ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : พรเทพ เจิมขุนทด , โพธิ์พงศ์ ฉัตรนันทภรณ์ , วีระชาติ ดวงมาลา , รุ่งทิวา เนื้อนา , นิลวรรณ จันทา , ทินกร กมล , ปวริศา แดงงาม , นงนุช แสงพฤกษ์ , ทิวาพร ใจก้อน
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

มหาวิทยาลัยควรจัดบริการด้านต่างๆ ให้นักศึกษาอย่างครบถ้วนตั้งแต่การให้คำปรึกษา ทั้งด้านวิชาการและการใช้ชีวิต จัดบริการข้อมูลหน่วยงานที่ให้บริการ เช่น ทุนกู้ยืมการศึกษา แหล่งทุนการศึกษาต่อ การบริการจัดหางาน แหล่งข้อมูลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษา ข้อมูลข่าวสาร ความเคลื่อนไหวในและนอกสถาบันที่จำเป็นแก่นักศึกษาและศิษย์เก่า

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 จัดบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการ และการใช้ชีวิตแก่นักศึกษาในคณะ
2 มีการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการ กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา
3 จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา
4 ประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการในข้อ 1-3 ทุกข้อไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5
5 นำผลการประเมินจากข้อ 4 มาปรับปรุงพัฒนาการให้บริการและการให้ข้อมูล เพื่อส่งให้ผลการประเมินสูงขึ้นหรือเป็นไปตามความคาดหวังของนักศึกษา
6 ให้ข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพแก่ศิษย์เก่า
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 จัดบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการ และการใช้ชีวิตแก่นักศึกษาในคณะ

  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้มีการดำเนินการในการจัดให้มีการบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการ การใช้ชีวิตทุนการศึกษา แหล่งงาน กิจกรรมและสิทธิประโยชน์ที่นักศึกษาพึงได้รับแก่นักศึกษาภายในคณะ โดยมีการดำเนินงานดังต่อไปนี้

         1. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์กำหนดให้อาจารย์ในสาขาวิชา ได้ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาทุกคน  โดยในปีการศึกษา 2563 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้จัดทำคำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาให้แก่นักศึกษา (อ้างอิง 1.4-1(1) คำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษา-ภาคปกติ 1-2563 1.4-1(2) คำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษา-ภาคปกติ 2-2563 และ1.4-1(3) คำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาและบุคลากรให้คำปรึกษาในงานกิจการนักศึกษา 2563) เพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาได้ทำหน้าที่ในการดูแลรับผิดชอบนักศึกษาในเรื่องต่าง ๆ เช่น การเรียนการสอน การวางแผนการลงทะเบียนเรียน และการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย ทุนการศึกษา แหล่งงาน กิจกรรมและสิทธิประโยชน์ที่นักศึกษาพึงได้รับ เป็นต้น ทั้งนี้อาจารย์ที่ปรึกษาที่ได้รับคำสั่งมอบหมายต้องทำหน้าที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาตั้งแต่นักศึกษาแรกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยจนสำเร็จการศึกษา

         2. อาจารย์ผู้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษากำหนดสถานที่และเวลาให้คำปรึกษา นักศึกษาเข้าพบอาจารย์ตามสถานที่และเวลาที่กำหนด เพื่อขยายช่องทางให้คำปรึกษาอีกช่องทางหนึ่ง งานกิจการนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้กำหนดให้ใช้ห้องสโมสรนักศึกษาเป็นห้องให้คำปรึกษา โดยกำหนดเวลา 12.00 – 13.00 น. และ 15.30 – 16.00 น. ของทุก ๆ วันเป็นเวลาให้คำปรึกษา (อ้างอิง1.4-1(4) บันทึกส่งตารางการให้คำปรึกษา 1.4-1(5) สรุปรายชื่อการส่งตารางการให้คำปรึกษาประจำภาคเรียนที่ 1/2563 1.4 - 1(6) สรุปรายชื่อการส่งตารางการให้คำปรึกษาประจำภาคเรียนที่ 2/2563 และ 1.4-1(7) รายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และหมายเลขโทรศัพท์) โดยมีอาจารย์โพธิ์พงศ์ ฉัตรนันทภรณ์ ผู้ช่วยคณบดีงานพัฒนานักศึกษา อาจารย์วีระชาติ ดวงมาลา หัวหน้างานพัฒนานักศึกษา และสิบเอกรุ่งทิวา เนื้อนา เจ้าหน้าที่งานพัฒนานักศึกษา รวมถึงอาจารย์ที่เป็นกรรมการงานพัฒนานักศึกษาและสโมสรนักศึกษาเป็นผู้ให้คำปรึกษา

