ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 การบริหารความเสี่ยง

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ณัชชารีย์ กุลพิชัยจิราวุฒิ
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

หน่วยงานสนับสนุนจะต้องดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุ ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดําเนินงานตามพันธกิจของ หน่วยงานและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิมหรืออยู่ในระดับที่ยอมรับสามารถควบคุมได้ เพื่อป้องกันหรือบรรเทา ความรุนแรงของปัญหา รวมทั้งการมีแผนสํารองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อให้มั่นใจว่าระบบงานต่างๆ มีความพร้อมใช้งาน มีการปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่องและทันต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบรรลุเป้าหมายของสถาบัน/หน่วยงาน ตามยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์เป็นสําคัญ

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 หรือ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทํางานด้านบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน โดยมีผู้บริหารสูงสุด หรือตัวแทนผู้บริหารของหน่วยงานเป็นประธานในคําสั่ง และมีบุคลากรร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทํางาน โดยมีการกําหนดบทบาทหน้าที่ และระบบกลไกหรือกระบวนการทํางานของคณะกรรมการอย่างชัดเจน
2 มีจัดทําแผนบริหารความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง จากภายในและภายนอกหน่วยงาน ที่ครอบคลุมตามพันธกิจหรือความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทับซ้อน ของหน่วยงานอย่างน้อย 3 ด้าน ตามบริบทของหน่วยงาน
3 มีการประเมินโอกาส ผลกระทบของความเสี่ยง และจัดลําดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ 2 โดยระบุไว้ในแผนบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน และแผนบริหารความเสี่ยงจะต้องผ่านการอนุมัติเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน
4 มีแผนการดําเนินงานหรือโครงการ/กิจกรรมในการบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูงหรือความเสี่ยง ที่หน่วยต้องเร่งดําเนินการด่วน และบอกได้ถึงวิธีการจัดการความเสี่ยงที่ทําให้ความเสี่ยงในประเด็นต่างๆ มีระดับความเสี่ยงลดลงอย่างน้อย 1 เรื่อง
5 มีการติดตามประเมินผลการดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง และรายงานผลตามระยะเวลา ที่กําหนดในรอบ 6 เดือน และรอบ 12 เดือน เสนอต่อคณะผู้บริหารได้รับทราบและพิจารณาข้อคิดเห็น หรือ ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาร่วมกัน
6 มีการนําผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานตนเองและหน่วยตรวจสอบภายในไปใช้ในการ ปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัดไป และให้การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการดําเนินงาน ตามปกติอย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทํางานด้านบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน โดยมีผู้บริหารสูงสุด หรือตัวแทนผู้บริหารของหน่วยงานเป็นประธานในคําสั่ง และมีบุคลากรร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทํางาน โดยมีการกําหนดบทบาทหน้าที่ และระบบกลไกหรือกระบวนการทํางานของคณะกรรมการอย่างชัดเจน

1. สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการวางแผนเตรียมการด้านการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ดังนี้

 

1.1 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ตาม คำสั่งสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ที่ 059/2565 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2565 (1.4 - 1(1) โดยมีส่วนร่วมของบุคลกร ตั้งแต่ รองอธิการบดี เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษา ผู้อำนวยการสำนักฯ รองผู้อำนวยการสำนัก และหัวหน้าสำนักงานสำนักส่งเสริมฯ เป็นคณะกรรมการอำนวยการ และตัวแทนจากทุกกลุ่มงานเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา อำนวยการ พิจารณา สั่งการ กำกับ ติดตาม ให้ความเป็น ข้อเสนอแนะ และจัดเก็บข้อมูล ปฏิบัติงานให้สอดคล้อง เป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565 ทำหน้าที่ในการจัดวางนโยบาย ระบุความเสี่ยง ประเมินความเสี่ยง จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2566

 

