✓ | 1 | จัดบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการ และการใช้ชีวิตแก่นักศึกษาในคณะ | ในปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีระบบและกลไกด้านการให้บริการด้านการให้คำปรึกษาทางวิชาการ และการใช้ชีวิตแก่นักศึกษาในคณะ โดยได้มีการแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาสำหรับนักศึกษาทั้งภาคปกติ และภาค กศ.บป. (1.4-1(1)) (1.4-1(1)) เพื่อทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาทุกชั้นปีในเรื่องที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน การลงทะเบียนเรียน รวมทั้งทักษะการใช้ชีวิตทั้งในและนอกมหามหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังมี คู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา (1.4-1(3)) และแบบฟอร์มรายงานการปฏิบัติงานในหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษา (1.4-1(4)) โดยได้มีการกำหนดชั่วโมงตารางการให้คำปรึกษา และกำหนดชั่วโมงโฮมรูม (1.4-1 (5)) ในแต่ละภาคเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการให้คำปรึกษาทั้งทางด้านวิชาการและการใช้ชีวิตแก่นักศึกษา เพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาได้พบปะกับนักศึกษา ซึ่งในการพบปะกับนักศึกษาหรือการขอคำปรึกษาในแต่ละครั้งนั้นอาจารย์ที่ปรึกษาได้มีการทำบันทึกการให้คำปรึกษา และได้มีการสรุปผลการประเมินการให้คำปรึกษาทุกภาคการศึกษา (1.4-1(6)),(1.4-1(7)) (1.4-1(8)),(1.4-1(9))
ทั้งนี้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) วิทยาลัยฯ ได้มีการเพิ่มรูปแบบและช่องทางการให้คำปรึกษาผ่านช่องทางออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ เช่น เฟสบุ๊คสาขาวิชา และไลน์กลุ่มของแต่ละสาขา รวมทั้งผ่านช่องทางโทรศัพท์ของอาจารย์ในสาขา (1.4-1 (10)),(1.4-1 (11)) (1.4-1 (12)) นอกจากนี้วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ยังได้มีการจัดบุคลากรสายสนับสนุนเพื่อทำหน้าที่ในการให้บริการและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา เกี่ยวกับการแหล่งทุนการศึกษาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมทั้งการประสานงานระหว่างหน่วยงาน ซึ่งช่องทางที่นักศึกษาสามารถติดต่อได้นั้นมีทั้งการติดต่อด้วยตนเอง ณ สำนักงานคณบดีวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ชั้น 2 ทางโทรศัพท์ของวิทยาลัยฯ และเฟสบุ๊ควิทยาลัยฯ
ซึ่งผลที่ได้จากการดำเนินงานด้านการจัดบริการให้คำปรึกษาทางด้านวิชาการและการใช้ชีวิตแก่นักศึกษานั้น พบว่าจากการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอคำปรึกษา และวิธีการในการแก้ไขปัญหาสำหรับนักศึกษาเกี่ยวกับผลการเรียนไม่ปรากฏในระบบของนักศึกษา นั้น อาจารย์ที่ปรึกษาได้ประสานงานไปยังเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรื่องวิชาการของวิทยาลัยฯ และเจ้าหน้าที่ของสำนักงานส่งเสริมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย ส่งผลให้ผลการเรียนของนักศึกษาปรากฏขึ้นในระบบครบทุกรายวิชา เป็นต้น
| |
✓ | 2 | มีการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการ กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา | ในปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการกิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตรทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา โดยได้มีการประชาสัมพันธ์ทั้งในรูปแบบของสื่อออนไลน์ และรูปแบบของหนังสือราชการเกี่ยวกับเรื่องทุนกู้ยืมการศึกษา แหล่งทุนการศึกษาต่อการบริการจัดหางาน แหล่งข้อมูลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร การประชาสัมพันธ์ผ่านเฟสบุ๊คของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง (1.4-2(1)) ประชาสัมพันธ์โดยมีบันทึกข้อความผ่านอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ประจำสาขาวิชาเพื่อขอความอนุเคราะห์ในการประชาสัมพันธ์เพื่อให้นักศึกษาได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่สำคัญ รวมทั้งช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เช่น face book วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง facebook ของสาขาวิชาต่าง เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางให้นักศึกษาได้รับทราบข้อมูลโดยทั่วกัน
| |
✓ | 3 | จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา | วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง โดยฝ่ายพัฒนานักศึกษา ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และสาขาวิชา (นิติศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และรัฐศาสตร์) ได้มีการดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาประสบการณ์ด้านวิชาการและวิชาชีพแก่นักศึกษา โดยมีการประสานงานกับหน่วยงาน/สถานประกอบการ เพื่อเตรียมการก่อนนักศึกษาจะออกฝึกประสบการณ์จริง ทั้งนี้วิทยาลัยฯ ได้มีการแนะแนวนักศึกษาก่อนออกฝึกประสบการณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงแนวทางการเตรียมตัวก่อนเข้ารับกรฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และระเบียบปฏิบัติในการออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ซึ่งหลังจากที่นักศึกษาได้ออกฝึกประสบการณ์แล้ว