ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : เพ็ญพักตร์ สุมณฑา , ลัดดาวัลย์ สมจิตร , สาคร ผมพันธ์ , จักรชัย อินธิเดช , มานะศักดิ์ หงษ์คำชัย , สุชาติ ศรีชื่น , วัชรา ทองวิเศษ
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

มหาวิทยาลัยควรจัดบริการด้านต่างๆ ให้นักศึกษาอย่างครบถ้วนตั้งแต่การให้คำปรึกษา ทั้งด้านวิชาการและการใช้ชีวิต จัดบริการข้อมูลหน่วยงานที่ให้บริการ เช่น ทุนกู้ยืมการศึกษา แหล่งทุนการศึกษาต่อการบริการจัดหางาน แหล่งข้อมูลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษา ข้อมูลข่าวสาร ความเคลื่อนไหวในและนอกมหาวิทยาลัยที่จำเป็นแก่นักศึกษาและศิษย์เก่า

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 จัดบริการให้คำปรึกษา แนะแนวด้านการใช้ชีวิต และการเข้าสู่อาชีพแก่นักศึกษาในสถาบัน
2 มีการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการกิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา
3 จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา
4 ประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการในข้อ 1-3 ทุกข้อไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5
5 นำผลการประเมินจากข้อ 4 มาปรับปรุงพัฒนาการให้บริการและการให้ข้อมูล เพื่อส่งให้ผลการประเมินสูงขึ้นหรือเป็นไปตามความคาดหวังของนักศึกษา
6 ให้ข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ศิษย์เก่า
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1จัดบริการให้คำปรึกษา แนะแนวด้านการใช้ชีวิต และการเข้าสู่อาชีพแก่นักศึกษาในสถาบัน

มหาวิทยาลัย มีการจัดบริการสำหรับนักศึกษา ทั้งด้านการให้คำปรึกษา แนะแนวทางด้านการใช้ชีวิต และการเข้าสู่อาชีพแก่นักศึกษา โดยมีงานพัฒนานักศึกษา เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบและมีการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ และเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษา เพื่อเข้าสู่อาชีพต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ดังนี้

1. การจัดบริการให้คำปรึกษา
           มีการจัดบริการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา โดยมีอาจารย์ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาและการให้คำปรึกษาโดยตรงทำหน้าที่คอยให้คำปรึกษา เพื่อช่วยสร้างความอบอุ่น ความมั่นใจ สามารถตัดสินใจ และเลือกแนวทางการใช้ชีวิตได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ทั้งเรื่องปัญหาส่วนตัว ด้านการเรียน เพื่อช่วยผ่อนคลายความเครียด และช่วยแก้ปัญหาให้กับนักศึกษา ผู้ปกครองนักศึกษา มีการจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษา  (1.4 - 1(1)) ตั้งอยู่ที่ ชั้น 2 อาคารสำนักงานหอพักนักศึกษา โดยนักศึกษาสามารถเข้ามาพบตามตารางที่ศูนย์ให้คำปรึกษากำหนด ในปีการศึกษา 2563 (1.4 - 1(2)) มีนักศึกษามารับบริการที่ศูนย์ให้คำปรึกษา จำนวน  23  ราย และให้บริการทางโทรศัพท์ Facebook และ Line จำนวน  97  ราย รวมทั้งสิ้น  120  ราย นักศึกษาส่วนมากไม่กล้าเข้ามาคุยที่ศูนย์ให้คำปรึกษา จึงให้คำแนะนำผ่านช่องทางที่นักศึกษาสะดวก โดยขอรับคำปรึกษาด้วยการโทรศัพท์และการส่งข้อความผ่านช่องทางออนไลน์ คือ Facebook และ Line ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่พบจะเกี่ยวข้องกับการเรียนและการปรับตัวโดยเฉพาะกับนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 ปัญหาการปรับตัวกับอาจารย์ผู้สอน และปัญหาในการปรับตัวกับเพื่อนร่วมชั้น เพื่อนร่วมหอพัก  โดยสรุปการบริการให้คำปรึกษา ดังนี้ (1.4 - 1(3))

