✓ | 1 | มีการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ ของหน่วยงานจากผลการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรค โอกาสกับวิสัยทัศน์ที่มาจากการมีส่วนร่วมของบุคลากรหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยเชื่อมโยงวิสัยทัศน์ พันธกิจของหน่วยงาน ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งกําหนดกลยุทธ์ มาตรการหรือแนวทางการดําเนินงาน ตัวชี้วัดความสําเร็จและค่าเป้าหมายของแผนยุทธศาสตร์ ในแต่ละปี ทั้งนี้แผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานจะต้องผ่าน การอนุมัติเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน | สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการได้มีการพัฒนาแผนกลยุทธศาสตร์ของสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ โดยร่วมกันวิเคราะห์ กำหนดพันธกิจ วิสัยทัศน์ ของสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการเพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษพร้อมทั้งกำหนดกลยุทธ์ของแผน และแนวทางการดำเนินงาน ตัวชี้วัดความสําเร็จ และค่าเป้าหมายของแผนกลยุทธศาสตร์ ปรากฎดังรายละเอียดหลักฐาน (1.1-1(1))
สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการได้นำแผนกลยุทธ์เข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565 ดังรายละเอียดหลักฐาน (1.1-1(2)) และจากคณะกรรมการประจำสำนัก ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 ขอความเห็นชอบแผนกลยุทธศาสตร์สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ (พ.ศ.2566-2570) ดังรายละเอียดหลักฐาน (1.1-1(3))
| |
✓ | 2 | มีการแปลงแผนยุทธศาสตร์ เป็นแผนปฏิบัติการประจําปีครบตามพันธกิจของหน่วยงาน โดยกําหนด กลยุทธ์ มาตรการหรือแนวทางการดําเนินงาน โครงการ/กิจกรรม ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมายความสําเร็จของแต่ละตัวชี้วัด ในแผนปฏิบัติการประจําปีของหน่วยงาน พร้อมทั้งจะต้องมีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน | สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการได้นำแผนเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ในคราวประชุม 8/2565 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565 มีการแปลงแผนกลยุทธศาสตร์ครบตามพันธกิจของสำนัก และแปลงแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ รายละเอียดหลักฐาน
สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการได้จัดประชุมเพื่อทำการวิเคราะห์โครงการ / กิจกรรมที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และได้ทำการกำหนดโครงการ / กิจกรรมภายใต้โครงการ ตัวชี้วัดโครงการ จำนวนงบประมาณ และจัดทำรายละเอียดในแต่ละโครงการ
สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการทำการรวบรวมโครงการภายใต้กลยุทธ์และยุทธศาสตร์ของสำนักและจัดทำเอกสารแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 รายละเอียดดังเอกสารหลักฐาน (1.1-2(2))
สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการได้มีการพูดคุยและปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับงบประมาณพร้อมดูกรอบวงเงินแต่ละโครงการ โดยให้บุคลากรที่รับผิดชอบแต่ละส่วนงานได้เขียนโครงการ รายละเอียดกิจกรรม หมวดงบประมาณ ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์และแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษเพื่อพิจารณากรอบงบประมาณร่วมกัน รายละเอียดดังเอกสารหลักฐาน (1.1-2(3))
| |
✓ | 3 | มีการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการประจําปีของหน่วยงานไปสู่บุคลากร ในสังกัดและเผยแพร่ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบหรือนําไปใช้ประโยชน์ต่อการทํางานต่างๆ ของหน่วยงานได้ |
สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ถ่ายทอดแผนกลยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการประจำปีของหน่วยงานไปสู่บุคลากรในสังกัดทราบ ดังนี้
3.1 ถ่ายทอดผ่านการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิขาการในคราวประชุมครั้งที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 รายละเอียดดังเอกสารหลักฐาน (2.1-3(1))
3.2 เผยแพร่ให้บุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับทราบ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ผ่านช่องทางเว็บไซต์ของสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ http://www.oass.sskru.ac.th/OASS.html รายละเอียดดังเอกสารหลักฐาน (2.1-3(2))
|
| |