1.2 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมภายใน สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2565  ที่ 063/2565 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2565 เรื่อง  (1.4-1(2)) โดยมีผู้บริหาร คือ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ รองผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ หัวหน้าสำนักงานสำนักส่งเสริมฯ หัวหน้างานบริหารทั่วไป และเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติงานตามแผนการตรวจสอบที่สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษกำหนดด้านการเงิน บัญชี พัสดุ รวมทั้งการตรวจสอบการบริหารงานด้านอื่น ๆ ให้เป็นไปตามนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง และมติคณะรัฐมนตรี ตลอดจนการตรวจสอบการดูแลรักษาทรัพย์สิน และการใช้ทรัพยากรทุกประเภทว่าเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประเมินผลการปฏิบัติงาน และเสนอแนะวิธีการหรือมาตรการในการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้การปฏิบัติงานตามข้อ 1 เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเพื่อป้องปรามมิให้เกิดความเสียหายหรือการทุจริตรั่วไหลเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินต่าง ๆ ของทางราชการ รายงานผลการตรวจสอบเสนอต่ออธิการบดีตามระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด  ติดตามผลการตรวจสอบ เสนอแนะ และให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหารของสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อให้มีการปรับปรุงแก้ไขถูกต้องตามข้อเสนอแนะ และดำเนินการตรวจสอบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 

1.3 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยง สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ที่ 064/2565 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2565 (1.4-1(3)) โดยมีผู้บริหาร คือ รองผู้อำนวยการสำนักฯ หัวหน้าสำนักงานอำนวยการ และหัวหน้างานบริหารงานทั่วไป เพื่อทำหน้าที่ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานแผนบริหารความเสี่ยง รวมทั้งกำหนดแนวทาง ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแผนการบริหารความเสี่ยง และพิจารณาจัดการทำรายงานสรุปผลการประเมินการบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริหารสำนักอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

 

1.4 ได้เสนอร่างคำสั่ง ในคราวการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ครั้งที่ 8/2565 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2565 (1.4-1(4)) เพื่อพิจารณา 1) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับตัวบ่งชี้และจัดเก็บข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามตัวบ่งชี้ด้านการบริหารความเสี่ยง สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2565 2) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมภายใน สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2565 และ 3) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยง ระดับสำนัก ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยผ่านความเห็นชอบ และมีมติให้บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย และรายงานผลการดำเนินงานตามคำสั่ง

2มีจัดทําแผนบริหารความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง จากภายในและภายนอกหน่วยงาน ที่ครอบคลุมตามพันธกิจหรือความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทับซ้อน ของหน่วยงานอย่างน้อย 3 ด้าน ตามบริบทของหน่วยงาน

2. สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยงตามขั้นตอนดังนี้

 

2.1 มีการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ครั้งที่ 8/2565 วันที่ 5 ตุลาคม 2565 (1.4-2(1)) เพื่อหารือ ความเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยง วิเคราะห์ความเสี่ยง โอกาสและผลกระทบ ภายใน ภายนอก โดยการทบทวนผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารความเสี่ยง ปีงบประมาณ  2566 ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงจากภายในและภายนอกโดยคลอบคลุมตามพันธกิจของสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ (1.4-2(2))

3มีการประเมินโอกาส ผลกระทบของความเสี่ยง และจัดลําดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ 2 โดยระบุไว้ในแผนบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน และแผนบริหารความเสี่ยงจะต้องผ่านการอนุมัติเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน

3. สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มีการประเมินโอกาส ผลกระทบของความเสี่ยง ดังนี้

 

3.1 มีการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ครั้งที่ 8/2565 วันที่ 8 ตุลาคม 2565 (1.4-3(1)) เพื่อร่วมกันประเมินโอกาส ผลกระทบของความเสี่ยง และจัดลำดับความเสี่ยง โดยระบุไว้ในแผนบริหารความเสี่ยงสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ 2565 (1.4-3(2)) พบว่า มีประเด็นความเสี่ยง จำนวน 4 ประเด็น โดยเรียงระดับความเสี่ยงจากมากไปหาน้อยที่เกิดจากผลการประเมินโอกาส และผลกระทบ ได้ดังนี้ 1) จำนวนนักศึกษาลดน้อยลง 2) จำนวนของบัณฑิตจบใหม่ที่มีงานทำน้อย 3) จำนวนของบัณฑิตที่ทำงานตรงตามสาขาวิชามีน้อย 4) ความเชื่อมั่นของชุมชนในการบริหารจัดการด้านบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย

 

