ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 การบริหารความเสี่ยง

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ปฏิกิติพัฒน์ ศรีมะณี , จันจิรา ชาติมนตรี
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

หน่วยงานสนับสนุนจะต้องดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุ ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดําเนินงานตามพันธกิจของ หน่วยงานและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิมหรืออยู่ในระดับที่ยอมรับสามารถควบคุมได้ เพื่อป้องกันหรือบรรเทา ความรุนแรงของปัญหา รวมทั้งการมีแผนสํารองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อให้มั่นใจว่าระบบงานต่างๆ มีความพร้อมใช้งาน มีการปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่องและทันต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบรรลุเป้าหมายของสถาบัน/หน่วยงาน ตามยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์เป็นสําคัญ

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทํางานด้านบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน โดยมีผู้บริหารสูงสุด หรือตัวแทนผู้บริหารของหน่วยงานเป็นประธานในคําสั่ง และมีบุคลากรร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทํางาน โดยมีการกําหนดบทบาทหน้าที่ และระบบกลไกหรือกระบวนการทํางานของคณะกรรมการอย่างชัดเจน
2 มีจัดทําแผนบริหารความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง จากภายในและภายนอกหน่วยงาน ที่ครอบคลุมตามพันธกิจหรือความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทับซ้อน ของหน่วยงานอย่างน้อย 3 ด้าน ตามบริบทของหน่วยงาน
3 มีการประเมินโอกาส ผลกระทบของความเสี่ยง และจัดลําดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ 2 โดยระบุไว้ในแผนบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน และแผนบริหารความเสี่ยงจะต้องผ่านการอนุมัติเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน
4 มีแผนการดําเนินงานหรือโครงการ/กิจกรรมในการบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูงหรือความเสี่ยง ที่หน่วยต้องเร่งดําเนินการด่วน และบอกได้ถึงวิธีการจัดการความเสี่ยงที่ทําให้ความเสี่ยงในประเด็นต่างๆ มีระดับความเสี่ยงลดลงอย่างน้อย 1 เรื่อง
5 มีการติดตามประเมินผลการดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง และรายงานผลตามระยะเวลา ที่กําหนดในรอบ 6 เดือน และรอบ 12 เดือน เสนอต่อคณะผู้บริหารได้รับทราบและพิจารณาข้อคิดเห็น หรือ ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาร่วมกัน
6 มีการนําผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานตนเองและหน่วยตรวจสอบภายในไปใช้ในการ ปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัดไป และให้การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการดําเนินงาน ตามปกติอย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทํางานด้านบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน โดยมีผู้บริหารสูงสุด หรือตัวแทนผู้บริหารของหน่วยงานเป็นประธานในคําสั่ง และมีบุคลากรร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทํางาน โดยมีการกําหนดบทบาทหน้าที่ และระบบกลไกหรือกระบวนการทํางานของคณะกรรมการอย่างชัดเจน

1. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการว่างแผนเตรียมการด้านการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ดังนี้

        1.1 สถาบันวิจัยและพัฒนา มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับตัวบ่งชี้และจัดเก็บข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามตัวบ่งชี้ด้านการบริหารความเสี่ยง สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2564 ตามคำสั่งสถาบันวิจัยและพัฒนา ที่ 008/2564 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2564 (1.4 - 1(1)) โดยมีส่วนร่วมของบุคลกร ตั้งแต่ รองอธิการบดี เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และหัวหน้าสำนักงานอำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นคณะกรรมการอำนวยการ และตัวแทนจากทุกกลุ่มงานเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษา อำนวยการ พิจารณา สั่งการ กำกับ ติดตาม ให้ความเป็น ข้อเสนอแนะ และจัดเก็บข้อมูล ปฏิบัติงานให้สอดคล้อง เป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2564

        1.2 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมภายใน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2564 ที่ 009/2564 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2564 เรื่อง (1.4-1(2)) โดยมีผู้บริหาร คือ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา หัวหน้าสำนักงานอำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา หัวหน้างานบริหารทั่วไป ทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติงานตามแผนการตรวจสอบที่สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษกำหนดด้านการเงิน บัญชี พัสดุ รวมทั้งการตรวจสอบการบริหารงานด้านอื่น ๆ ให้เป็นไปตามนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง และมติคณะรัฐมนตรี ตลอดจนการตรวจสอบการดูแลรักษาทรัพย์สิน และการใช้ทรัพยากรทุกประเภทว่าเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประเมินผลการปฏิบัติงาน และเสนอแนะวิธีการหรือมาตรการในการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้การปฏิบัติงานตามข้อ 1 เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

2มีจัดทําแผนบริหารความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง จากภายในและภายนอกหน่วยงาน ที่ครอบคลุมตามพันธกิจหรือความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทับซ้อน ของหน่วยงานอย่างน้อย 3 ด้าน ตามบริบทของหน่วยงาน

2. สถาบันวิจัยและพัฒนา มีการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยและพัฒนา ครั้งที่ 9/2564 วันที่ 29 พฤศจิกายน (1.4-2(1)) วาระที่ 5.7 (ยกร่าง) แผนบริหารความเสี่ยงสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ 2564 (1.4-2(2)) โดยร่วมกันวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงจากภายในและภายนอก ที่ครอบคลุมพันธกิจของหน่วยงานโดยมีประเด็นความเสี่ยงตามแผน จำนวน 3 ประเด็น 1. กลยุทธ์ ด้านนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ด้านการปฏิบัติงาน 2. ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ภายนอก 3. ด้านยุทธศาสตร์ จำนวน 3 ประเด็น ดังนี้

ลำดับ

ประเภทความเสี่ยง

ความเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยง

1

ด้านนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ

มาตรฐานการให้ทุนของหน่วยงานภายนอกสูงขึ้น มีหลักการในการ

ให้ทุนที่ต้องตอบโจทย์ การพัฒนาประเทศ ส่งผลให้ โอกาสในการรับทุนของนักวิจัยในมหาวิทยาลัยลดน้อยลง

ปัจจัยภายใน

บุคลากรขาดทักษะในการเขียนข้อเสนอการวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก

ปัจจัยภายนอก

แหล่งทุนวิจัยภายนอกมีเกณฑ์มาตรฐานที่สูงขึ้น ทำให้นักวิจัยเข้าไม่ถึงเกณฑ์

2

ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ภายนอก

ความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของชุมชนเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) ทำให้นักวิจัยไม่สามารถลงพื้นที่ในการทำงานวิจัยได้ ส่งผลให้ไม่สามารถทำงานวิจัยให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด

ปัจจัยภายใน

บุคลากรขาดทักษะในการวางแผนปฏิบัติการในสถานณ์การโรคติดต่อ

ปัจจัยภายนอก

สถานการณ์ การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19

3

ด้านยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์

ผลงานวิจัยขาดการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม จากหน่วยงานภายนอก

ปัจจัยภายใน

ขาดการส่งเสริมสนับสนุนการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

ปัจจัยภายนอก

ขาดเครือข่ายการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

 

3มีการประเมินโอกาส ผลกระทบของความเสี่ยง และจัดลําดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ 2 โดยระบุไว้ในแผนบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน และแผนบริหารความเสี่ยงจะต้องผ่านการอนุมัติเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน

3.การประเมินโอกาส ผลกระทบของความเสี่ยง และจัดลำดับความเสี่ยงสถาบันวิจัยและพัฒนา โดยมีเกณฑ์ ดังนี้
    3.1 มีการจัดประชุมประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยและพัฒนา ครั้งที่ 2/2565 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 วาระที่ 5.3 (ร่าง) แผนบริหารความเสี่ยง สถาบันวิจัยและพัฒนา ประจำปีงบประมาณ 2565
(1.4-3(1)) เพื่อร่วมกันประเมินโอกาส ผลกระทบของความเสี่ยง และจัดลำดับความเสี่ยง โดยระบุไว้ในแผนบริหารความเสี่ยง สถาบันวิจัยและพัฒนา พบว่า มีประเด็นความเสี่ยงจำนวน 3 ประเด็น จากการประเมินโอกาส และผลกระทบ ดังนี้ 

ที่

ประเภทความเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยง

การประเมินโอกาสและผลกระทบ

ระดับความเสี่ยง (Degreeof Risk)

ลำดับความเสี่ยง

โอกาส

(Impact)

ผลกระทบ (Likelihood)

1

ด้านนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ

มาตรฐานการให้ทุนของหน่วยงานภายนอกสูงขึ้น มีหลักการในการให้ทุน

ที่ต้องตอบโจทย์ การพัฒนาประเทศ ส่งผลให้ โอกาสในการรับทุนของนักวิจัยในมหาวิทยาลัยลดน้อยลง

4

4

16

(สูงมาก)

1

2

ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ภายนอก

ความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของชุมชนเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) ทำให้นักวิจัยไม่สามารถลงพื้นที่ในการทำงานวิจัยได้ ส่งผลให้ไม่สามารถทำงานวิจัยให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด

4

3

12

(สูง)

2

3

ด้านยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์

ผลงานวิจัยขาดการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม จากหน่วยงานภายนอก

