตัวบ่งชี้และจัดเก็บข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน  โดยมีส่วนร่วมของ บุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย เพื่อทำหน้าที่พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนักฯ รวมทั้งทำหน้าที่ขับเคลื่อนดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับสำนักให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 

บรรลุ

6. พัฒนาระบบการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล และความโปร่งใสในองค์กร

ระดับความสำเร็จการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล และความโปร่งใสในองค์กร

มีการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล และความโปร่งใสในองค์กร อย่างน้อย 1 แหล่ง

การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล และความโปร่งใสในองค์กร ดังนี้

1. มีการเปิดเผยขั้นตอนการปฏิบัติงานของหน่วยงานทุกงาน โดยจัดทำเป็นโฟชาร์ทแสดงขั้นตอนติดไว้หน้าจุดให้บริการ

2. มีการทำแผ่นพับการให้บริการ 

3. มีการเปิดเผยกระบวนการให้บริการของงานต่างของหน่วยงานผ่านเว็บไซต์ 

4. มีการจัดโครงการส่งเสริมคุณธรรมสร้างความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงาน

5. มีการจัดทำประกาศสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง เจตจำนงสุจริต เสริมสร้างคุณธรรม และความโปร่งใส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

6. ประกาศสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง เจตจำนงสุจริต เสริมสร้างคุณธรรม และความโปร่งใสประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

7. ประกาศสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง  นโยบายการจัดการเรื่องร้องเรียนของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

8. ประกาศสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศเรื่อง  นโยบายการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนของบุคลากรสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

9. มีการเปิดเผยข้อมูลหน่วยงานในเว็บไซต์

 

บรรลุ

7. พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้เกิดทักษะและสมรรถนะที่สูงขึ้น

 

ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาให้เกิดทักษะและสมรรถนะที่สูงขึ้น

มีบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาให้เกิดทักษะและสมรรถนะที่สูงขึ้นร้อยละ 80

มีบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาให้เกิดทักษะ
และสมรรถนะที่สูงขึ้น
ร้อยละ 100

บรรลุ

จำนวนโครงการ/กิจกรรมระดับความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนบริหารและพัฒนาบุคลากร

มีโครงการ/กิจกรรมที่พัฒนาศักยภาพบุคลากร ไม่น้อยกว่า 2 โครงการ/กิจกรรม

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

มีการพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด

จำนวน 2 โครงการ ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 2 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 100 ดังนี้

 1. โครงการอบรมการใช้ E-mail ของ Microsoft และระบบ OneDrive (สำหรับบุคลากร)

 2. โครงการอบรมการส่งเสริมการยื่นขอตำแหน่งที่สูงขึ้น (ประเภทสายสนับสนุน)

บรรลุ

 

มีระดับความสำเร็จการดำเนินงานตามแผนบริหารและพัฒนาบุคลากร

ไม่น้อยกว่า 3.51

1. อบรมการใช้ E-mail ของMicrosoft และระบบ OneDrive (สำหรับบุคลากร) มีระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ที่ 4.36

2. อบรมการส่งเสริมการยื่นขอตำแหน่งที่สูงขึ้น (ประเภทสายสนับสนุน) มีระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ที่ 4.10

บรรลุ

8. พัฒนาบุคลากรเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นหรือก้าวหน้าในสายวิชาชีพ

 

จำนวนบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น หรือก้าวหน้าในสายวิชาชีพ

มีบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น หรือก้าวหน้าในสายวิชาชีพ จำนวน 18 คน

มีบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น หรือก้าวหน้าในสายวิชาชีพ จำนวน 18 คน

บรรลุ

จำนวนบุคลากรที่ยื่นขอเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น

มีบุคลากรที่ยื่นขอเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นจำนวน 6 คน

มีจำนวนบุคลากรที่ ยื่นขอเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นเพียง จำนวน 1 คน

ไม่บรรลุ

จำนวนบุคลากรที่ได้รับแต่งตั้งเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น

มีบุคลากรที่ได้รับแต่งตั้งเข้าสู่

ตำแหน่งที่สูงขึ้น จำนวน 1 คน

ไม่มีบุคลากรที่ได้รับแต่งตั้งเข้าสู่ตำแหน่ง

ที่สูงขึ้น

ไม่บรรลุ

 