3.2 มีการประชุมคณะกรรมการประจำสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ครั้งที่ 2/2565 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 (1.4-3(4)) เพื่อพิจารณา ร่าง แผนบริหารความเสี่ยงสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีมติที่ประชุม เห็นชอบ และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงของสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการว่า ควรบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายในสำนัก เช่น ด้านกลยุทธ์ ด้านงบประมาณ ด้านกฎระเบียบ ซึ่งจะช่วยป้องกันหรือแก้ปัญหาได้ตรงจุดมากกว่า การจัดการความเสี่ยงจำนวนบัณฑิตจบใหม่ที่มีงานทำน้อย หรือ จำนวนบัณฑิตที่ทำงานตรงตามสาขามีน้อย ซึ่งเหมือนกับว่าหลักสูตรของมหาวิทยาลัยไม่มีคุณภาพ

4มีแผนการดําเนินงานหรือโครงการ/กิจกรรมในการบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูงหรือความเสี่ยง ที่หน่วยต้องเร่งดําเนินการด่วน และบอกได้ถึงวิธีการจัดการความเสี่ยงที่ทําให้ความเสี่ยงในประเด็นต่างๆ มีระดับความเสี่ยงลดลงอย่างน้อย 1 เรื่อง

4. สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มีแผนการดําเนินงานหรือโครงการ/กิจกรรมในการบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูงหรือความเสี่ยง ที่หน่วยต้องเร่งดําเนินการด่วน ดังนี้ 1) R-1 จำนวนนักศึกษาลดน้อยลง 2) R-2 จำนวนของบัณฑิตจบใหม่ที่มีงานทำน้อย 3) R-3 จำนวนของบัณฑิตที่ทำงานตรงตามสาขาวิชามีน้อย และ 4) R-4 ความเชื่อมั่นของชุมชนในการบริหารจัดการด้านบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย (1.4-4(1))

5มีการติดตามประเมินผลการดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง และรายงานผลตามระยะเวลา ที่กําหนดในรอบ 6 เดือน และรอบ 12 เดือน เสนอต่อคณะผู้บริหารได้รับทราบและพิจารณาข้อคิดเห็น หรือ ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาร่วมกัน

5. สำนักส่งเสริมและบริการวิชการ มีการติดตามประเมินผลการดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง และรายงานผลตามระยะเวลา ที่กําหนดในรอบ 6 เดือน และรอบ 12 เดือน เสนอต่อคณะผู้บริหารได้รับทราบและพิจารณาข้อคิดเห็น หรือ ข้อเสนอแนะ ดังนี้

 

5.1 มีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ 2566 ครั้งที่ 1 (1.4-5(1)) เสนอต่อคณะกรรมบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ครั้งที่ 2/2566 วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 (1.4-5(2))

 

5.2 มีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ 2566 ครั้งที่ 2 (1.4-5(3)) เสนอต่อคณะกรรมบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ครั้งที่ 3/2566 วันที่ 18 เมษายน 2566 (1.4-5(4))

และเสนอต่อคณะกรรมการประจำสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ครั้งที่ 2/2566 วันที่ 12 พฤษภาคม 2566 (1.4-5(5))

6มีการนําผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานตนเองและหน่วยตรวจสอบภายในไปใช้ในการ ปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัดไป และให้การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการดําเนินงาน ตามปกติอย่างต่อเนื่อง

6. สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ นําผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานตนเองและหน่วยตรวจสอบภายในไปใช้ในการ ปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัดไปฯ ดังนี้

 

6.1 สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการได้นำข้อเสนอแนะดังกล่าวมาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ กำหนดแนวทางการปรับปรุงพัฒนา ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย ระยะเวลาดำเนินงาน และผู้รับผิดชอบ อย่างชัดเจน โดยมีรายละเอียดดังนี้

ข้อเสนอแนะ

แนวทางการปรับปรุง

ระยะเวลา
ดำเนินการ

ผู้รับผิดชอบ

ควรศึกษาเหตุผลที่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ตัดสินใจเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อเป็นช่องทางในการแนะแนวเชิงรุกสำหรับปีการศึกษาถัดไป

1. การปรับปรุง:

( ) ปรับปรุงกระบวนการ

( ) ปรับปรุงโครงการ

( / ) ปรับปรุงแผน

2. การดำเนินงาน :

( ) ดำเนินการแล้ว

( / ) อยู่ระหว่างดำเนินการ : จัดเก็บและรวบรวมข้อมูลเพื่อสรุปรายงาน ประชุมคณะกรรมการจากบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับงานแนะแนว ประชาสัมพันธ์หลักสูตร และรับสมัครนักศึกษา

( ) ยังไม่ดำเนินการ

ปีการศึกษา 2567

งานทะเบียนและประมวลผล

 

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 5