            3. งานพัฒนานักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้มีการจัดทำคู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา (อ้างอิง (อ้างอิง1.4-1(8) คู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา) และเมื่อนักศึกษามารับคำปรึกษา ผู้ให้คำปรึกษาต้องจดบันทึการให้คำปรึกษาเรื่องที่นักศึกษานำมาปรึกษาและสรุปรายงานผลการให้คำปรึกษาส่งทุกภาคการศึกษา (อ้างอิง 1.4-1(9) บันทึกการให้คำปรึกษา)

        จากการวางแผนการให้คำปรึกษาของงานกิจการนักศึกษาในหลายปีที่ผ่านมาพบว่า การวางแผนการให้คำปรึกษาจะกำหนดให้อาจารย์ในแต่ละสาขาเป็นผู้ควบคุมดูแลและให้คำปรึกษาในด้านต่าง ๆ ซึ่งยังไม่ตอบสนองต่อความต้องการของนักศึกษามากนัก เนื่องจากบางเรื่องอาจารย์ในแต่ละสาขาไม่สามารถให้คำปรึกษาได้ เช่น กิจกรรมในคณะและกิจกรรมในมหาวิทยาลัย ส่งผลให้นักศึกษาจำนวนหนึ่งตกกิจกรรม และต้องตามเก็บกิจกรรมก่อนจบการศึกษา แต่ในปีการศึกษา 2563 งานกิจการนักศึกษาได้ขยายช่องทางการให้คำปรึกษาในเรื่องของกิจกรรมต่าง ๆ โดยตรง โดยกำหนดให้ใช้ห้องสโมสรนักศึกษาเป็นที่ให้คำปรึกษา ทำให้นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และในปีการศึกษา 2563 ได้มีการเปิดเพจFacebook PR สโมสรนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการติดต่อสื่อสาร ร่วมทั้งเป็นการเพิ่มช่องทางติดต่อสื่อสารและประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่าง ๆ ให้กับนักศึกษา

       จากการให้คำปรึกษาปีการศึกษา 2563 พบว่า มีนักศึกษาบางส่วนไม่กล้าปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาหรืออาจารย์ในส่วนงานกิจการนักศึกษาในบางเรื่อง งานกิจการนักศึกษาจึงมีการประชุมและมีมติให้เพิ่มช่องทางการให้คำปรึกษา โดยกำหนดให้นักศึกษาในสโมสรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ชั้นปีที่ 4 ที่มีผลการเรียนดี กิจกรรมเด่นเป็นผู้ให้คำปรึกษา โดยกำหนดให้เข้ารับคำปรึกษาที่ห้องสโมสรนักศึกษา ในเวลา 17.00 – 17.30 น. ของทุก ๆ วัน

2 มีการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการ กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีการจัดบริการข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา โดยใช้สื่อออนไลน์ทันสมัย มีการให้บริการข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ข่าวสารด้านทุนการศึกษา ข่าวกิจกรรมต่าง ๆ ของคณะและหน่วยงานอื่น ๆ ข่าวการรับสมัครงานทั้งแบบเต็มเวลาและแบบพาร์ทไทม์ ข่าวสารด้านวิชาการ เป็นต้น โดยมีการประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ของคณะ (อ้างอิง 1.4 - 2(1) เว็บไซต์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 1.4-2(2) เพจคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 1.4.2(3) กลุ่มคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 1.4-2(4) บอร์ดประชาสัมพันธ์ และ 1.4-2(5) จุลสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และแผ่นพับแนะนำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)