    1.1 นักศึกษามีปัญหาด้านการเรียนและส่วนตัว    จำนวน  37  ราย
          ระบุปัญหาที่พบ 
              - การเรียนไม่เข้าใจ ปรับตัวไม่ได้
              - ปรับตัวไม่ได้กับอาจารย์ผู้สอน
              - การแบ่งเวลา
              - ทุนการศึกษา
              - การอยู่ร่วมกับเพื่อนในหอพัก
              - การทำงานกลุ่ม
          วิธีดำเนินการแก้ไขปัญหาให้แก่นักศึกษา
          ให้คำปรึกษารายบุคคลและแจ้งอาจารย์ประจำวิชาและอาจารย์ที่ปรึกษาในกรณีที่ต้องไปทำกิจกรรมและให้พัฒนาการจัดการเวลาให้ดียิ่งขึ้น
              - แก้ไขปัญหาโดยอาจารย์ที่ปรึกษาเรียบร้อยแล้ว  จำนวน  27 ราย
              - แก้ไขปัญหาโดยส่งต่อผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 10 ราย  

     1.2 นักศึกษามีปัญหาด้านทุนการศึกษา/เศรษฐกิจ /อาชีพ    จำนวน  30  ราย
          ระบุปัญหาที่พบ
              - หาอาชีพเสริมระหว่างเรียนเพื่อลดค่าใช้จ่าย
              - มีปัญหาค่าใช้จ่าย
              - การออกฝึกประสบการณ์
          วิธีดำเนินการแก้ไขปัญหาให้แก่นักศึกษา
              - แก้ไขปัญหาโดยอาจารย์ที่ปรึกษาเรียบร้อยแล้ว  จำนวน  20  ราย
              - แก้ไขปัญหาโดยส่งต่อผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน ระบุหน่วยงานหรือบุคคลที่ช่วยแก้ไขปัญหา คือ ฝ่ายทุนการศึกษาและการแนะแนว

     1.3 นักศึกษามีปัญหาด้านสังคม และสัมพันธภาพ     จำนวน  43  ราย
          ระบุปัญหาที่พบ    
              การปรับตัวเข้ากับเพื่อนในหอพัก การทำงานกลุ่ม มีปัญหาสัมพันธภาพกับเพื่อน 
          วิธีดำเนินการแก้ไขปัญหาให้แก่นักศึกษา
              - แก้ไขปัญหาโดยอาจารย์ที่ปรึกษาเรียบร้อยแล้ว  จำนวน  43  ราย
              - แก้ไขปัญหาโดยส่งต่อผู้เกี่ยวข้อง จำนวน  -  ราย ระบุหน่วยงานหรือบุคคลที่ช่วยแก้ไขปัญหา -

    1.4 ปัญหาด้านปัญหาสุขภาพ    จำนวน  10  ราย
         ระบุปัญหาที่พบ
              ปัญหาโรคประจำตัว โรคนอนไม่หลับ โรคเครียด โรคซึมเศร้า
         วิธีดำเนินการแก้ไขปัญหาให้แก่นักศึกษา
         ให้คำปรึกษากลุ่มและปรับแนวคิดให้เปลี่ยนมุมมองและหาวิธีในการลดความเครียด
              - แก้ไขปัญหาโดยอาจารย์ที่ปรึกษาเรียบร้อยแล้ว  จำนวน  8  ราย
              - แก้ไขปัญหาโดยส่งต่อผู้เกี่ยวข้อง จำนวน  2  ราย
ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ที่ปรึกษา
              มีนักศึกษาหลายคนที่ขอรับคำปรึกษาด้วยการโทรศัพท์และการส่งข้อความผ่านช่องทางออนไลน์ คือ Facebook และLine ซึ่งจะไม่กล้าเข้ามาคุยที่ห้องให้จึงให้คำแนะนำผ่านช่องทางที่นักศึกษาสะดวก ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบจะเกี่ยวข้องกับการเรียนและการปรับตัวโดยเฉพาะกับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปัญหาการปรับตัวกับอาจารย์ผู้สอน และมีปัญหาในการปรับตัวกับเพื่อนร่วมชั้น เพื่อนร่วมหอพัก ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่กล้าปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาโดยตรงจึงเข้ามาโดยช่องทางออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงต้องมีการจัดอบรมการให้คำปรึกษาสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา ในส่วนของการส่งต่อมีส่วนที่เข้ามาสนับสนุนคือฝ่ายทุนการศึกษาและการแนะแนว

