ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 การบริหารความเสี่ยง

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ภิญญาภัทฎ์ ใสกระจ่าง , กวินวัฒน์ หิรัญบูรณะ , อนุชิต ผู้มีสัตย์ , ตรัยเทพ ศรีสุข , วันวิสา นัยเนตร
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

หน่วยงานสนับสนุนจะต้องดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุ ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดําเนินงานตามพันธกิจของ หน่วยงานและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิมหรืออยู่ในระดับที่ยอมรับสามารถควบคุมได้ เพื่อป้องกันหรือบรรเทา ความรุนแรงของปัญหา รวมทั้งการมีแผนสํารองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อให้มั่นใจว่าระบบงานต่างๆ มีความพร้อมใช้งาน มีการปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่องและทันต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบรรลุเป้าหมายของสถาบัน/หน่วยงาน ตามยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์เป็นสําคัญ

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทํางานด้านบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน โดยมีผู้บริหารสูงสุด หรือตัวแทนผู้บริหารของหน่วยงานเป็นประธานในคําสั่ง และมีบุคลากรร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทํางาน โดยมีการกําหนดบทบาทหน้าที่ และระบบกลไกหรือกระบวนการทํางานของคณะกรรมการอย่างชัดเจน
2 มีจัดทําแผนบริหารความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง จากภายในและภายนอกหน่วยงาน ที่ครอบคลุมตามพันธกิจหรือความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทับซ้อน ของหน่วยงานอย่างน้อย 3 ด้าน ตามบริบทของหน่วยงาน
3 มีการประเมินโอกาส ผลกระทบของความเสี่ยง และจัดลําดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ 2 โดยระบุไว้ในแผนบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน และแผนบริหารความเสี่ยงจะต้องผ่านการอนุมัติเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน
4 มีแผนการดําเนินงานหรือโครงการ/กิจกรรมในการบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูงหรือความเสี่ยง ที่หน่วยต้องเร่งดําเนินการด่วน และบอกได้ถึงวิธีการจัดการความเสี่ยงที่ทําให้ความเสี่ยงในประเด็นต่างๆ มีระดับความเสี่ยงลดลงอย่างน้อย 1 เรื่อง
5 มีการติดตามประเมินผลการดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง และรายงานผลตามระยะเวลา ที่กําหนดในรอบ 6 เดือน และรอบ 12 เดือน เสนอต่อคณะผู้บริหารได้รับทราบและพิจารณาข้อคิดเห็น หรือ ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาร่วมกัน
6 มีการนําผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานตนเองและหน่วยตรวจสอบภายในไปใช้ในการ ปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัดไป และให้การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการดําเนินงาน ตามปกติอย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทํางานด้านบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน โดยมีผู้บริหารสูงสุด หรือตัวแทนผู้บริหารของหน่วยงานเป็นประธานในคําสั่ง และมีบุคลากรร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทํางาน โดยมีการกําหนดบทบาทหน้าที่ และระบบกลไกหรือกระบวนการทํางานของคณะกรรมการอย่างชัดเจน

1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานด้านบริหารความเสี่ยงสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม

สถาบันภาษาศิลปะและวัฒนธรรม มีเกณฑ์ ดังนี้

มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ด้านบริหารความเสี่ยง (1.4-1(1)) ประกอบด้วยผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันฯ เป็นประธานในคำสั่ง หัวหน้าสำนักงานอำนวนการ เป็นรองประธาน คณะกรรมการสถาบันฯ และเจ้าหน้าที่ประจำสถาบันฯ ซึ่งทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการคิดวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นของสถาบันฯ และได้จัดทำเป็นแผนบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในของสถาบันฯ รวมทั้งมีการมอบหมายหน้าที่และวางระบบกลไกในการทำงานของคณะกรรมการอย่างชัดเจนเพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น  

2มีจัดทําแผนบริหารความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง จากภายในและภายนอกหน่วยงาน ที่ครอบคลุมตามพันธกิจหรือความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทับซ้อน ของหน่วยงานอย่างน้อย 3 ด้าน ตามบริบทของหน่วยงาน

2. มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงจากปัจจัยภายในและภายนอกหน่วยงานสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม

สถาบันภาษาศิลปะและวัฒนธรรม มีเกณฑ์ ดังนี้

2. มีการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่2/2564 ลงวันที่ 3 กันยายน 2564 วาระที่ 4.7 หารือ ความเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยง โอกาสและผลกระทบ ประจำปีงบประมาณ 2565 (1.4-2(1)) เพื่อ(ยกร่าง) แผนบริหารความเสี่ยง (1.4-2(2))  โดยร่วมกันวิเคราะห์ และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง โดยมีประเด็นความเสี่ยงจากภายในและภายนอกสถาบันฯ ที่ครอบคลุมตามพันธกิจหรือความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทับซ้อนของสถาบันฯ ตามแผน จำนวน 3 ประเด็น แบ่งเป็นด้านการเงิน จำนวน  1 ประเด็น ด้านการปฏิบัติงาน จำนวน 1 ประเด็น ด้านบุคลากร จำนวน 1 ประเด็น ดั้งนี้

 

ลำดับ

ประเภทความเสี่ยง

ความเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยง

1

ด้านการปฏิบัติงาน

 

บุคลากรที่รับผิดชอบงานพัสดุและจัดซื้อจัดจ้าง ยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบงานจัดซื้อจัดจ้างพัสดุภาครัฐ

ปัจจัยภายใน

-เกิดการแก้ไขจำนวนหลายครั้ง

ปัจจัยภายนอก

-กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างไม่ทัน/ล่าช้า

2

ด้านการเงิน

การยืมเงินทดรองจ่ายงบประมาณ ไม่ทันตามการจัดกิจกรรม

ปัจจัยภายใน

- ชุดเอกสารการยืมเงินทดรองจ่ายมีการแก้ไข

- ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบและคู่มือการปฏิบัติ

ปัจจัยภายนอก

- เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ทางสถาบันภาษาฯ จึงได้มีการ work from home ทำให้ประสิทธิภาพกระบวนการในการทำงานเกิดความล่าช้า

3

ด้านบุคลากร

 

ความผิดพลาดจากการปฏิบัติงานของบุคลากร

ปัจจัยภายใน

-บุคลากรยังไม่ได้รับการอบรม

ปัจจัยภายนอก

- การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายนอกยังไม่ดีเท่าที่ควร

 

3มีการประเมินโอกาส ผลกระทบของความเสี่ยง และจัดลําดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ 2 โดยระบุไว้ในแผนบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน และแผนบริหารความเสี่ยงจะต้องผ่านการอนุมัติเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน

3.การประเมินโอกาส ผลกระทบของความเสี่ยง และจัดลำดับความเสี่ยงสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม
สถาบันภาษาศิลปะและวัฒนธรรม มีเกณฑ์ ดังนี้
มีการจัดประชุมประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ 3/2564 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2564 วาระที่ 4.9 (ร่าง)แผนบริหารความเสี่ยง สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ 2565
(1.4-3(1)) เพื่อร่วมกันประเมินโอกาส ผลกระทบของความเสี่ยง และจัดลำดับความเสี่ยง โดยระบุไว้ในแผนบริหารความเสี่ยง สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม พบว่า มีประเด็นความเสี่ยงจำนวน 3 ประเด็น โดยเรียงระดับความเสี่ยงจากมากไปหาน้อยที่เกิดจากการประเมินโอกาส และผลกระทบ ดังนี้ 

 

ประเภทความเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยง

การประเมินโอกาสและผลกระทบ

ระดับความเสี่ยง(Degree

of Risk)

ลำดับความเสี่ยง

โอกาส

(Impact)

ผลกระทบ (Likelihood)

1

ด้านการปฏิบัติงาน

 

ปัจจัยภายใน

-เกิดการแก้ไขจำนวนหลายครั้ง

ปัจจัยภายนอก

-กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างไม่ทัน/ล่าช้า

4

4

16

(สูง)

1

2

ด้านการเงิน

ปัจจัยภายใน

- ชุดเอกสารการยืมเงินทดรองจ่ายมีการแก้ไข

- ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบและคู่มือการปฏิบัติ

ปัจจัยภายนอก

- เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ทางสถาบันภาษาฯ จึงได้มีการ work from home ทำให้ประสิทธิภาพกระบวนการในการทำงานเกิดความล่าช้า

2

3

6

(ปานกลาง)

2

3

ด้านบุคลากร

 

ปัจจัยภายใน

-บุคลากรยังไม่ได้รับการอบรม

ปัจจัยภายนอก

- การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายนอกยังไม่ดีเท่าที่ควร

2

3

6

(ปานกลาง)

