ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 การบริหารความเสี่ยง

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : เริงใจ เขียวอ่อน , สุกัญญา ไชยพิมพ์
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

หน่วยงานสนับสนุนจะต้องดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุ ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดําเนินงานตามพันธกิจของ หน่วยงานและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิมหรืออยู่ในระดับที่ยอมรับสามารถควบคุมได้ เพื่อป้องกันหรือบรรเทา ความรุนแรงของปัญหา รวมทั้งการมีแผนสํารองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อให้มั่นใจว่าระบบงานต่างๆ มีความพร้อมใช้งาน มีการปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่องและทันต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบรรลุเป้าหมายของสถาบัน/หน่วยงาน ตามยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์เป็นสําคัญ

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทํางานด้านบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน โดยมีผู้บริหารสูงสุด หรือตัวแทนผู้บริหารของหน่วยงานเป็นประธานในคําสั่ง และมีบุคลากรร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทํางาน โดยมีการกําหนดบทบาทหน้าที่ และระบบกลไกหรือกระบวนการทํางานของคณะกรรมการอย่างชัดเจน
2 มีจัดทําแผนบริหารความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง จากภายในและภายนอกหน่วยงาน ที่ครอบคลุมตามพันธกิจหรือความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทับซ้อน ของหน่วยงานอย่างน้อย 3 ด้าน ตามบริบทของหน่วยงาน
3 มีการประเมินโอกาส ผลกระทบของความเสี่ยง และจัดลําดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ 2 โดยระบุไว้ในแผนบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน และแผนบริหารความเสี่ยงจะต้องผ่านการอนุมัติเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน
4 มีแผนการดําเนินงานหรือโครงการ/กิจกรรมในการบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูงหรือความเสี่ยง ที่หน่วยต้องเร่งดําเนินการด่วน และบอกได้ถึงวิธีการจัดการความเสี่ยงที่ทําให้ความเสี่ยงในประเด็นต่างๆ มีระดับความเสี่ยงลดลงอย่างน้อย 1 เรื่อง
5 มีการติดตามประเมินผลการดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง และรายงานผลตามระยะเวลา ที่กําหนดในรอบ 6 เดือน และรอบ 12 เดือน เสนอต่อคณะผู้บริหารได้รับทราบและพิจารณาข้อคิดเห็น หรือ ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาร่วมกัน
6 มีการนําผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานตนเองและหน่วยตรวจสอบภายในไปใช้ในการ ปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัดไป และให้การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการดําเนินงาน ตามปกติอย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทํางานด้านบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน โดยมีผู้บริหารสูงสุด หรือตัวแทนผู้บริหารของหน่วยงานเป็นประธานในคําสั่ง และมีบุคลากรร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทํางาน โดยมีการกําหนดบทบาทหน้าที่ และระบบกลไกหรือกระบวนการทํางานของคณะกรรมการอย่างชัดเจน

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยง (1.4 – 1 (1)) โดยมีผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นประธานในคำสั่ง และมีบุคลากรร่วมเป็นคณะกรรมการและคณะกรรมการทำงานตามพันธกิจความเสี่ยง ภายในคำสั่งมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ ตามภารกิจความเสี่ยง ดังนี้ 1. จัดทําระบบและกลไกการบริหารความเสี่ยงภายในของสํานัก 2. จัดทําแผนการบริหารความเสี่ยงของสํานัก 3. จัดทําปฏิทินความเสี่ยงของสํานัก 4.จัดกิจกรรมหรือโครงการความเสี่ยงของสํานัก และ 5.จัดทํารายงานผลการดําเนินงานความเสี่ยง

2มีจัดทําแผนบริหารความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง จากภายในและภายนอกหน่วยงาน ที่ครอบคลุมตามพันธกิจหรือความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทับซ้อน ของหน่วยงานอย่างน้อย 3 ด้าน ตามบริบทของหน่วยงาน

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ    มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง มีการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำความเสี่ยงของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (1.4 – 2 (1)) โดยบุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง จากภายในและภายนอกหน่วยงาน ที่ครอบคลุมพันธกิจของหน่วยงาน โดยมีประเด็นความเสี่ยง จํานวน 3 ประเด็น ได้แก่ 1. ความเสี่ยงสถานการณ์ COVID-19 มีผลต่อการจัดสอบสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล  2. ขาดกระบวนการดำเนินการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ  และประเด็นความเสี่ยง และ 3. แนวทางปฏิบัติการเข้าสู่ตำแหน่งไม่ชัดเจนและบุคลากรขาดทักษะในการเขียนขอเข้าสู่ตำแหน่ง  (1.4 – 2 (2))   

3มีการประเมินโอกาส ผลกระทบของความเสี่ยง และจัดลําดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ 2 โดยระบุไว้ในแผนบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน และแผนบริหารความเสี่ยงจะต้องผ่านการอนุมัติเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน

มีการประเมินโอกาสผลกระทบของความเสี่ยง และจัดลำดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ ในข้อ 2 โดยระบุไว้ในแผนบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน และได้นำแผนบริหารความเสี่ยงประจำปี 2564 (1.4 – 3 (1))   ผ่านความเห็นชอบตามมติที่ประชุมคณะกรรมการประจำหน่วยงาน ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันอังคารที่ 14 ธันวาคม 2564 ณ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารบรรณราชนครินทร์ (1.4 – 3 (2))

4มีแผนการดําเนินงานหรือโครงการ/กิจกรรมในการบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูงหรือความเสี่ยง ที่หน่วยต้องเร่งดําเนินการด่วน และบอกได้ถึงวิธีการจัดการความเสี่ยงที่ทําให้ความเสี่ยงในประเด็นต่างๆ มีระดับความเสี่ยงลดลงอย่างน้อย 1 เรื่อง

มีการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักวิทยบริการฯ ครั้งที่  8/2564 เมื่อวันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม 2564  (1.4 –4 (1)) เพื่อร่วมกันกําหนดกิจกรรมโครงการในการบริหารความเสี่ยง โดยระบุไว้ในแผนบริหารความเสี่ยง สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (1.4 –4 (2)) มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกํากับติดตามและประเมินผลการดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง (1.4 –4 (3)) เพื่อกํากับติดตามผลการ ดําเนินงานตามแผนฯ พบว่า มีประเด็นความเสี่ยงตามแผน จํานวน 3 ประเด็น ระดับความเสี่ยงลดลง จํานวน 1 เรื่อง คือประเด็นความเสี่ยงสถานการณ์ COVID-19 มีผลต่อการจัดสอบสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล  และความเสี่ยงเท่าเดิม จํานวน  2  เรื่อง คือ ประเด็นความเสี่ยง ขาดกระบวนการดำเนินการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ  และประเด็นความเสี่ยง และแนวทางปฏิบัติการเข้าสู่ตำแหน่งไม่ชัดเจนและบุคลากรขาดทักษะในการเขียนขอเข้าสู่ตำแหน่ง  หลังจากนั้นได้จัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง (1.4-4(4)) เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักวิทยบริการฯ ครั้งที่ 4/2565 ในวันจันทร์ที่ 28 มีนาคม 2565 (1.4-4(5)) เพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะ

5มีการติดตามประเมินผลการดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง และรายงานผลตามระยะเวลา ที่กําหนดในรอบ 6 เดือน และรอบ 12 เดือน เสนอต่อคณะผู้บริหารได้รับทราบและพิจารณาข้อคิดเห็น หรือ ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาร่วมกัน

มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกํากับติดตามและประเมินผลการดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงสำนักวิทยบริการฯ (1.4 –5 (1)) เพื่อทําหน้าที่กำกับติดตามงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง โดยมีคณะกรรมการดำเนินงานฯ (1.4 –5 (2)) ทำหน้าที่ขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนบริหารความเสี่ยง (1.4 –5 (3)) เพื่อรายงานผลการดำเนินงานความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริหารสำนักวิทยบริการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2565 ในวันจันทร์ที่ 28 มีนาคม 2565 (1.4 –5 (4)) เพื่อรับทราบและพิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนา โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้

    1) การสร้างฟอร์ม (MIS ของสำนักวิทยบริการฯ ) เพื่อเป็นจุดรวบรวมข่าวสาร เพื่อแจ้งข่าวสารประชาสัมพันธ์  ให้แจ้งบุคลากรทุกคนในสำนัก ส่งข้อมูลข่าวสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ผ่าน ฟอร์มการแจ้งข่าว ที่ทำใน google from เพื่อให้ประชาสัมพันธ์จะได้ทราบเหตุการณ์ข่าวสารในสำนักเพื่อนำไปประชาสัมพันธ์ต่อไปได้

2) ให้รีบดำเนินการจัดอบรมการส่งเสริมการยื่นขอตำแหน่งที่สูงขึ้น (ประเภทสายสนับสนุน) ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนเมษายน 2565

และรายงานผลการกำกับติดตามการดำเนินงานความเสี่ยงอีกครั้ง 3 (1.4-5(5) เสนอต่อคณะกรรมการบริหารสำนักวิทยบริการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2565 (1.4 –5 (6)) ในวันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2565 เวลา 13.30 น. ความเสี่ยง 2 ประเด็น ได้มีการดำเนินการ ดังนี้

  1. แบบฟอร์มประชาสัมพันธ์ที่สร้างขึ้น ยังไม่มีความเคลื่อนไหวในการส่งข่าว
  2. เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2565 เวลา 09.00 น. – 16.00 น. มีการจัดอบรมการส่งเสริมการยื่นขอตำแหน่งที่สูงขึ้น (ประเภทสายสนับสนุน) ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 4 คะแนน
5 5