ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ปรารถนา มะลิไทย , วรางคณา ปุ๋ยสูงเนิน
ชนิดตัวบ่งชี้ : ปัจจัยนำเข้า
คำอธิบายตัวบ่งชี้

การศึกษาระดับอุดมศึกษาถือเป็นการศึกษาระดับสูงสุดที่ต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และความลุ่มลึกทางวิชาการ เพื่อปฏิบัติพันธกิจสำคัญของสถาบันในการผลิตบัณฑิต ศึกษาวิจัยเพื่อติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและการพัฒนาองค์ความรู้ ดังนั้นคณะจึงควรมีอาจารย์ที่มีระดับคุณวุฒิทางการศึกษาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับหลักสูตรที่เปิดสอนในสัดส่วนที่เหมาะสมกับพันธกิจ หรือจุดเน้นของหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน

โดยการแปลงค่าร้อยละของอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก เป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5

 

เกณฑ์เฉพาะสถาบันกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ

ค่าร้อยละของอาจารย์ประจำสถาบันที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40  ขึ้นไป

สูตรการคํานวณ

1. คำนวณค่าร้อยละของอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก ตามสูตร

จำนวนอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
---------------------------------------------------------------------------------------------------------      x  100
จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด

2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5

คะแนนที่ได้ = ร้อยละของอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     5
ร้อยละของอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5
หมายเหตุ

1. คุณวุฒิปริญญาเอกพิจารณาจากระดับคุณวุฒิที่ได้รับหรือเทียบเท่าตามหลักเกณฑ์การพิจารณาคุณวุฒิของกระทรวงศึกษาธิการ กรณีที่มีการปรับวุฒิการศึกษาให้มีหลักฐานการสำเร็จการศึกษาภายในรอบปีการศึกษานั้น ทั้งนี้ อาจใช้คุณวุฒิอื่นเทียบเท่าคุณวุฒิปริญญาเอกได้สำหรับกรณีที่บางสาขาวิชาชีพมีคุณวุฒิอื่นที่เหมาะสมกว่า ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการอุดมศึกษา
2. การนับจำนวนอาจารย์ประจำ ให้นับตามปีการศึกษาและนับทั้งที่ปฏิบัติงานจริงและลาศึกษาต่อ
3. การนับจำนวนคุณวุฒิปริญญาเอกและตำแหน่งทางวิชาการ (ตัวตั้ง) และจำนวนอาจารย์ (ตัวหาร) พิจารณาจาก
    3.1 กรณีตัวตั้งให้นับเป็นจำนวนเต็ม
    3.2 ตัวหาร
        3.2.1 เฉพาะอาจารย์ใหม่นับตามเกณฑ์ของ สกอ.
        3.2.2 อาจารย์เก่านับเป็นจำนวนเต็ม อาจารย์เก่าที่ย้ายออกจากหลักสูตร/คณะให้นับเป็นจำนวนเต็ม
4. กรณีอาจารย์สังกัดหลักสูตรที่ไม่ได้อยู่ในคณะที่ตนเองสังกัด
    4.1 ระดับหลักสูตรให้นับในหลักสูตรที่สังกัด
    4.2 ระดับคณะให้นับในคณะที่สังกัด

ผลการดำเนินงาน

    ในปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีจำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมด จำนวน 22 คน  โดยมีอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก จำนวน 10 คน และอาจารย์ประจำที่ที่มีคุณวุฒิปริญญาโท
จำนวน 12 คน ดังรายละเอียดดังนี้

ลำดับที่

ชื่อ - สกุล

คุณวุฒิ

คุณวุฒิปริญญาเอก จำนวน 10 คน

1

รองศาสตราจารย์ ดร.เอกพงษ์  วงศ์คำจันทร์

ปริญญาเอก

2

รองศาสตราจารย์ ดร.ภัควัฒน์  จรรยาสุทธิวงศ์

ปริญญาเอก

3

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลือศักดิ์  แสวงมี

ปริญญาเอก

4

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญวรัตน์  แจ่มใส

ปริญญาเอก

5

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อลงกต  แผนสนิท

ปริญญาเอก

6

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชชุดา  วงศ์พานิชย์

ปริญญาเอก

7

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เตชิต  ศิรวงศ์เดชา

ปริญญาเอก

8

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ ร.ต.ดร.ณัฐวัฒน์  บัวทอง

ปริญญาเอก

9

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจวบ  จันทร์หมื่น

ปริญญาเอก

10

อาจารย์ ดร.ณัฐศรันย์  อารยะพงศ์

ปริญญาเอก

คุณวุฒิปริญญาโท จำนวน 13 คน

1

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปณัยกร  บุญกอบ

ปริญญาโท

2

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิมพ์ลภัส  สุขคุ้ม

ปริญญาโท

3

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทรณ์  สิทธิศักดิ์

ปริญญาโท

4

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุเทวี  คงคูณ

ปริญญาโท

5

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรเดช  ภาวัตเวคิน

ปริญญาโท

6

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรารถนา  มะลิไทย

ปริญญาโท

7

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุวดี  มัญติยาการกุล

ปริญญาโท

8

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประเสริฐ  บัวจันอัฐ

ปริญญาโท

9

อาจารย์สุรศักดิ์  จันทา

ปริญญาโท

10

ว่าที่ร้อยเอกธัญยธรณ์  พิพัฒนมงคลชัย

ปริญญาโท

11

อาจารย์กิตติชัย  ขันทอง

ปริญญาโท

12

อาจารย์วิไลลักษณ์  รัตนเจริญมิตร

ปริญญาโท

 

รายการ

ผลรวมจากหลักสูตร

จำนวนยืนยันของคณะ

จำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมด รวมทั้งที่ปฏิบัติงานจริงและลาศึกษาต่อ

22.0

22

จำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมดที่ปฏิบัติงานจริงและลาศึกษาต่อ วุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า

10.0

10

 

 

 

หลักฐาน
รหัสหลักฐาน เอกสารหลักฐาน
1.2 - (1)
ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
1 5