 

1.2 มีการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี 2564 (1.5 – 1 (2)) ที่ครอบคลุมพันธกิจของหน่วยงาน โดยมีผลการ

เบิกจ่ายงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ ดังนี้

ปีงบประมาณ

งบประมาณที่ได้รับการจัดสรร

งบประมาณแผ่นดิน

งบประมาณบำรุงการศึกษา

 

ผลการเบิกจ่าย

 

ร้อยละ

2562

1,835,000

200,000

1,635,000

1,448,487

78.94

2563

1,710,000

200,000

1,510,000

1,449,731

84.78

2564

1,490,000

190,000

1,300,000

1,484,537.86

99.64

 

 1.3 มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้อํานวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (1.5

– 1 (3)) โดยหน่วยงานภายนอก และนําข้อเสนอแนะมาปรับปรุงกระบวนการบริหารงาน อย่างต่อเนื่องนําไปสู่ความเป็นเลิศในทุกๆ ด้าน โดยมีผลการดําเนินงาน ดังนี้  (1.5-1(4))

 

 

ตัวบ่งชี้

คะแนน

คะแนนเต็ม

คะแนนที่ได้

  1. ร้อยละการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน

5

5

  1. ร้อยละการใช้จ่ายงบประมาณเงินรายได้

5

5

  1. ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ

5

3

  1. ความสุขในการทำงานของบุคลากร

5

4

  1. ผลการประเมินความพึงพอใจของบุคลากรต่อการบริหารงานของผู้อำนวยการสำนัก โดยรวม

5

4.66

 

2หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) คือ การบริหารราชการตามแนวทางการกํากับดูแลที่ดีที่มีการออกแบบ กระบวนการปฏิบัติงานโดยใช้เทคนิคและเครื่องมือการบริหารจัดการที่เหมาะสมให้องค์การสามารถใช้ทรัพยากร ทั้งด้านต้นทุน แรงงานและระยะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการ ตามภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการบริหารงานด้วยหลักประสิทธิภาพ (Efficiency) ดังนี้

1. ผู้บริหารให้ความสำคัญในการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดและมีประสิทธิภาพ โดยใช้กระบวนการประชุมคณะกรรมการบอร์ดต่างๆ เพื่อกำกับติดตามและใช้มติที่ประชุมในการหาข้อสรุปร่วมกัน โดยมีหัวหน้างานเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการ เช่น คณะกรรมการประจำสำนักฯ (1.5 – 2 (1)) คณะกรรมการบริหารสำนักฯ (1.5 – 2 (2)) คณะกรรมการดําเนินงานตามพันธกิจของสำนักฯ (1.5 – 2 (3)) เป็นต้น

  2. มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างงาน เพื่อลดต้นทุนในการเช่า ซื้อ หรือจ้าง เช่น การใช้ห้องประชุมสถานที่หรืออาคาร การยืม วัสดุอุปกรณ์ การบูรณาการจัดกิจกรรมต่างๆ ระหว่างหน่วยงาน การร่วมโครงการหรือกิจกรรม และอื่นๆ เป็นต้น

  3. มีการใช้นวัตกรรมในการบริหารจัดการองค์กร โดยมีการมอบนโยบายให้ทุกหน่วยงานลดขั้นตอนการปฏิบัติงานให้มีระยะเวลา ต้นทุนที่น้อยลง แต่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น รวมทั้ง มีการนําระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการหน่วยงาน ดังนี้

ชื่อระบบ

รายละเอียดพร้อมภาพประกอบ

1.โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI  AUTOLIB  (1.5-2(4))

 

 

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI Auto Lib ช่วยในการบริหารจัดการงานของห้องสมุด เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการให้บริการยืม - คืนสารสนเทศภายในห้องสมุด เพื่ออำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศภายในห้องสมุด และจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ ข้อมูลหนังสือ

2.ระบบเก็บสถิติผู้เข้าใช้(1.5-2 (5))