ตลอดจนมีการจัดส่งข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษาไปยังอาจารย์ในแต่ละสาขาเพื่อเพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์ ทำให้นักศึกษาเข้าถึงข้อมูลข้อสารได้สะดวกและรวดเร็ว อีกทั้งนักศึกษายังสามารถติดต่อสื่อสารโต้ตอบได้รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ และมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นผ่านบอร์ดประชาสัมพันธ์ได้อีกด้วย (อ้างอิง 1.4-2(6) แหล่งงาน HUSO 2563)

สำหรับการจัดการเรียนการสอนหรือกิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นจริง และเพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจนอกเหนือจากการเรียนการสอนภายในห้องเรียน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้สนับสนุนการจัดกิจกรรมพิเศษนอกห้องเรียน ดังนี้

      1. โครงการอบรมการเขียนหนังสือราชการ (1.4-2(7) รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมการเขียนหนังสือราชการ)

      2. โครงการอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการเขียนเรซูเม่และการสัมภาษณ์งาน (1.4-2(8) รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการเขียนเรซูเม่และการสัมภาษณ์งาน)

      3. โครงการอบรมและสอบวัดสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล (1.4–2(9) รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมและสอบวัดสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล)

       4. โครงการพัฒนาบุคลิกภาพและปฐมนิเทศนักศึกษาก่อนออกฝึกประสบการณ์ (อ้างอิง 1.4–2(10) โครงการพัฒนาบุคลิกภาพและปฐมนิเทศนักศึกษาก่อนออกฝึกประสบการณ์)

        5. โครงการบริการวิชาการติวเข้มสอบภาค ก. (กพ.) (อ้างอิง 1.4–2(11) รายงานผลการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการติวเข้มสอบภาค ก. (กพ.)

        6. โครงการอบรมการทำวิจัยเบื้องต้น (อ้างอิง 1.4–2(12) รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมการทำวิจัยเบื้องต้น)

3 จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา

         ในปีการศึกษา 2563 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้สนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา เช่น

         1. โครงการบริการวิชาการติวเข้มสอบภาค ก. (กพ.) (อ้างอิง 1.4–3(1) รายงานผลการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการติวเข้มสอบภาค ก. (กพ.)

        2. โครงการพัฒนาบุคลิกภาพและปฐมนิเทศนักศึกษาก่อนออกฝึกประสบการณ์ (อ้างอิง 1.4–3(2) โครงการพัฒนาบุคลิกภาพและปฐมนิเทศนักศึกษาก่อนออกฝึกประสบการณ์)

        3. โครงการอบรมการทำวิจัยเบื้องต้น (อ้างอิง 1.4–3(3) รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมการทำวิจัยเบื้องต้น)

        4. โครงการอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการเขียนเรซูเม่และการสัมภาษณ์งาน (อ้างอิง 1.4 – 2(4) รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการเขียนเรซูเม่และการสัมภาษณ์งาน)

        5. โครงการอบรมและทดสอบดิจิทัล (อ้างอิง 1.4-3(5) รายงานผลการดำเนินงานโครงการโครงการอบรมและทดสอบดิจิทัล)

 6. โครงการอบรมการเขียนหนังสือราชการ (1.4-3(6) รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมการเขียนหนังสือราชการ)

             วัตถุประสงค์หลักในการจัดโครงการต่าง ๆ ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาพัฒนาสมรรถภาพทางด้านต่าง ๆ ที่พร้อมจะก้าวเข้าสู่สถานประกอบการ และเป็นการเพิ่มโอกาสในการสมัครเข้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

4 ประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการในข้อ 1-3 ทุกข้อไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5

            คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีการประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการในข้อ 1-3 ทุกข้อ โดยคณะได้กำหนดให้ใช้แบบประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปี 2563 (อ้างอิง 1.4-4(1) รายงานผลการประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมนักศึกษา ปีการศึกษา 2563) ซึ่งประเมินผ่านระบบออนไลน์ภายใต้การกำกับดูแลของงานกิจการนักศึกษา โดยผลการประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปี 2563 สรุปผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.37 อยู่ในระดับมาก แบ่งตามหัวข้อย่อยได้ดังต่อไปนี้