2. การแนะแนวด้านการใช้ชีวิต
     2.1 มีการจัดกิจกรรมโครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ผ่านระบบดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2563
 (1.4 - 1(4)) ในระหว่างวันที่ 29 – 30 มิถุนายน 2563 เพื่อแนะแนวนักศึกษาใหม่ให้ได้รับทราบข้อมูลการจัดการเรียนการสอน การให้บริการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษาด้านต่างๆดังนี้
            - ชมวีดีทัศน์แนะนำมหาวิทยาลัย และบรรยายพิเศษ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประกาศิต  อานุภาพแสนยากร  รักษาราชการแทนอธิการบดี
            - มีการชี้แจงรายละเอียดด้านวิชาการ ด้านการเรียนการสอนตามหลักสูตร การจองการยืนยันการถอนรายวิชา การตรวจสอบผลการเรียน และการเรียนอย่างไร ให้บรรลุเป้าหมาย และประสบความสำเร็จในชีวิต โดย ดร.ชูวิทย์ นาเพีย รองอธิการบดีวิชาการ
            - มีการชี้แจงรายละเอียดด้านอาคารสถานที่ ได้ให้คำแนะนำด้านการให้บริการด้านอาคารสถานที่ การยืมคืนอุปกรณ์ต่าง ๆ การจราจร และการรักษาความปลอดภัย โดย ดร.เจษฎา ชาตรี รองอธิการบดี
            - มีการชี้แจงรายละเอียดด้านกิจการนักศึกษา ได้ให้คำแนะนำการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย การให้บริการหอพักนักศึกษา การกู้ยืมทุนการศึกษา สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย การให้บริการอาคารหรือสนามกีฬา กฎระเบียบข้อบังคับ การปรับตัวอยู่ร่วมกันในสังคมมหาวิทยาลัยอย่างไรให้มีความสุข และด้านอื่น ๆ โดย ดร.วิมล หลักรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
            - มีการแนะนำคณบดี อาจารย์ประจำสาขาวิชา และกิจกรรมตามพันธกิจของคณะ และวิทยาลัย
            - มีการชี้แจงรายละเอียด การกู้ยืมเงินทุนเพื่อการศึกษา กยศ. และ กรอ. โดยงานทุนการศึกษาและแนะแนว

    2.2 มีการจัดโครงการปฐมนิเทศนักศึกษาหอพัก ผ่านระบบดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2563 (1.4 - 1(5)) เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2563 เพื่อแนะแนวการใช้ชีวิตในหอพักนักศึกษา กฎระเบียบการอยู่ร่วมกัน การให้บริการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษาด้านต่างๆ ดังนี้
            - ชมวีดีทัศน์แนะนำหอพักนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบบริบทและการใช้ชีวิตในรั้วหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
            - ชมวีดีทัศน์บรรยายพิเศษ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประกาศิต  อานุภาพแสนยากร  รักษาราชการแทนอธิการบดี 
            - มีการชี้แจงรายละเอียดการให้บริการต่างๆ ของหอพักนักศึกษา สวัสดิการการเข้าพักและบริการในหอพักนักศึกษา สิ่งอำนวยความสะดวกและให้บริการภายในห้องพัก การบริการส่วนกลางที่มีให้สำหรับนักศึกษา อาทิเช่น  บริการที่จอดรถนักศึกษาหอพัก มินิมาร์ทบริการนักศึกษา เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ ระบบการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักศึกษา ฯลฯ โดย งานบริการสวัสดิการและให้คำปรึกษา(ฝ่ายหอพักนักศึกษา)
            - มีการชี้แจงกฎระเบียบข้อบังคับ เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบกฎระเบียบ กติกาการอยู่ร่วมกัน การเช็คชื่อนักศึกษา การที่นักศึกษาไม่ส่งเสียงดัง ไม่เปิดเพลง ไม่เล่นดนตรี หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ใดที่จะเป็นการสร้างความรำคาญแก่ผู้อื่นภายในหอพัก การเข้าและออกหอพักนักศึกษา การกำหนดเวลาเปิด - ปิด หอพักนักศึกษา ฯลฯ การปรับตัวในหอพักนักศึกษา และสังคมมหาวิทยาลัยอย่างไรให้มีความสุข และด้านอื่นๆ โดย ดร.วิมล หลักรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

    2.3 มีการจัดทำคู่มือนักศึกษา (1.4 - 1(6)) เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้กับนักศึกษาใช้เป็นแนวปฏิบัติในการศึกษาตลอดหลักสูตร โดยรายละเอียดในคู่มือนักศึกษาจะกล่าวถึง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ แนวทางการเรียนการสอนตลอดหลักสูตร การเข้าร่วมกิจกรรมและอื่นๆ

3. การจัดกิจกรรมโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อเข้าสู่อาชีพ
    3.1 มีการจัดกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เพื่อเข้าสู่อาชีพก่อนสำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 (1.4 - 1(7)) เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563 ณ อาคารหอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจในการเตรียมตัวก่อนสำเร็จการศึกษา สามารถเขียนใบสมัครงาน การเตรียมเอกสารประกอบให้ถูกต้อง สามารถตอบคำถามสัมภาษณ์งาน การพัฒนาบุคลิกภาพนักศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเลือกแหล่งการจ้างงานหรือรับสมัครงานเพิ่มขึ้น และรู้จักการใช้เทคโนโลยีในการทำงานให้เกิดประโยชน์  ผู้เข้าร่วมที่กำหนดไว้ในตามโครงการ จำนวน 800 คน  และมีผู้เข้าร่วมโครงการจริง จำนวน 1,062 คน  คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีกิจกรรมดังนี้
            กลุ่มที่ 1 กิจกรรมบรรยาย เรื่อง การเตรียมความพร้อมก่อนจบ หลังยุคโควิด และการเตรียมความพร้อมพร้อมและเทคนิคการเขียนเรซูเม่ให้ปัง..จบใหม่ยังไงก็ได้งาน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเทคนิคการเขียนเรซูเม่ ไปจนถึงการสัมภาษณ์งานและแต่งกายให้เหมาะสมกับการสมัครงานในยุคโควิด โดยวิทยากร คุณปรัชญ์กวิน กิตติเลิศวีรกุล
            กลุ่มที่ 2 กิจกรรมบรรยาย เรื่อง การออกแบบแฟ้มผลงาน การเช็คความพร้อมเอกสารของตนเองก่อนสมัครงานออนไลน์  และการออกแบบสื่อน่าสนใจเพื่อสร้างการนำเสนอตนเองผ่านระบบออนไลน์ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจขั้นตอนและเคล็ดลับการเขียนใบสมัครออนไลน์ (Super Resume) และสามารถออกแบบสื่อในการนำเสนอผลงานผ่านระบบออนไลน์ได้ โดยวิทยากร คุณอำนาจ  ใจมนต์

    3.2 มีการจัดกิจกรรมโครงการสนับสนุนค่าครองชีพนักศึกษา จากการทำงานระหว่างเรียน ประจำปีการศึกษา 2563 (1.4 - 1(8)) โดยปฏิบัติงานในช่วงเวลาว่างจากการเรียนการสอน  หรือ เสาร์ – อาทิตย์ ภาคเรียนที่ 1/2563 ระหว่างเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน 2563 เพื่อสร้างรายได้ให้แก่นักศึกษา ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และยังเป็นการฝึกให้นักศึกษามีความรับผิดชอบ มีความอดทนรู้จักสู้งาน สามารถนำความรู้ที่ได้จากการจ้างงานไปประยุกต์ใช้กับการศึกษา และชีวิตประจำวันของตนเองได้อย่างมีคุณภาพ รวมทั้งนักศึกษาได้เกิดทักษะประสบการณ์ในการประกอบอาชีพที่ยั่งยืนในอนาคตต่อไป โดยแบ่งเป็น 3 ฝ่าย ดังนี้
            - ฝ่ายกีฬาและนันทนาการ (สนามกีฬา) 
            - ฝ่ายวิทยบริการและสารสนเทศ   
            - ฝ่ายพยาบาล                       

2มีการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการกิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา

มหาวิทยาลัย มีการให้บริการข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการกิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร เช่น การให้ข้อมูลทุนกู้ยืมการศึกษา แหล่งทุนการศึกษา และแหล่งงานต่างๆ ทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา โดยการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ขอมูลข่าวสารที่ทันสมัย และเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้

1.การให้บริการข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการกิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร 
     1.1 เว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ www.sskru.ac.th (1.4-2(1))
           - ข่าวนักศึกษา
           - ข่าวรับสมัครงาน
           - วารสารสารสัมพันธ์ขาว - ทอง
           - ข่าวลดาลำดวน sskru
     1.2 แฟนเพจเฟสบุ๊ค
           - ประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ PR_sskru (1.4-2(2))
           - มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ SSKRU Thailand (1.4-2(3))
           - ฝ่ายทุนการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (1.4-2(4))
           - วินัยและพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (1.4-2(5))
           - กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (1.4-2(6))
           - สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ (1.4-2(7))
           - หอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (1.4-2(8))
           - เครือข่ายครูแนะแนวศรีสะเกษ (1.4-2(9))