ระบบเก็บสถิติผู้เข้าใช้เป็นระบบที่พัฒนาต่อยอดมาจากฐานข้อมูลของระบบเดิมซึ่งใช้เทคโนโลยีในการ พัฒนาที่สูงขึ้นมีการปรับเปลี่ยนหน้าตาของโปรแกรมให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้นพร้อมทั้งสามารถ ย่อขยายขนาดตามขนาดหน้าจอได้อีกด้วย(Responsive) โดยสามารถเก็บสถิติได้ทั้งชั้น 1 และชั้น 5 พร้อมทั้งสามารถรายงานผลออกมาเป็นรายวันและรายเดือนได้อีกด้วย

3. ระบบการใช้ห้องประชุมกลุ่มย่อยชั้น 3 และชั้น 5

(1.5-2 (6))

ระบบห้องประชุมกลุ่มย่อยเป็นระบบที่ให้บริการยืม – คืนห้องประชุมกลุ่มย่อยที่มีอยู่ที่บริเวณชั้น 3 และ ชั้น 5 การทำงานของระบบคือสามารถเลือกห้องที่เป็นสีเขียวหมายถึงห้องที่ว่างได้ตามความต้องการของผู้ใช้โดยเมื่อมีการเลือกห้องแล้วก็จะมีการเก็บสถิติการเข้าใช้ห้องด้วยการบันทึกรหัสนักศึกษาจากบัตรเมื่อบันทึกแล้วห้องที่เลือกก่อนหน้านี้จะเปลี่ยนสถานะเป็นสีแดงหมายถึงห้องไม่ว่างพร้อมจะมีรายงานวัน เวลา รหัสผู้ใช้ปรากฏออกมาทางหน้าจอเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทราบ และสามารถคลิกคืนห้องได้เมื่อผู้ใช้บริการนำกุญแจมาคืน

4. ระบบบริการสื่อโสตฯ

(1.5-2 (7))

ระบบบริการสื่อโสตเป็นระบบที่มีไว้สำหรับ ยืม – คืน สื่อโสตประเภทภาพยนต์ที่ให้บริการอยู่บนชั้น 5 โดยผู้ใช้บริการสามารถยืมหนังเพื่อดูภายใน บริเวณที่เตรียมไว้ให้ได้ โดยหลักการทำงานเมื่อผู้ใช้บริการเลือกหนังที่ต้องการมาแล้วนำมายื่นต่อเจ้าหน้าที่ พร้อมด้วยบัตรประจำตัวนักศึกษา การทำรายการก็จะเป็นการบันทึกบาร์โค้ดและรหัสนักศึกษาเข้าไปในระบบ พร้อมแสดงผลการทำรายการออกทางหน้าจอ และเมื่อผู้ใช้บริการนำหนังมาคืนก็สามารถยิงบาร์โค้ดที่หนังเพื่อเป็นการคืนได้ทันที

 

5.ระบบห้องมินิเธียเตอร์

(1.5-2 (8)

ระบบการใช้ห้องมินิเธียเตอร์เป็นระบบที่มีไว้หรับการให้บริการเข้าดูภาพยนต์ในห้องมินิเธียเตอร์  ซึ่งสามารถบรรจุได้ทั้งหมด 50 ที่นั่งและการใช้งานต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 6 คนขึ้นไปการใช้งานระบบคือผู้ใช้บริการเลือกหนังเรื่องที่ต้องการ แล้วนำบัตรสมาชิกทุกคนที่จะเข้าใช้บริการมาบันทึกรหัสนักศึกษากับเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นสถิติการเข้าใช้งานและบันทึกบาร์โค้ดหนังเพื่อเป็นสถิติอีกด้วยและเมื่อผู้ใช้บริการออกจากห้องสามารถคืนห้องเพื่อให้เป็นสถานะว่างด้วยการคลิกคืนห้องเป็นการจบขั้นตอน

6.ระบบ Login

 

 

 

 

7.ระบบดูหนังออนไลน์

 

 

 

ระบบ Login เป็นระบบที่ผู้ปฏิบัติงานจะ Login เพื่อเข้าดูสถิติและรายงานผลการเข้าใช้งาน ห้องสมุด,การเข้าใช้งานห้องประชุมกลุ่มย่อย,การเข้าใช้งานห้องมินิเธียเตอร์ และ การใช้งานสื่อโสตฯ ออกมาโดยสามารถรายงานเป็นรายวันและรายเดือนพร้อมทั้งยอดสรุป ในเดือนนั้นๆ และสามารถพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์เพื่อรายงานผลได้

 