วิทยาลัยฯ ได้มีแต่งตั้งอาจารย์เพื่อออกนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์ (1.4-3(1)) โดยเป็นการติดตามการฝึกประสบการณ์ ให้ข้อเสนอแนะ แนวทางการแก้ไขปัญหาระหว่างฝึกประสบการณ์แก่นักศึกษา รวมทั้งเป็นการรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงาน/สถานประกอบการ เพื่อนำผลสะท้อนกลับมาใช้ในกระบวนการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต นอกจากนี้ วิทยาลัยฯ ได้มีการจัดโครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษาประจำปีการศึกษา 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้แนวทางในการเลือกประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับความรู้ความสามารถของตนเองในสังคมปัจจุบัน และเพื่อให้นักศึกษาได้แนวทางในการพัฒนาตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ (1.4-3(2))
| |
✓ | 4 | ประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการในข้อ 1-3 ทุกข้อไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5 | วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการให้นักศึกษาประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการสำหรับนักศึกษา หลังจากสิ้นภาคการเรียน ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพรูปแบบการจัดกิจกรรมการให้บริการสำหรับนักศึกษา โดยการประเมินคุณภาพการจัดกิจกรรมนั้นวิทยาลัยฯ ได้แบ่งออกเป็นภาคการศึกษา และให้นักศึกษาทำแบบประเมิน มีผลการประเมินแต่ละด้านในภาคเรียนที่ ปีการศึกษา 2565 ดังนี้
ความคิดเห็น
|
ค่าเฉลี่ย
( )
|
ระดับความ
คิดเห็น
|
|
|
1. ด้านการจัดบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการและแนวแนวการใช้ชีวิต
|
4.53
|
มากที่สุด
|
|
2.ด้านการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการ กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลา
|
4.40
|
มากที่สุด
|
|
3. ด้านกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา
|
4.42
|
มากที่สุด
|
|
รวม
|
4.45
|
มากที่สุด
|
|
จากการวิเคราะห์ผลการประเมินความคุณภาพของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการ พบว่าประเด็นที่มีคะแนนมากที่สุด คือด้านการจัดบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการและแนวแนวการใช้ชีวิต (คะแนนเฉลี่ย 4.53) ด้านกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา (คะแนนเฉลี่ย 4.42) ตามลำดับด้านการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการ กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลา (คะแนนเฉลี่ย 4.40)
| |
✓ | 5 | นำผลการประเมินจากข้อ 4 มาปรับปรุงพัฒนาการให้บริการและการให้ข้อมูล เพื่อส่งให้ผลการประเมินสูงขึ้นหรือเป็นไปตามความคาดหวังของนักศึกษา | วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง โดยฝ่ายพัฒนานักศึกษาร่วมกับศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ได้มีการรายงานผลการดำเนินการประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการที่ประเมิน ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ครั้งที่ 6/2566 วันที่ 5 กรกฎาคม 2566 (1.4-5(1)) เพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประเด็นของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการสำหรับนักศึกษา
ข้อเสนอแนะ
1.นักศึกษาเสนอให้วิทยาลัยฯ เพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งฝึกงานที่หลากหลาย ที่ไม่จำกัดเฉพาะในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ทั้งในด้านของงานภาครัฐ ภาคเอกชน และธุรกิจอื่นๆ
2.นักศึกษาเสนอให้วิทยาลัยดำเนินโครงการที่เป็นการพัฒนาทักษะ รวมถึงบุคลิกภาพของนักศึกษาให้มากขึ้น
แนวทางการดำเนินการปรับปรุงจากการประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมและบริการ
1. ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มีการจัดข้อมูลแหล่งฝึกงานที่หลากหลายเพื่อให้บริการแก่นักศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกสถานที่ในการฝึกประสบการณ์ที่ตรงกับความต้องการและตรงกับศักยภาพของนักศึกษา
2.ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มีการประแผนการดำเนินโครงการ โดยเพิ่มกิจกรรม โครงการที่เป็นการส่งเสริมทักษะที่จำเป็นทั้งในการฝึกประสบการณ์และการทำงานภายหลังสำเร็จการศึกษา เช่น การพัฒนาทักษะทางด้านดิจิทัล การพัฒนาทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ การพัฒนาทักษะงานสารบรรณและเอกสารราชการ รวมถึงการพัฒนาทักษะทางด้านบุคลิกภาพ การแต่งกาย และการวางตังในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
|
|
✓ | 6 | ให้ข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพแก่ศิษย์เก่า | วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีระบบการให้ข้อมูลแก่ศิษย์เก่าที่เกี่ยวกับการรับสมัครงานของหน่วยงานทั้งภาคเอกชนผ่านทางเฟสบุ๊คของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง และมีการบิหารจัดการในรูปแบบของชมรมศิษย์เก่า
|
|