2. การให้บริการข้อมูลแหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลา 
           - ประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ PR_sskru (1.4-2(2))
           - ฝ่ายทุนการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (1.4-2(4))
           - กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (1.4-2(6))

3. มีการจัดกิจกรรมโครงการสนับสนุนค่าครองชีพนักศึกษา จากการทำงานระหว่างเรียน ประจำปีการศึกษา 2563 โดยปฏิบัติงานในช่วงเวลาว่างจากการเรียนการสอน  หรือ เสาร์ – อาทิตย์ ภาคเรียนที่ 1/2563 ระหว่างเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน 2563 เพื่อสร้างรายได้ให้แก่นักศึกษา ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และยังเป็นการฝึกให้นักศึกษามีความรับผิดชอบ มีความอดทนรู้จักสู้งาน สามารถนำความรู้ที่ได้จากการจ้างงานไปประยุกต์ใช้กับการศึกษา และชีวิตประจำวันของตนเองได้อย่างมีคุณภาพ รวมทั้งนักศึกษาได้เกิดทักษะประสบการณ์ในการประกอบอาชีพที่ยั่งยืนในอนาคตต่อไป โดยแบ่งเป็น 3 ฝ่าย ดังนี้
            - ฝ่ายกีฬาและนันทนาการ (สนามกีฬา) 
            - ฝ่ายวิทยบริการและสารสนเทศ   
            - ฝ่ายพยาบาล

3จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา

มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา โดยการจัดกิจกรรมโครงกาอบรมเชิงปฏิบัติการการเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 (1.4-3(1)) เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563 ณ อาคารหอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจในการเตรียมตัวก่อนสำเร็จการศึกษา สามารถเขียนใบสมัครงาน การเตรียมเอกสารประกอบให้ถูกต้อง สามารถตอบคำถามสัมภาษณ์งาน การพัฒนาบุคลิกภาพนักศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเลือกแหล่งการจ้างงานหรือรับสมัครงานเพิ่มขึ้น และรู้จักการใช้เทคโนโลยีในการทำงานให้เกิดประโยชน์  ผู้เข้าร่วมที่กำหนดไว้ในตามโครงการ จำนวน 800 คน  และมีผู้เข้าร่วมโครงการจริง จำนวน 1,062 คน  คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีกิจกรรมดังนี้

          กลุ่มที่ 1 กิจกรรมบรรยาย เรื่อง การเตรียมความพร้อมก่อนจบ หลังยุคโควิด และการเตรียมความพร้อมพร้อมและเทคนิคการเขียนเรซูเม่ให้ปัง..จบใหม่ยังไงก็ได้งาน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเทคนิคการเขียนเรซูเม่ ไปจนถึงการสัมภาษณ์งานและแต่งกายให้เหมาะสมกับการสมัครงานในยุคโควิด โดยวิทยากร คุณปรัชญ์กวิน กิตติเลิศวีรกุล

          กลุ่มที่ 2 กิจกรรมบรรยาย เรื่อง การออกแบบแฟ้มผลงาน การเช็คความพร้อมเอกสารของตนเองก่อนสมัครงานออนไลน์  และการออกแบบสื่อน่าสนใจเพื่อสร้างการนำเสนอตนเองผ่านระบบออนไลน์ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจขั้นตอนและเคล็ดลับการเขียนใบสมัครออนไลน์ (Super Resume) และสามารถออกแบบสื่อในการนำเสนอผลงานผ่านระบบออนไลน์ได้ โดยวิทยากร คุณอำนาจ  ใจมนต์
         

4ประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการในข้อ 1-3 ทุกข้อไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5

มหาวิทยาลัย มีการประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการ ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน โดยมีผลการประเมิน ดังนี้