ระบบดูหนังออนไลน์มีไว้สำหรับผู้ใช้บริการที่ไม่ต้องการดูหนังจากแผ่นโดยระบบนี้สามารถให้บริการได้โดยการบริการตัวเองซึ่งผู้เข้าใช้บริการสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่มีให้บริการหรือใช้คอมพิวเตอร์ส่วนตัวเข้าใช้เลือกหนังที่ต้องการและกรอกรหัวนักศึกษาเข้าไปเพียงเท่านี้ก็สามารถเข้าดูหนังที่มีในระบบได้ตามที่ต้องการ ระบบจะเก็บสถิติการเข้าดูหนังของผู้ใช้บริการได้อีกด้วย

8.ระบบจัดเก็บวัสดุสำนักงาน

เนื่องจากอาคารห้องสมุดของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีวัสดุสำนักงานเยอะมากพอสมควรเพื่อที่มีไว้สำหรับงานด้านการบริการ รวมถึงงานเพื่อความสะอาด จึงมีการเบิกจ่ายวัสดุทุกวัน โดยการเบิกจ่ายทำโดยเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องด้วยการเริ่มจากการนับสต็อกวัสดุที่เข้ามา แล้วจ่ายวัสดุออกไปให้กับผู้ที่มาขอ เป็นการจดลงสมุดบัญชีที่เป็นกระดาษและคำนวณยอดต่างๆ ด้วยมือทั้งหมด บ่อยครั้งที่เกิดปัญหายอดไม่ตรงสต็อก วันเดือนปีที่ เบิกจ่ายผิด ทำให้เกิดปัญหาเช่นตรวจสอบที่มาที่ไปของวัสดุไม่ได้ว่าเบิกจ่ายไปช่วงเวลาใด เป็นต้น

9.จัดเก็บครุภัณฑ์สำนักงาน

อาคารห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เป็นอาคารที่มีครุภัณฑ์เป็นจำนวนมากทำให้เกิดปัญหาเวลาตรวจสอบว่าครุภัณฑ์ชิ้นนี้อยู่ที่ไหนเลขครุภัณฑ์อะไรโดยระบบเดิมได้มีการจดบันทึกลงบันกระดาษและ โปรแกรม Microsoft Excel ซึ่งยากต่อการจัดการมาก โดยฉะเพราะเวลาตรวจนับครุภัณฑ์บ่อยครั้งที่หาเลขครุภัณฑ์ไม่เจอ หรือ จำไม่ได้ว่าของชิ้นนี้อยู่ตรงไหนของตึกและส่วนงานใดคือผู้ดูแลจึงมีการคิดที่จะพัฒนาระบบตรงนี้เข้ามาใช้เพ่อการจัดการ

 

 

3หลักการตอบสนอง (Responsiveness) คือ การให้บริการที่สามารถดําเนินการได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด และสร้าง ความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองความคาดหวังหรือความต้องการของประชาชน ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่าง

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการบริหารงานด้วยหลักประสิทธิภาพ (Efficiency) ดังนี้

     มีการจัดให้บริการแก่ผู้รับบริการภายในเวลาที่กำหนด สามารถตอบสนองความคาดหวังของผู้รับบริการ และสร้างความเชื่อมันแก่ผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยมีการจัดบริการ จำนวน  7 บริการ ดังนี้

หน่วยงาน

การบริการ

ผู้รับบริการ

ผลการดำเนินงานตามความคาดหวัง

ฝ่ายวิทยบริการ

ยืม-คืนทรัพยากร

(1.5-3(1))

นักศึกษา บุคลากร ภายในมหาวิทยาลัย

มีระบบการยืมคืนอัตโนมัติบริการส่งผลให้ผู้รับบริการได้รับทรัพยากรที่ต้องการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว

 

ตอบคำถามช่วยการค้นคว้า  

นักศึกษา บุคลากร และ ประชาชนทั่วไป

มีบุคลากรประจำจุดบริการ เพื่อให้

ข้อมูลสำหรับผู้รับบริการทั้งภายใน และภายนอก ให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในการรับบริการ

 

ห้องประชุมเฉพาะ

 