3

                                                                                                      3.2 แผนบริหารความเสี่ยงสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม (1.4-3(2)) ผ่านความเห็นชอบคณะกรรมการประจำสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่2/2564 วันที่ 8 ธันวาคม 2564  (1.4-3(3))

4มีแผนการดําเนินงานหรือโครงการ/กิจกรรมในการบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูงหรือความเสี่ยง ที่หน่วยต้องเร่งดําเนินการด่วน และบอกได้ถึงวิธีการจัดการความเสี่ยงที่ทําให้ความเสี่ยงในประเด็นต่างๆ มีระดับความเสี่ยงลดลงอย่างน้อย 1 เรื่อง

4. มีแผนการดําเนินงานหรือโครงการ/กิจกรรมในการบริหารความเสี่ยงสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม , มีระดับความเสี่ยงลดลงอย่างน้อย 1 เรื่อง
สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มีเกณฑ์ ดังนี้
4.1 มีการประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ 1/2565 19 มกราคม 2565วาระที่ 4.8 การกำหนดกิจกรรมโครงการบริหารความเสี่ยง (1.4-4(1))  เพื่อร่วมกันกำหนดกิจกรรมโครงการในการบริหารความเสี่ยง โดยระบุไว้ในแผนบริหารความเสี่ยง (1.4-4(2)) 
4.2 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับติดตามและประเมินผลการดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงสำสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม (1.4-4(3)) เพื่อกำกับติดตามผลการดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง พบว่า มีประเด็นความเสี่ยงตามแผน จำนวน 3 ประเด็น ระดับความเสี่ยงลดลง จำนวน 1 เรื่อง ความเสี่ยงเท่าเดิม จำนวน 2 เรื่อง ระดับความ เสี่ยงสูงขึ้น จำนวน - เรื่อง ส่งผลให้ บรรลุเป้าหมาย (1.4-4(4)) ดังนี้

 

 

ความเสี่ยง

โอกาส

ผลกระทบ

ระดับความเสี่ยง

บุคลากรที่รับผิดชอบงานพัสดุและจัดซื้อจัดจ้าง ยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบงานจัดซื้อจัดจ้างพัสดุภาครัฐ

2

2

9

(ปานกลาง)

การยืมเงินทดรองจ่ายงบประมาณ ไม่ทันตามการจัดกิจกรรม

2

2

4

(ปานกลาง)

ความผิดพลาดจากการปฏิบัติงานของบุคลากร

2

3

6

(ปานกลาง)

5มีการติดตามประเมินผลการดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง และรายงานผลตามระยะเวลา ที่กําหนดในรอบ 6 เดือน และรอบ 12 เดือน เสนอต่อคณะผู้บริหารได้รับทราบและพิจารณาข้อคิดเห็น หรือ ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาร่วมกัน

5. สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มีการติดตามประเมินผลการดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงและรายงานผลตามระยะเวลา ที่กำหนดในรอบ 6 เดือนและรอบ 12 เดือน เสนอต่อคณะผู้บริหารได้รับทราบและพิจารณาข้อคิดเห็น หรือ ข้อเสนอแนะ ดังนี้ 

5.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง(1.4-5(1)) เพื่อทำหน้าที่ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงโดยได้จัดทำรายงานผลตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างน้อยปีล่ะ 2 ครั้ง

5.2 มีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง สถาบันภาษาศิลปะและวัฒนธรรม (1.4-5(2)) เสนอต่อคณะกรรมการบริหารสถาบันภาษาศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ 4/2565 วาระที่ 3.3 รายงานผลการดำเนินงาน วันที่ 11 เมษายน 2565 (1.4-5(3)) และคณะกรรมการประจำสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ 1/2565 วันที่ 11 พฤษภาคม 2565 (1.4-5(4)) รับทราบและพิจารณาให้ข้อเสนอแนะข้อคิดเห็น ดังนี้

1.ควรมีการจัดโครงการและส่งเสริมให้บุคลากรเข้าร่วมด้านการจัดการงานพัสดุและจัดซื้อจัดจ้าง อย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อทบทวนและต่อยอดจนแก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม

6มีการนําผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานตนเองและหน่วยตรวจสอบภายในไปใช้ในการ ปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัดไป และให้การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการดําเนินงาน ตามปกติอย่างต่อเนื่อง

เนื่องจาก สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564 จึงยังไม่มีการนําผลการประเมินและข้อเสนอแนะ ให้หน่วยตรวจสอบภายในรับทราบ

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 5 คะแนน