1. จัดบริการให้คำปรึกษา แนะแนวด้านการใช้ชีวิต และการเข้าสู่อาชีพแก่นักศึกษาในสถาบัน (1.4-4(1))
    ผลการประเมินด้านการจัดบริการให้คำปรึกษา แนะแนวด้านการใช้ชีวิต และการเข้าสู่อาชีพแก่นักศึกษาในสถาบัน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.77 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.76 แยกเป็นแต่ละด้าน ดังนี้
        1.1 ด้านคุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.83 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.72
        1.2 ด้านบริการข้อมูลข่าวสาร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.74 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.83
        1.3 ด้านการบริการให้คำปรึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.65 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.73
        1.4 ด้านการส่งเสริมการให้คำปรึกษาแนะแนวเกี่ยวกับอาชีพ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.77

2. มีการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการกิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา (1.4-4(2))
    ผลการประเมินด้านมีการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการกิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.10 แยกเป็นแต่ละด้าน ดังนี้
        2.1 บริการข้อมูลข่าวสารทางด้านทุนกู้ยืมการศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.20
        2.2 บริการข้อมูลข่าวสารด้านแหล่งรับสมัครงาน (ทั้งเต็มเวลาและนอกเวลา) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.06
        2.3 มีช่องทางให้ข้อมูลข่าวสารภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยที่สามรถเข้าถึงได้อย่างสะดวก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.02

3. จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา (1.4-4(3))
    โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.61 แยกเป็นแต่ละด้าน ดังนี้
        3.1 คิดเห็นของผู้เข้าร่วมโครงการเกี่ยวกับการสร้างความตระหนักในการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่อาชีพก่อนสำเร็จการศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.38
        3.2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้และการนำไปใช้ประโยชน์เกี่ยวกับโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เพื่อเข้าสู่อาชีพก่อนสำเร็จ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.84

5นำผลการประเมินจากข้อ 4 มาปรับปรุงพัฒนาการให้บริการและการให้ข้อมูล เพื่อส่งให้ผลการประเมินสูงขึ้นหรือเป็นไปตามความคาดหวังของนักศึกษา

มหาวิทยาลัย นำผลการประเมินจากข้อ 4 มาปรับปรุงพัฒนาการให้บริการและการให้ข้อมูล เพื่อส่งให้ผลการประเมินสูงขึ้นหรือเป็นไปตามความคาดหวังของนักศึกษา ดังนี้

มีการมอบหมายผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาในการประชุมคณะกรรมการบริหารงานพัฒนานักศึกษา ครั้งที่ 3/2563 วันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 (1.4-5(1)) เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนกิจกรรมให้บรรลุเป้าหมาย และจัดทำสรุปผลการประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารงานพัฒนานักศึกษา ครั้งที่ 1/2564 วันที่ 2 เมษายน 2564 (1.4-5(2)) เพื่อพิจารณาผลการดำเนินงานและกำหนดแนวทางการพัฒนาปรับปรุงในปีการศึกษาถัดไปให้ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน เพื่อส่งผลให้ผลการประเมินสูงขึ้นหรือเป็นไปตามความคาดหวังของนักศึกษา ดังนี้

1. การจัดบริการให้คำปรึกษา แนะแนวด้านการใช้ชีวิต และการเข้าสู่อาชีพแก่นักศึกษาในสถาบัน

ประเด็นการปรับปรุง การดำเนินงานปรับปรุงในปีการศึกษา 2564 ผู้รับผิดชอบ ผู้กำกับ/ติดตาม
พัฒนาการให้บริการให้คำปรึกษาออนไลน์ ให้คำปรึกษาผ่านช่องทางออนไลน์ Facebook และ Line โดยการประเมินผลความพึงพอใจ โดยใช้ QR Code ประเมินโดยให้นักศึกษาพิมพ์ให้คะแนน เป็นระดับคะแนน 1 - 5 ตามระดับความพึงพอใจ ดร.อภิชาติ มุกดาม่วง
นางสาววิไลพร คำผาย
นางสาวลัดดาวัลย์  สมจิตร
นางเพ็ญพักตร์ สุมณฑา

2. ด้านการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการกิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา

ประเด็นการปรับปรุง การดำเนินงานปรับปรุงในปีการศึกษา 2564 ผู้รับผิดชอบ ผู้กำกับ/ติดตาม
จัดหาแหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา - จัดหาลิงค์แหล่งงานจากจัดหางานในจังหวัด ทั้งหน่วยภาครัฐและเอกชน และฝากลิงค์ในเพจเฟสบุ๊ค มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ SSKRU Thailand ซึ่งเป็นเพจที่มีนักศึกษาติดตามมากที่สุด ทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน เพจเฟสบุ๊คกองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และเพจฝ่ายทุนการศึกษาและแนะแนว
- ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลแหล่งงานที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษาและศิษย์เก่าอย่างต่อเนื่อง
นางสาวลัดดาวัลย์ สมจิตร
นางสาวณัฐนรี กิ่งเกษ
นางสาววนัญญา สุพัฒน์
นายชวลิต สีหาภาค
นายอดิศักดิ์ สนับหนุน
นางเพ็ญพักตร์ สุมณฑา