นักศึกษา บุคลากร ภายในมหาวิทยาลัย

มีห้องประชุมเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ และได้รับบริการอย่างรวดเร็วตามต้องการ เนื่องจากใช้ระบบการจองห้องประชุมผ่านระบบออนไลน์ สามารถจองผ่านระบบอยุ่ที่ใหนก็สามารถจองได้ ส่งผลให้สะดวก รวดเร็วต่อการบริการ ผู้ใช้บริการพอใจ

 

ตอบคำถามผ่านเพจสำนัก

(1.5-3(2))

นักศึกษา บุคลากร และ ประชาชนทั่วไป

มีบุคลากรดูแลตอบคำถามให้คำปรึกษาช่วยเหลือทุกข้อคำถาม และให้บริการได้อย่างรวดเร็วตรงตามความต้องการ

ฝ่ายเครือข่ายฯ

บริการอินเทอร์เน็ต

(1.5-3(3))

นักศึกษา บุคลากร ภายในมหาวิทยาลัย

จัดบริการเครือข่ายไร้สาย (wi fi) ตามจุดต่างๆ จำนวน 90% ในมหาวิทยาลัย เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างมีเสถียรภาพ ทุกที่ทุกเวลา ตรงตามความต้องการ และพึงพอใจมากที่สุด

 

บริการ VPN

(1.5-3(4))

นักศึกษา บุคลากร ภายในมหาวิทยาลัย

จัดบริการเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึง และสืบค้นฐานข้อมูลต่าง ๆ ของห้องสมุด โดยอยู่ที่ไหนก็สามารถค้นได้ ทุกที่ ทุกเวลา สะดวก สบาย โดยไม่ต้องเดินทางมาใช้บริการในห้องสมุด ส่งผลให้ผู้ใช้เกิดความพึงพอใจ

ฝ่ายนวัตกรรม

ระบบบริการสื่อโสตฯ

(1.5-3(5))

นักศึกษา บุคลากร ภายในมหาวิทยาลัย

มีระบบบริการสื่อโสตเป็นระบบที่มีไว้สำหรับ ยืม – คืน สื่อโสตประเภทภาพยนต์ที่ให้บริการอยู่บนชั้น 5 โดย การทำรายการก็จะเป็นการบันทึกบาร์โค้ดและรหัสนักศึกษาเข้าไปในระบบ พร้อมแสดงผลการทำรายการออกทางหน้าจอ และเมื่อผู้ใช้บริการนำหนังมาคืนก็สามารถยิงบาร์โค้ดที่หนังเพื่อเป็นการคืนได้ทันที ส่งผลให้สะดวก รวดเร็วต่อการบริการ ผู้ใช้บริการเกิดความพอใจ

 

4หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) คือ การแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่และผลงานต่อเป้าหมายที่กําหนดไว้ โดยความรับผิดชอบนั้นควรอยู่ในระดับที่สนองต่อความคาดหวังของสาธารณะ รวมทั้งการแสดงถึงความสํานึกในการรับผิดชอบต่อปัญหาสาธารณะ

สำนักวิทบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการดำเนินงานตามหลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) ดังนี้

1. หน่วยงานมีการมอบหมายภาระงานแก่บุคลากรที่ชัดเจน ตรงตามความสามารถ และตรงตามตำแหน่งที่บรรจุ โดยมีการกำหนดไว้ในหนังสือสัญญาจ้าง ของบุคลากรแต่ละบุคคลตั้งแต่แรกบรรจุ (1.5 – 4 (1)) และหน่วยงานมีการจัดทำเป็นคำสั่ง เรื่อง มอบหมายภาระงาน (1.5 – 4 (2)) มีการจัดทำปฏิทินการดำเนินงาน รายปี (1.5 – 4 (3)) ทุกหน่วยงานมีการดําเนินงานตามแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีกำกับติดตามผลการดําเนินงานของแต่ละหน่วยงานผ่านการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักฯ อย่างต่อเนื่อง (1.5 – 4 (4))  

2. หน่วยงานมีการจัดทำแบบประเมินความพึงพอใจในการให้บริการเพื่อนําข้อเสนอแนะจากผู้รับบริการมาปรับปรุงให้เป็นไปตามความคาดหวัง (1.5 – 4 (5)) รวมทั้งยังมีการจัดโครงการพัฒนาห้องสมุดและกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้กับโรงเรียนพระปริยัติธรรม เพื่อเตรียมรับเสด็จสมเด็จพระเทพฯเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง (1.5 – 4 (6)) มีการจัดโครงการพัฒนาบริการวิชาการ ณ โรงเรียนบ้านหนองสาดโนนเจริญ เพื่อเป็นการบริการวิชาการและพัฒนาสังคม (1.5 – 4 (7))