4

4

16

(สูงมาก)

2

 

3.2 แผนบริหารความเสี่ยงสถาบันวิจัยและพัฒนา (1.4-3(2)) ผ่านความเห็นชอบคณะกรรมการประจำสถาบันวิจัยและพัฒนาครั้งที่ 1/2565 วันที่ 13 มิถุนายน 2565 (1.4-3(3)) วาระที่ 5.3 แผนบริหารความเสี่ยงสถาบันวิจัยและพัฒนา ประจำปี ๒๕๖๕

4มีแผนการดําเนินงานหรือโครงการ/กิจกรรมในการบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูงหรือความเสี่ยง ที่หน่วยต้องเร่งดําเนินการด่วน และบอกได้ถึงวิธีการจัดการความเสี่ยงที่ทําให้ความเสี่ยงในประเด็นต่างๆ มีระดับความเสี่ยงลดลงอย่างน้อย 1 เรื่อง

4. มีแผนการดําเนินงานหรือโครงการ/กิจกรรมในการบริหารความเสี่ยงสถาบันวิจัยและพัฒนา มีระดับความเสี่ยงลดลง จำนวน 3 เรื่อง
สถาบันวิจัยและพัฒนา มีเกณฑ์ ดังนี้
4.1 มีการประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยและพัฒนา ครั้งที่ 4/2565 4 เมษายน 2565 วาระที่ 5.9 การกำหนดโครงการ/กิจกรรมบริหารความเสี่ยงสถาบันวิจัยและพัฒนา  
(
1.4-4(1)) เพื่อร่วมกันกำหนดกิจกรรมโครงการในการบริหารความเสี่ยง โดยระบุไว้ในแผนบริหารความเสี่ยง (1.4-4(2)) 
4.2 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับติดตามและประเมินผลการดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงสำสถาบันวิจัยและพัฒนา (1.4-4(3)) เพื่อกำกับติดตามผลการดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง พบว่า มีประเด็นความเสี่ยงตามแผน จำนวน 3 ประเด็น ระดับความเสี่ยงลดลง จำนวน 3 เรื่อง ความเสี่ยงเท่าเดิม จำนวน - เรื่อง ระดับความ เสี่ยงสูงขึ้น จำนวน - เรื่อง ส่งผลให้ บรรลุเป้าหมาย (1.4-4(4)) ดังนี้

ความเสี่ยง

โอกาส

ผลกระทบ

ระดับความเสี่ยง

มาตรฐานการให้ทุนของหน่วยงานภายนอกสูงขึ้น มีหลักการในการให้ทุน

ที่ต้องตอบโจทย์ การพัฒนาประเทศ ส่งผลให้ โอกาสในการรับทุนของนักวิจัยในมหาวิทยาลัยลดน้อยลง

3

3

9

(ปานกลาง)

 

ความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของชุมชนเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) ทำให้นักวิจัยไม่สามารถลงพื้นที่ในการทำงานวิจัยได้ ส่งผลให้ไม่สามารถทำงานวิจัยให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด

3

2

6

(ปานกลาง)

 

ผลงานวิจัยขาดการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม จากหน่วยงานภายนอก

3

3

9

(ปานกลาง)

 

5มีการติดตามประเมินผลการดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง และรายงานผลตามระยะเวลา ที่กําหนดในรอบ 6 เดือน และรอบ 12 เดือน เสนอต่อคณะผู้บริหารได้รับทราบและพิจารณาข้อคิดเห็น หรือ ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาร่วมกัน

5. สถาบันวิจัยและพัฒนา มีการติดตามประเมินผลการดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงและรายงานผลตามระยะเวลา ที่กำหนดในรอบ 6 เดือน และรอบ 12 เดือน เสนอต่อคณะกรรมการกำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงได้รับทราบและพิจารณาข้อคิดเห็น หรือ ข้อเสนอแนะ ดังนี้ 

     5.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมภายใน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัย  ราชภัฏศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2564 (1.4-5(1)) เพื่อทำหน้าที่ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงโดยได้จัดทำรายงานผลตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างน้อยปีล่ะ 2 ครั้ง

     5.2 มีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง สถาบันวิจัยและพัฒนา (1.4-5(2)) เสนอต่อคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยและพัฒนา ครั้งที่ 5/2565 วาระที่ 5.8 รายงานผลการดำเนินงาน วันที่ 31 พฤษภาคม 2565 (1.4-5(3)) และคณะกรรมการประจำสถาบันวิจัยและพัฒนา ครั้งที่ 1/2565 วันที่ 13 มิถุนายน 2565 (1.4-5(4)) วาระที่ 5.4 รับทราบ

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 4