3. ด้านการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา

ประเด็นการปรับปรุง การดำเนินงานปรับปรุงในปีการศึกษา 2564 ผู้รับผิดชอบ ผู้กำกับ/ติดตาม
- จัดกิจกรรม/โครงการ เตรียมความพร้อมก่อนสำเร็จการศึกษาในรูปแบบออนไลน์ เนื่องจากสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) งานกิจกรรมนักศึกษาฯ จัดกิจกรรม/โครงการโดยวางกลุ่มเป้าหมายไว้ที่นักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา และนักศึกษาชั้นปีอื่นๆ ที่สนใจ 
ลักษณะกิจกรรม
- จัดกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ เนื่องจากสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19)
- กิจกรรมบรรยาย เกี่ยวกับการเขียนเรซูเม การสมัครและสัมภาษณ์งาน 
- กิจกรรม Workshop ทำแบบทดสอบวัดความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน 
- การพัฒนาบุคลิกภาพนักศึกษาด้านการพูดและสัมภาษณ์งาน
นายสาคร ผมพันธ์
นายอดิศักดิ์ สนับหนุน
นางสาวณัฐนรี กิ่งเกษ
นางเพ็ญพักตร์ สุมณฑา
6ให้ข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ศิษย์เก่า

มหาวิทยาลัย มีการจัดบริการข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อศิษย์หลากหลายช่องทาง ดังนี้

1. การบริการข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่ศิษย์เก่า
    1.1 เว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (1.4-6(1))
    1.2 เฟสบุ๊คข่าวสารปริญญา มรภ.ศรีสะเกษ (1.4-6(2))
    1.3 เฟสบุ๊คมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ SSKRU Thailand (1.4-6(3))
    1.4 วารสาร สารสัมพันธ์ขาว-ทอง (1.4-6(4))

2. มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ศิษย์เก่า (1.4-6(5)) เมื่อวันที่ 13-15 มีนาคม 2564 ณ เขตอนุรักษ์แหล่งน้ำห้วยคล้า บ้านหนองเข็งน้อย  ตำบลกฤษณา  อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ  เพื่อส่งเสริมและให้ความรู้แก่ศิษย์เก่าและประชาชนเกี่ยวกับการพัฒนาการใช้สื่อโฆษณาสินค้าชุมชนโดยใช้เทคนิคการผลิตสื่อด้วยแอฟพลิเคชั่นและส่งเสริมการขายสินค้าชุมชนผ่านช่องทางออนไลน์บนโซเชียมีเดียด้วยด้วยแอฟพลิเคชั่น  โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 75 คน ประกอบด้วย นักศึกษา ศิษย์เก่า และผู้ที่สนใจทั่วไป มีการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อศิษย์เก่า ดังน้
กิจกรรมที่ 1 ประสานงานลงพื้นที่เก็บสำรวจข้อมูลและวิเคราะห์ขอบเขตข้อมูลสารสนเทศ
กิจกรรมที่ 2 ประชุมสร้างความเข้าใจรับรู้และกรอบขอบเขตการดำเนินงานของเครือข่ายและองค์กรร่วมพัฒนา
กิจกรรมที่ 3 ประชุมกลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการของชุมชนที่มีลักษณะเดียวกันกำหนดรูปแบบอัตลักษณ์ Timeline พัฒนาการ Timeline กระบวนการและการบริการกลุ่มเป้าหมาย
กิจกรรมที่ 4 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาสื่อโฆษณาสินค้าชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้โดยใช้เทคนิคการสอนแอฟพลิเคชั่น
กิจกรรมที่ 5 พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการระบบการจำหน่วยและบริการสินค้าชุมชนบบออนไลน์ส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง
กิจกรรมที่ 6 เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานด้านการพัฒนาสื่อโฆษณาสินค้าชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้โดยใช้เทคนิคการสอนแอฟพลิเคชั่น

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 ข้อ 5 คะแนน