5หลักความโปร่งใส (Transparency) คือ กระบวนการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา ชี้แจงได้ เมื่อมีข้อสงสัย และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอันไม่ต้องห้ามตามกฎหมายได้อย่างเสรี โดยประชาชนสามารถรู้ทุกขั้นตอนในการดําเนินกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ และสามารถตรวจสอบได้

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการบริหารงานด้วยหลักความโปร่งใส (Transparency) ดังนี้

1. มีการกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินบุคลากรที่ชัดเจน เพื่อความโปร่งใส เป็นมาตรฐานเดียวกันไม่เลือกปฏิบัติในการประเมิน โดยมีการประเมินภารงานหลัก ภาระงานรองของบุคลากรรายบุคคลแบบสามเส้า คือ

 

ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารหน่วยงาน และหัวหน้าหน่วยงาน โดยมีผลต่อการปรับขั้นเงินเดือนของบุคลากร เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรที่มีความรับผิดชอบ (1.5-5(1))

2. มีการจัดโครงการส่งเสริมคุณธรรมสร้างความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลและความโปร่งใสในหน่วยงาน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในหน่วยงาน ให้สามารถทำงานด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ (1.5-5(2))

3. มีการจัดทำประกาศสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง เจตจำนงสุจริต เสริมสร้างคุณธรรม และความโปร่งใส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (1.5-5(3))

4. มีการเปิดเผยข้อมูลหน่วยงานในเว็บไซต์สำนักฯ ประกอบด้วย โครงสร้างหน่วยงาน ประวัติความเป็นมา ภารกิจ โครงสร้าง เอกสารดาวน์โหลดต่าง เช่น ระเบียบ ประกาศ คู่มือ และอื่นๆ เป็นต้น เพื่อความโปร่งใสและเป็นข้อมูลเพื่อให้หน่วยงานต่างๆ นำไปใช้ประโยชน์ (1.5-5(4))

6หลักการมีส่วนร่วม (Participation) คือ กระบวนการที่ข้าราชการ ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกกลุ่มมีโอกาสได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทําความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะร่วมเสนอปัญหาหรือประเด็นที่สําคัญ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิด แนวทาง ร่วมการแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และร่วมกระบวนการพัฒนาในฐานะ หุ้นส่วนการพัฒนา

สำนักวิทบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการดำเนินงานตามหลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) ดังนี้

1. การมีส่วนร่วมของบุคคลภายใน ผู้อำนวยการสำนักฯ ได้เปิดโอกาสให้หัวหน้างาน และบุคลากรภายในหน่วยงานมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และในการปฏิบัติราชการ ในการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักฯ โดยจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักฯ ขึ้นทุกเดือน (1.5-6(1)) เปิดโอกาสให้บุคลากรทั้งสำนักได้แสดงความคิดเห็น เสนอแนะแนวทางต่างๆ ในการดำเนินงานการประชุมสามัญประจำภาคเรียน และเปิดช่องทางให้บุคลากรนักศึกษาชี้แจ้งปัญหาในการดำเนินงาน ผ่านเพจสำนักฯ (1.5-6-(2))

2. การมีส่วนร่วมของบุคคลภายนอก มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิทุกภาคส่วนที่มีความเชี่ยวชาญและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานเฉพาะ เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงาน ในรูปแบบคณะกรรมการประจำสำนักฯ (1.5-6-(3)) รวมทั้งบุคลากร และนักศึกษาเข้ามามีบทบาทในการทำกิจกรรมร่วมกับสำนักโดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นหลักสำคัญ

7หลักการกระจายอํานาจ (Decentralization) คือ การถ่ายโอนอํานาจการตัดสินใจ ทรัพยากรและภารกิจ จากส่วนราชการส่วนกลางให้แก่หน่วยการปกครองอื่นๆ (ราชการบริหาร ส่วนท้องถิ่น) และภาคประชาชนดําเนินการ แทนโดยมีอิสระตามสมควร รวมถึงการมอบอํานาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจ และการดําเนินการให้แก่ บุคลากร โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจในการให้บริการต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียการปรับปรุง กระบวนการ และเพิ่มผลิตภาพ เพื่อผลการดําเนินงานที่ดีของส่วนราชการ