✓ | 4 | มีการติดตามผลการดําเนินงานตามตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย เพื่อวัดความสําเร็จของ การดําเนินงาน แผนปฏิบัติการประจําปีของหน่วยงานอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยรายงานผลต่อคณะกรรมการประจำหน่วยงาน เพื่อรับทราบและพิจารณาข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะแนวเพื่อการพัฒนาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง | สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มีการติดตามผลการดําเนินงานตามตัวชี้วัด ค่าเป้าหมายเพื่อวัดความสำเร็จของการดําเนินงานแผนปฏิบัติการประจำปีของหน่วยงาน ดังนี้
4.1 มีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ในการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ครั้งที่ 3/2566 ลงวันที่ 18 เมษายน 2566 รายละเอียดดังเอกสารหลักฐาน (2.1-4(1)) และรายงานต่อคณะกรรมการประจำสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ครั้งที่ 2/2566 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 รายละเอียดดังเอกสารหลักฐาน (2.1-4(2))
ผลการติดตามพบว่า มีการกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายไว้ตามแผน จำนวน 18 ตัวชี้วัด
บรรลุเป้าหมาย 17 ตัวชี้วัด จำนวนตัวชี้วัดไม่บรรลุเป้าหมาย จำนวน 1 ตัวชี้วัด ได้แก่ ร้อยละของนักศึกษาแรกเข้าตามแผนการรับสมัครของมหาวิทยาลัย ต่าเป้าหมายตั้งไว้ ร้อยละ 70 แต่ผลการดำเนินงานได้ร้อยละ 68.20
| |
✓ | 5 | มีการติดตามผลการดําเนินงานตามตัวชี้วัด ค่าเป้าหมายเพื่อวัดความสําเร็จของการดําเนินงานแผน ยุทธศาสตร์ ของหน่วยงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และมีการรายงานผลความสําเร็จแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน ต่อคณะกรรมการประจําหน่วยงานเพื่อรับทราบหรือพิจารณาข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา | สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มีการจัดทำรายงานผลตัวชี้วัดตามยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ โครงการ ของแผนปฏิบัติการสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2566 ต่อคณะกรรมการประจำสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ครั้งที่ 2/2566 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 รายละเอียดดังเอกสารหลักฐาน (2.1-4(1))
โดยสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มีโครงการทั้งสิ้นจำนวน 3 โครงการ 18 ตัวชี้วัด
ผลการติดตามพบว่า
บรรลุเป้าหมาย 17 ตัวชี้วัด ไม่บรรลุเป้าหมาย จำนวน 1 ตัวชี้วัด ได้แก่ ร้อยละของนักศึกษาแรกเข้าตามแผนการรับสมัครของมหาวิทยาลัย ต่าเป้าหมายตั้งไว้ ร้อยละ 70 แต่ผลการดำเนินงานได้ร้อยละ 68.20
โดยคณะกรรมการประจำสำนักได้ให้ข้อเสนอแนะ สำหรับตัวชี้วัด ดังนี้ ผลการดำเนินงานไม่่ตอบต่าเป้าหมายและตัวชี้วัดของแผนกลยุทธ์สำนัก หรืออาจจะเขียนไม่สอดคล้อง และ ควรมีการติดตามในส่วนของการดำเนินงานให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์และสามารถประเมินการปฏิบัติได้จริง และมีการติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
| |
✓ | 6 | มีการนําผลการพิจารณา ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประจําหน่วยงานไปปรับปรุง หรือพัฒนาแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการประจําปี | สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มีการนําผลการพิจารณาข้อคิด เห็น และข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประจำหน่วยงานเพื่อปรับปรุง มีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของแผนกลยุทธศาสตร์ (2.1-6(1)) และรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (2.1-6(2)) เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ครั้งที่ 2/2566 เมื่อคราวประชุมวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 (2.1-6(3)) พบว่า มีข้อเสนอแนะในการ
ปรับปรุงพัฒนา จำนวน 2 ประเด็นหน่วยงานจึงได้จัดทำแผนการปรับปรุงคุณภาพของแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (2.1-6(4)) กำหนดแนวทางการปรับปรุงพัฒนาตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย ระยะเวลาดำเนินงาน และผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ข้อเสนอแนะ
|
แนวทางการปรับปรุง
|
ระยะเวลา
|
ผู้รับผิดชอบ
|
การดำเนินงานบางตัวชี้วัดยังไม่ตอบต่าเป้าหมายและตัวชี้วัดของแผนกลยุทธ์สำนัก
|
ควรมีการปรัวตัวชี้วัดค่าเป้าหมายของแผนปฏิบัติราชการให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์สำนัก
|
ปีงบประมาณ 2567
|
คณะกรรมการผู้รับผิดชอบจัดทำแผนสำนัก
|
ควรมีการติดตามในส่วนของการดำเนินงานให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์และสามารถประเมินการปฏิบัติได้จริง
|
ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์สำนักและแผนปฏิบัติราชการผ่านการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักทุกเดือน
|
|
คณะกรรมการบริหารสำนัก
|
| |