            1. จัดบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการและการใช้ชีวิตแก่นักศึกษาในคณะ มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.38 อยู่ในระดับมาก

            2. มีการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการ กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.35 อยู่ในระดับมาก

           3. จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.40 อยู่ในระดับมาก

           สรุปผลการประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการทั้ง 3 ข้อ รวมกันเป็นไปตามเกณฑ์ที่ สกอ. กำหนด

5 นำผลการประเมินจากข้อ 4 มาปรับปรุงพัฒนาการให้บริการและการให้ข้อมูล เพื่อส่งให้ผลการประเมินสูงขึ้นหรือเป็นไปตามความคาดหวังของนักศึกษา

        งานพัฒนานักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้นำผลการประเมินการจัดกิจกรรมบริการนักศึกษา (อ้างอิง 1.4-5(1) รายงานผลการประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมนักศึกษา ปีการศึกษา 2563 (อ้างอิง 1.4–5(1) เข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ เพื่อให้รับทราบและนำผลการประเมิน ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 หน้าที่ 24-25 (อ้างอิง1.4–5(2) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 1/2564 หน้าที่ 24-25) ดังกล่าวแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการให้บริการต่อไป โดยในที่ประชุมได้เสนอและลงมติเห็นชอบว่า ควรเพิ่มกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานได้จริง กิจกรรมทีเกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษและดิจิทัล เป็นต้น ซึ่งข้อเสนอแนะดังกล่าวทางงานพัฒนานักศึกษาจะจัดลงแผนในโครงการพัฒนานักศึกษาในปี 2564 ต่อไป

6 ให้ข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพแก่ศิษย์เก่า

           คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีการจัดบริการข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เช่น การรับสมัครงาน ทุนการศึกษา ทุนวิจัย ข่าวสารการสอบข้าราชการ  ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อศิษย์เก่าอย่างมาก  โดยผ่านเว็บไซต์ สื่อสังคมออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ศิษย์เก่าคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (อ้างอิง 1.4-6(1) เว็บไซต์ศิษย์เก่าคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ 1.4-6(2) เฟสบุ๊คศิษย์เก่าคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วารสารมุมศิษย์เก่าช่องทางให้ศิษย์เก่าเพื่อที่จะให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงกิจกรรม (อ้างอิง 1.4-6(3) จุลสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และแผ่นพับแนะนำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (มุมศิษย์เก่า) กลุ่ม Line ศิษย์เก่ามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (อ้างอิง 1.4-6(4) กลุ่ม Line ศิษย์เก่ามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)

        ทั้งนี้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ยังได้จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้และประสบการณ์ให้กับศิษย์เก่าและบุคคลทั่วไป รวมทั้งศิษย์ปัจจุบันที่ให้ความสนใจ โดยมีการประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เฟสบุ๊คสาขาต่าง ๆ เช่น

       1. โครงการบริการวิชาการติวเข้มสอบภาค ก. (กพ.) (อ้างอิง 1.4 - 6(5) รายงานผลการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการติวเข้มสอบภาค ก. (ก.พ.)

       นอกจากการจัดกิจกรรมให้ศิษย์เก่าแล้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ยังจัดกิจกรรมเพื่อให้ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันได้รู้จักกันและเป็นการสร้างเครือข่ายนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผ่านโครงการ “เสวนาศิษย์เก่าเล่าเรื่อง” (อ้างอิง 1.4-6(6) รายงานผลการดำเนินงานโครงการ “เสวนาศิษย์เก่าเล่าเรื่อง”) ซึ่งเป็นโครงการที่จัดขึ้นเพื่อให้ศิษย์เก่าเล่าประสบการณ์ในด้านด้านๆ อาทิเช่น การเรียน การทำงาน การสมัครงาน การเตรียมความพร้อมในการสอบราชการ เป็นต้นให้กับศิษย์ปัจจุบันฟัง และยังมีช่องทางการประชาสัมพันธ์งานให้แก่ศิษย์เก่าทางสื่อสังคมออนไลน์ (อ้างอิง 1.4-6(7) แหล่งงาน HUSO 2563)

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 5