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการดำเนินงานตามหลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) ดังนี้

     หน่วยงานมีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน โดยมีผู้อำนวยการสำนัก รองผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้างาน และบุคลากรแต่ละฝ่าย มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ภาระงานที่ชัดเจน มีการกระจ่ายงาน และอำนาจในการบริหารและตัดสินใจให้บุคลากรตามโครงสร้างที่ชัดเจน ไม่ได้รวมศูนย์กลางที่ ผู้อำนวยการเพียงคนเดียว เช่น  การมอบอำนาจให้รองผู้อำนวยการสำนักฯ ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการสำนักฯ และมอบอำนาจให้รองผู้อำนวยการสำนักฯ ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนัก (1.5-7(1))

8หลักนิติธรรม (Rule of Law) คือ การใช้อํานาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารราชการ ด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการดำเนินงานตามหลักนิติธรรม (Rule of Law) ดังนี้

     มีการดำเนินงาน และบริหารจัดการหน่วยงานโดยยึดพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547  รวมทั้งกรอบของกฎหมาย โดยมีการกำหนดข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของหน่วยงานเพิ่มเติมโดยไม่ขัดต่อกฎหมายหลัก และดำเนินงานตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด โดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม (1.5-8 (1)) เช่น

9หลักความเสมอภาค (Equity) คือ การได้รับการปฏิบัติและได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มี การแบ่งแยกด้านชายหรือหญิง ถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา การฝึกอบรม และอื่นๆ

สำนักวิทบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการดำเนินงานตามหลักความเสมอภาค (Equity) ดังนี้

1. มีการให้บริการอย่างทำเทียม เสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ และดำเนินการโดยการให้บริการอย่างเสมอภาคโดยไม่แบ่งแยกเพศ วัย เชื่อชาติ ศาสนา ทุกคนได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน

2. มีการจัดกิจกรรมและมอบสวัสดิการต่างๆ เปิดโอกาสให้ทุกคนที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดสามารถเข้าร่วมกิจกรรม รับบริการ หรือรับรางวัลได้อย่างเสมอภาคเท่าเทียม เช่น การให้สวัสดิการมอบของที่ระลึกในโอกาสสำคัญสำหรับบุคลากร (1.5-9(1)) สวัสดิการในกรณีบุคลากรเจ็บป่วย หรือคนในครอบครัวเสียชีวิต (1.5-9(2)) กรณีอนุญาตให้บุคลากรชายลาเลี้ยงดูบุตรช่วยภรรยาได้ (1.5-9(3)) กรณีมอบขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน โดยการมอบเกียรติบัตรสำหรับบุคลากรผู้ปฏิบัติงานดีเด่น (1.5-9(4)) บุคลากรผู้สำเร็จการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น (1.5-9(5)) บุคลากรที่ได้รับเครื่องราชย์ (1.5.-9(6)) เป็นต้น

10หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) คือ การหาข้อตกลงทั่วไปภายในกลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่เกิดจากการใช้กระบวนการเพื่อหาข้อคิดเห็นจากกลุ่มบุคคลที่ได้รับประโยชน์และ เสียประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงซึ่งต้องไม่มีข้อคัดค้านที่ยุติไม่ได้ในประเด็นที่สําคัญ โดย ฉันทามติไม่จําเป็นต้องหมายความว่าเป็นความเห็นพ้อง โดยเอกฉันท์

สำนักวิทบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการดำเนินงานตามหลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) ดังนี้

     ผู้อำนวยการสำนักฯ บริหารงานแบบมีส่วนร่วม โดยใช้ระบบการประชุมและยึดโยงมติที่ประชุม จากการมีส่วนในการแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ของทุกภาคส่วนมาใช้ในการบริหารจัดการหน่วยงาน ขับเคลื่อนกิจกรรม  ออกกฎระเบียบต่างๆ เช่น การประชุมคณะกรรมการประจำสำนักฯ (1.5-10 (1)) การประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักฯ (1.5-10 (2)) เป็นต้น

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
10 ข้อ 5 คะแนน